กล้วยไข่ ชื่อสามัญ Pisang mas ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่ปลูกกันมากแถบจังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ เพชรบุรี จัดเป็นผลไม้เขตร้อน (tropical fruit) แบ่งกลุ่มตามอัตราการหายใจอยู่ในกลุ่ม climacteric fruit เป็นกล้วยที่มี
รสชาติดี มีกลิ่นหอม ปัจจุบันกล้วยไข่เป็นสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง
ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง
มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง
ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพูดอก ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น
ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี
เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็ก น้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู
ผลกล้วย เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร
ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็กๆ ประปรายโดยเฉพาะเมื่อผลงอม เนื้อสีครีมอมส้ม
รสหวาน
การแปรรูปกล้วยไข่ ใช้ในเทศกาลสารทไทย ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้
ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี
กล้วยไข่มีบีตา-แคโรทีนมากถึง 492 ไมโครกรัม นอกจากนี้กล้วยไข่ยังมีสารอาหารที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น
เกลือแร่ วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี6 และวิตามินซี ซึ่งไม่เฉพาะแต่ผลกล้วยเท่านั้น ในหัวปลียังมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกระดูกและเนื้อเยื่อ ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างดี เพราะเนื้อกล้วยไข่มีเส้นใยชนิดไม่ละลายในน้ำสูง
References
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/กล้วย
http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกล้วยไข่-10439-13.html