ชื่อพื้นเมือง เห็ดผึ้งยูคาชื่อสามัญ เห็ดตับเต่าชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus plumbeoviolaceus ชื่อวงศ์ BOLETACEAE
ลักษณะทางกายภาพ
พบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 92% มีค่าพีเอช 7ความเข้มแสง 1,862 Lux หลังฝนตกหนัก 2-3 วัน และอากาศร้อนอบอ้าว พบตลอดในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ลักษณะการเกิด ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มบนพื้นดินในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
ลักษณะสัณฐานวิทยา
หมวกเห็ด โค้งนูนรูปกระทะคว่ำ สีเทาอมม่วงอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ เนื้อสีขาวสานกันแน่น เมื่อฉีกขาดหรือช้ำไม่เปลี่ยนสี ด้านล่างของหมวกมีรูเล็กๆ สีขาวนวลขอบหนา ปากรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันและชิดติดกับก้าน เมื่อดอกบานเต็มที่รูเปลี่ยนไปเป็นสีชมพูอ่อนอมน้ำตาล ก้านสีเดียวกับหมวกยาว 5 เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร โคนโป่งเป็นกระเปราะ เมื่อเป็นดอกอ่อนบนก้านมีลายสีน้ำตาลอ่อนสานกันแบบตาข่ายห่างๆ
ลักษณะสปอร์มีสีชมพูน้ำตาลอ่อน
ลักษณะทั่วไป นำมารับประทานได้
Reference :http://pineapple-eyes.snru.ac.th/animal/pupan/index.php?q=node/189