ชื่อสามัญ เห็ดรังนกกระจอก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyathus striatus Will.ชื่อวงศ์ NIDULARIACEAE
รูปร่างลักษณะ
ลักษณะสัณฐานวิทยา : มีรูปร่างคล้ายถ้วยปากกว้างหรือปากแตร ขอบปากถ้วยมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ถ้วยสูงจากพื้นประมาณ 1 เซนติเมตร ด้านล่างของขอบถ้วยสอบแคบลงไปเป็นก้านดอกหรือก้นถ้วย ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมไปด้วยเส้นขนหยาบสั้นๆ ผิวด้านในสีดำหรือเทาอมน้ำตาลหรือสีดำ มีเส้นลายนูนยาวขนานกันจากขอบปาถ้วยลงไปที่โคนก้านดอก ลักษณะสปอร์ : รูปร่างกลมรี ใส ไม่มีสี ผนังเรียบ
ลักษณะวิสัย/ประเภทจุลินทรีย์ : เป็นเห็ดชนิดหนึ่ง
ฤดูการที่พบ : พบมากตลอดฤดูฝน
การใช้ประโยชน์ : รับประทานได้
วิธีการนำไปใช้ประโยชน์ : ใช้ประกอบอาหาร
แหล่งที่พบ : บนกิ่งไม้หรือขอนไม้ผุ ในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ
ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมลักษณะทางกายภาพ
พบในบริเวณที่ชื้น : อุณหภูมิ 30°C ความชื้นสัมพัทธ์ 94% มีค่าพีเอช 4 ความเข้มแสง 265 Lux หลังฝนตกและอากาศร้อนอบอ้าว ลักษณะท้องฟ้าลายคล้ายเปลือกหอย พบตลอดฤดูฝน
ลักษณะการเกิด : ขึ้นเป็นกลุ่มหรือกระจัดกระจายห่างๆ บนกิ่งไม้หรือขอนไม้ผุ ในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ
Credit งานวิจัย : เกษม สร้อยทอง (2537 : 202) l ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (2544 : 261) Reference : pineapple-eyes.snru.ac.th/animal/pupan/index.php?q=node/242