Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

Emissivity / สัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน

สัมประสิทธิ์การแผ่รังสีความร้อน (emissivity, ε)   เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแผ่รังสีความร้อน (thermal radiation) ของวัตถุที่อุณหภูมิใด ๆ หรือค่าอัตราส่วนของพลังงานการแผ่รังสีความร้อน (emissive power) ของวัตถุใด ๆ และพลังงานการแผ่รังสีความร้อนของวัตถุดำ ณ อุณหภูมิเดียวกันดังแสดงความสัมพันธ์ในสมการที่ 1

     

                                                                                                                     (1)

เมื่อ

             Eb  คือ ค่าพลังงานการเเผ่รังสีความร้อนจากวัตถุดำ (ดังสมการที่ 2 เเละ 3)

             E   คือ ค่าพลังงานการเเผ่รังสีความร้อนของวัตถุใด ๆ (ดังสมการที่ 4)

                                                                                             (2)

                                                                                                                         (3)

                                                                                                                          (4)

 

 โดยที่   σ คือ ค่าคงที่ของสเตฟานโบลท์มานน์ มีค่าเท่ากับ 5.67 x 10-8  W/m2•K4

 

ค่าความสามารถในการแผ่รังสีความร้อน ( ε) ของวัตถุจริงใด ๆ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยวัตถุดำ (blackbody) ซึ่งเป็นวัตถุทางอุดมคติมีความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนสูงที่สุดมีค่า  ε  เท่ากับ 1

ค่า ε  ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุ ลักษณะพื้นผิวของวัตถุ และอุณหภูมิที่ผิวของวัตถุ ตัวอย่างค่า ε  ของวัสดุชนิดต่าง ๆ แสดงในตาราง

 

ตารางเเสดงค่าความสามารถในการแผ่รังสีความร้อน ( ε ) ของพื้นผิววัสดุบางชนิด

(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)

 

ค่า ε เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความถูกต้อง (accuracy) ของการวัดอุณหภูมิ (temperature measurement) ด้วยไพโรมิเตอร์ชนิดอาศัยการแผ่รังสีความร้อน (thermal radiation pyrometer) และไพโรมิเตอร์ชนิดอาศัยการแผ่รังสีอินฟราเรด (infrared pyrometer) โดยต้องกำหนดค่า ε ให้เหมาะสมกับชนิดและลักษณะพื้นผิวของวัตถุที่ต้องการวัดอุณหภูมิ (temperature) เพื่อให้ค่าอุณหภูมิของวัตถุที่วัดได้มีค่าใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริง ซึ่งเครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดอาศัยการแผ่รังสีที่ดีควรมีฟังก์ชั่นใช้งานที่สามารถปรับค่า ε ให้เหมาะสมกับชนิดและลักษณะพื้นผิวของวัตถุได้ 

 

ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)



(เข้าชม 0 ครั้ง)

สมัครสมาชิก