การยึดติด (adhesiveness) เป็นเนื้อสัมผัสของอาหาร แสดงการยึดติดของอาหารกับวัตถุอื่นเช่น อาหารติดเหงือก ฟัน เพดาน ริมฝีปากระหว่างการรับประทาน หรือ อาหารติดกับเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหาร เช่น มีด ใบกวน
การทดสอบการยึดติดของอาหารด้วยการประเมินทางประสาทสัมผัส (sensory evaluation) อาจทำได้ด้วยการใช้ผู้ชิมประเมินระดับที่อาหาร ติดบนเพดานหลังจากการกดด้วยลิ้น หรือระดับที่ตัวอย่างติดฟัน ริมฝีปาก เหงือก หรือเพดาน
การทดสอบทางวัตถุวิสัย (objective method) ทำได้ด้วยการวิเคราะห์ลักษณะเนื้อสัมผัสด้วยเครื่องวัด (Texture profile analysis, TPA) เป็นเสมือนพลังงานงานที่จำเป็นในการดึงหัววัด หรือหัวกด หรือฟันออกจากตัวอย่าง ในกราฟ TPA คือพื้นที่ใต้กราฟส่วนที่มีค่าเป็นลบของช่วงการกด หรือการเคี้ยวที่ 1 (Area 3, A3) มีหน่วยเป็นแรงคูณด้วยเวลา เช่น N.s
อาหารที่มีการทดสอบการยึดติด ได้แก่ ข้าวหุงสุก ว่านหางจรเข้ เป็นต้น
References
ปานมนัส ศิริสมบูรณ์.2555. เทคโนโลยีเนื้อสัมผัสของผลผลิตเกษตรและอาหาร. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง กรุงเทพ.