พลังงานการแผ่รังสีความร้อน (emissive power) คือ ค่าพลังงานที่ได้จากการแผ่รังสีออกจากวัตถุเมื่อวัตถุมีอุณหภูมิ (
temperature) สูงว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์ (
zero absolute temperature) โดยมีค่าเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิและความยาวคลื่นของวัตถุ นั่นคือ เมื่อวัตถุมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีพลังงานการแผ่รังสีความร้อนออกจากตัววัตถุมากขึ้น และวัตถุจะแผ่รังสีคลื่นสั้นมากขึ้นที่อุณหภูมิสูงขึ้น (ดังรูป)
วัตถุแต่ละชนิดแม้จะมีอุณหภูมิที่เท่ากันแต่ค่าพลังงานการแผ่รังสีความร้อน (
thermal radiation) ที่ได้อาจไม่เท่ากัน (ที่ความยาวคลื่นเดียวกัน) ขึ้นอยู่กับค่าความสามารถในการแผ่รังสีความร้อน (
emissivity) ของวัตถุแต่ละชนิด โดยวัตถุดำ (
blackbody) ซึ่งเป็นวัตถุทางอุดมคติของการแผ่รังสีความร้อนมีค่า emissivity สูงที่สุด (ε =1) สำหรับวัตถุจริงใด ๆ มีค่า emissivity อยู่ในช่วง 0 < ε <1 ดังนั้น ที่อุณหภูมิด้วยกันค่าพลังงานงานการแผ่รังสีความร้อนของวัตถุดำจึงมีค่ามากกว่าวัตถุจริง โดยพลังงานการแผ่รังสีความร้อนของ blackbody คำนวณได้จากกฎของแพลงค์ (
Planck's law) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าพลังงานการแผ่รังสีความร้อนของ blackbody ที่ความยาวคลื่นและอุณหภูมิใด ๆ ดังแสดงในรูป ซึ่งเรียกว่า "Planck distribution"
ค่าความเข้มของการแผ่รังสีความร้อนของวัตถุดำ
(ที่มา: Incropera, et al. 2005)
ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)