เครื่องมือวัดการไหลแบบโคริโอลิส (coriolis flow meter) เป็นเครื่องมือวัดการไหลเชิงมวล โดยเมื่อมีมวลไหลผ่านท่อโค้ง ท่อจะเกิดการบิดตัว แรงบิดตัว (coriolis force) หรือแรงโคริโอลิสที่เกิดขึ้นนี้แปรผันตรงกับปริมาณการไหลของของไหลที่ไหลผ่านท่อ
โครงสร้างของโคริโอลิสประกอบด้วยท่อที่อ่อนตัวได้ ทรานสดิวเซอร์ (transducer) ใช้สำหรับวัดการเคลื่อนที่ (displacement measurement) จำนวน 2 ชุด และตัวกำเนิดการสั่น (vibrator) ติดตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างทรานสดิวเซอร์วัดการเคลื่อนที่ทั้งสอง ลักษณะการวางตัวของท่ออ่อนและทรานสดิวเซอร์วัดการเคลื่อนที่แสดงดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ท่อโค้งภายในเครื่องมือวัดแบบโคริโอลิส
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
หลักการทำงานของเครื่องมือวัดแบบโคริโอลิสอธิบายได้ดังนี้ เมื่อของไหลไหลผ่านท่ออ่อนรูปตัวยู ของไหลที่อยู่ภายในท่อจะพยายามรักษาทิศทางการเคลื่อนที่ให้อยู่ในแนวแรง เมื่อท่อได้รับการกระตุ้นด้วยตัวกำเนิดการสั่นทำให้ท่อแกว่งในแนวระนาบ จากการที่ท่อพยายามรักษาแนวแรงจึงส่งผลให้ท่อเกิดการแกว่งตัวแบบคลื่นไซน์ พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของท่อที่เกิดขึ้นนี้อธิบายได้เช่นเดียวกับการส่งลูกบอลเมื่อผู้ส่งและผู้รับยืนอยู่บนพื้นวงกลมที่กำลังหมุน ความเร็วในการแกว่งตัวของท่อหาได้จากการวัดระยะการแกว่งตัวในหนึ่งช่วงเวลา ซึ่งค่าความเร็วนี้สัมพันธ์กับการไหลเชิงมวลของของไหล นอกจากเครื่องมือวัดแบบโคริโอลิสใช้สำหรับวัดการไหลเชิงมวลแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการวัดความหนาแน่นได้เช่นกัน
รูปที่ 2 โครงสร้างภายในของเครื่องมือวัดการไหลแบบโคริโอลิส
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
รูปที่ 3 เครื่องมือวัดการไหลแบบโคริโอลิส
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
หลักการทำงานของเครื่องมือวัดการไหลแบบโคริโอลิส
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=XIIViaNITIw)
หลักการทำงานของเครื่องมือวัดการไหลแบบโคริโอลิส
(ที่มา:http://www.youtube.com/watch?v=D7nRK25lugA)
เครื่องมือวัดการไหลเชิงมวลแบบโคริโอลิสนิยมใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยาเวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมเคมีและ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม เนื่องจากมีข้อดีของหลายประการดังนี้
ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)