เมแทบอลิซึมของเอทานอล
ร่างกายได้รับเอทานอลจากการดี่มเครื่องดี่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้าชนิดต่างๆ เบียร์ และไวน์ คนปกติควรได้รับ
เอทานอลน้อยกว่า 2 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ซึ่งจะช่วยให้บริโภคอาหารได้ดีขึ้น เอทานอลไม่จัดว่าเป็นสารอาหาร และจัด
อยู่ในกลุ่ม “empty calorie” คือไม่มีสารอาหารอื่นเลย ถึงแม้เอทานอลจะให้พลังงาน 7 กิโลแคลอรีต่อกรัมก็ตาม
เมื่อดื่มเอทานอลเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปตามเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งที่เซลล์ของตับ เอทานอลประมาณ 2-10% จะถูกขับออกทางปอดและไตได้โดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ส่วนอีกประมาณ 90%
จะถูกออกซิไดส์ในตับเป็นแอซีทาลดีไฮด์และเปลี่ยนต่อไปเป็นแอซีเทตและแอซีทิลโคเอ ซึ่งสามารถออกซิไดส์ผ่านวงจรเครบส์
ได้เป๋นพลังงาน
เมื่อเอทานอลแพร่กระจายเข้าไปในเซลล์ตับแล้วเอทานอลจะถูกออกซิไดส์ได้ 3 ทาง คือ
1. โดยอาศัยเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจิเนส (alcohol dehydrogenase, ADH) ซึ่งจะเกิดขึ้นในไซโทซอล
ของเซลล์ตับ
2. โดยอาศัยเอนไซม์จาก microsomal ethanol oxidizing system (MEOS) หรือระบบไซโทโครม P-450 ซึ่งอยู่ที่
เอนโดพลาสมิกเรติคิวลัมชนิดเรียบ (smooth endoplasmic reticulum)
3. โดยอาศัยเอนไซม์แคทาเลส (catalase) หรือเพอร์ออกซิเดส (peroxidase) ซึ่งอยู่ที่เพอร์ออกซิโซม (peroxisome)
เมื่อมีไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์เป็นโคซับสเตรต (catalase-H2O2 system)
อย่างไรก็ตาม เอทานอลสามารถถูกออกซืไดส์ให้เป็นพลังงานได้ และไม่พบว่ามีการสะสมของเอทานอลในร่างกาย
และในปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอทานอล จะไม่มีการควบคุมแบบย้อนกลับ (feed back control) หากร่างกายได้รับพลังงาน
จากสารอาการคาร์โบไฮเดรตเพียงพอ เอทานอลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นไขมันสะสมไว้ในร่างกาย