โดย : คุณสรยุทธ อุจจภูรี Sale & Service Director sorayut.ujjaphuree@marel.com | เรียบเรียงโดย : คุณนัชฌา เชื่อมสุข H.R. & Admins. Executive |
การแก้ปัญหาบรรจุ น้ำหนักเกิน เพื่อเพิ่มผลกำไร
การบรรจุสินค้าที่จำหน่ายเป็นชิ้น เช่น อาหารสด ประเภทเนื้อสัตว์เช่น เนื้อปลาทะเล ไก่ เนื้อหมู หรืออาหารแช่เยือกแข็งให้ มีจำนวนเท่าๆกันให้ได้ทั้ง น้ำหนัก และ ได้จำนวนชิ้นที่ถูกต้องนั้น เป็นความท้าทายของผู้ผลิตเพราะ ผู้ผลิตมักจะประสบกับปัญหาคือเมื่อ บรรจุได้น้ำหนักตามที่ต้องการ มัก ไม่ได้จำนวนชิ้น หรือได้จำนวนชิ้นตามที่ต้องการ แต่น้ำหนักบรรจุก็จะเกินกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้
ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องยอมเสียน้ำหนักส่วนที่เกินไป ซึ่งอาจดูเหมือนไม่มากนัก หากคิดเป็นต่อหนึ่งถุง แต่ถ้าคิดรวมในส่วนของน้ำหนักที่เกินไปในการผลิตต่อวัน หรือต่อหนึ่งเดือน หรือต่อปี จะหมายถึงรายได้ ที่ต้องสูญเสียไปไม่น้อยเลยทีเดียว
Marel Food Systems ได้ออกแบบระบบการบรรจุสินค้า เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะ การทำงานของระบบนี้จะเป็นการชั่งน้ำหนักสินค้าแบบสายพานบนส่วนชั่ง (Dynamic load cell) เป็นรายชิ้น ซึ่งสามารถตรวจเช็คน้ำหนักต่อชิ้นก่อนจะหาผลรวมด้วยซอฟท์แวร์พิเศษ ซึ่งสามารถหาผลรวมน้ำหนักที่ถูกต้องและจำนวนชิ้นที่แม่นยำได้ในเวลาเดียวกัน
ระบบการบรรจุสินค้าดังกล่าว ออกแบบให้มีถาดชั่งน้ำหนัก (Weighing bins) เพิ่มขึ้นมา จึงสามารถส่งค่าน้ำหนักที่ชั่งได้ไปยืนยันหรือแก้ไขที่ระบบประมวลผล และกำหนดจำนวนสินค้าในแต่ละกลุ่ม เช่น การหาผลรวมน้ำหนักสุทธิ 1 กิโลกรัม โดยกำหนดให้มีจำนวนสินค้า 20 ชิ้น เป็นต้น
Checkbin Grader ถูกพัฒนามาจากเครื่องคัดขนาด โดยเพิ่มซอฟท์แวร์ในการหาผลรวมของน้ำหนัก และนับจำนวนชิ้น นอกจากนี้ระบบซอฟท์แวร์ MPS ยังสามารถต่อเชื่อมกับเครื่อง เพื่อส่งข้อมูลจำนวนสินค้าทุกอย่างไปที่คอมพิวเตอร์ และรายงานผลอย่างละเอียดในแต่ละวัน มีถังชั่งน้ำหนักซึ่งสามารถเปิดหรือเคลื่อนย้ายเพื่อการทำความสะอาดได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษใดๆ ตัวเครื่องผลิตจากสเตนเลสสตีล (stainless steel) ออกแบบอย่างถูกสุขลักษณะ (Hygienic designed equipment) และมีระบบกันน้ำระดับ IP67 ซึ่งมีความทนทาน เหมาะกับผลิตภัณฑ์ประเภทเนื้อสัตว์ เนื้อปลา เนื้อไก่ หรืออาหารแช่แข็ง และอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ระบบชั่งน้ำหนักสินค้าแบบสายพานบนส่วนชั่งสามารถหาผลรวมน้ำหนักสุทธิ นับจำนวนชิ้นและคัดขนาดสินค้าที่ความเร็วสูงในระดับ 200 ชิ้นต่อนาที ได้ ซึ่งสามารถลดแรงงานในสายการผลิต และเก็บผลกำไรคืนจากน้ำหนักที่เกินไปจากการชั่งด้วยแรงงานคน ระบบหาผลรวมน้ำหนักมีระบบตรวจเช็คน้ำหนักย้อนกลับที่มีความแม่นยำสูง เพื่อลดน้ำหนักสุทธิซึ่งเกินจากค่าที่ตั้งไว้เพียง 1-2 กรัม และป้องกันการขาดหายของจำนวนสินค้า อีกทั้งสามารถหาค่าผลรวมน้ำหนักที่ต่างกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น กำหนดค่าน้ำหนักที่ 1 กิโลกรัม และ 500 กรัม
สำหรับระบบชั่งหาผลรวมโดยทั่วไป เช่น ระบบเครื่องชั่งแบบหลายหัวจ่าย (Multihead weigher) ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถหาน้ำหนักรวมสุทธิได้แม่นยำ แต่อาจมีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถจะกำหนดจำนวนชิ้นได้ แม้น้ำหนักของสินค้าจะมีความใกล้เคียงกันมากก็ตาม ดังเช่น ลูกอมที่ผลิตออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน เมื่อหาน้ำหนักสุทธิรวมออกมาแต่ละครั้ง จะยังคงมีจำนวนชิ้นไม่เท่ากัน แม้ว่าหนักรวมสุทธิจะออกมาเท่ากันก็ตาม
นอกจากนี้การใช้ประโยชน์จากระบบซอฟท์แวร์ ยังช่วยให้สามารถส่งข้อมูลจำนวนสินค้าทุกอย่างไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อรายงานผลอย่างละเอียดในแต่ละวัน ซึ่งสามารถเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐาน และเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลการบรรจุในอนาคต