ผู้เขียน หัวข้อ: การใช้งานสายไฟฟ้าชนิดมีเปลือกนอกสำหรับระบบไฟฟ้าแรงต่ำ  (อ่าน 276 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

strategist_cotactic

  • สมาชิกใหม่
  • *
  • กระทู้: 10
  • Like: 0
    • ดูรายละเอียด


การใช้งานสายไฟฟ้าชนิดมีเปลือกนอก

สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนแบบมีเปลือกนอก  (60227 IEC 10, VAF, NYY, VCT, IEC 60502-1 และ CV เป็นต้น) เหมาะสมกับงานวางบนเคเบิล ร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง เดินเกาะผนัง หรืองานเดินในช่องเดินสาย ทั้งนี้ สายไฟที่มีคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ เช่น สายทนไฟ, สายไร้ฮาโลเจน, สายควันน้อย  สำหรับการติดตั้งให้กับกลุ่มวงจรช่วยชีวิต ก็จัดอยู่ในกลุ่มสายไฟฟ้าชนิดมีเปลือกเช่นกัน แต่มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ คือกรณีที่สายไฟฟ้ามีเปลือกนั้นมีพิกัดแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด (U0/U) อยู่ที่ 300/500 โวลต์ (60227 IEC 10 และ VAF ) หากนำมาติดตั้งในช่องเดินสายจะต้องป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสายด้วย รวมทั้งห้ามติดตั้งสายไฟนั้นด้วยการร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง และมีข้อกำหนดเพิ่มเติมในการห้ามติดตั้งสาย VAF ด้วยวิธีการร้อยท่อ

ข้อจำกัดของการใช้งานสายไฟฟ้าประเภทนี้

สายไฟฟ้าชนิดมีเปลือกนอกสามารถนำมาใช้ในงานทั่วไป ได้แก่ ติดตั้งบนรางเคเบิล (กรณีสายแกนเดียวชนิดมีเปลือกนอกต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 25 ตร.มม.) สามารถเดินร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินได้โดยตรงได้ และยังไม่ต้องกังวลเรื่องการป้องกันน้ำเข้าช่องเดินสาย (หากพิกัดแรงดันไฟฟ้าที่กำหนด (U0/U) ของสายไฟฟ้ามีเปลือกนอกนั้นอยู่ที่ 450/750 โวลต์) อีกด้วย

หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ขอแนะนำรางเคเบิลและรางเคเบิลแบบบันไดที่ผลิตและจำหน่ายโดย KJL

- ตัวรางผลิตจากเหล็กแผ่นดำคุณภาพสูง ความหนา 2.0 มิลลิเมตร
- ออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยระบบ Computer Numerical control (CNC)
- โครงสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน NEMA VE 1-2017
- การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM A123 / A123M ที่ความหนาเฉลี่ยของการเคลือบผิว 45-60 ไมครอน
- มีรางเคเบิลที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับงานติดตั้งที่ต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ

สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 28, 2022, 06:03:03 PM โดย strategist_cotactic »