การวัดการไหล (flow measurement) สามารถแบ่งรูปแบบของการวัดการไหลตามสถานะของตัวกลางที่ต้องการวัดได้ 2 รูปแบบ คือ ของแข็ง และของไหล (ของเหลวและก๊าซ)
- การวัดการไหลของของแข็ง มีเงื่อนไขว่าของแข็งที่ต้องการวัดการไหลต้องมีขนาดและมวลที่ใกล้เคียงหรือเท่ากัน เช่น เมล็ดธัญพืช หรือ อาหารผง เป็นต้น ใช้วิธีการวัดมวลหรือน้ำหนักของของแข็งต่อหน่วยเวลา หรือการวัดอัตราการไหลเชิงมวลหรือน้ำหนัก (mass or weight flow rate: F=ρQ, kg/s) โดยคิดจากความหนาแน่นเชิงมวลของของแข็ง (bulk density:, kg/m3) และอัตราการไหลเชิงปริมาตรของของแข็ง (volume flow rate; Q, m3/sec)
- การวัดการไหลของของไหล แบ่งประเภทตามลักษณะการทำงานของเครื่องมือวัดออกเป็น 2 ประเภท คือ การวัดการไหลเชิงปริมาณ (volume flow: V, m3) ในหนึ่งช่วงเวลา (time: t, sec) หรือการวัดอัตราการไหลเชิงปริมาตร (Volume flow rate: Q=V/t, m3/sec) และการวัดอัตราการไหล (rate-of-flow measuremente: Q=vA, m3/sec) ด้วยการวัดความเร็วของของไหล (flow velocity: v, m/s) ที่ไหลผ่านพื้นที่หน้าตัด (cross section area: A, m2) ตัวอย่างเช่น มิเตอร์วัดการไหลชนิดใบพัดหรือเทอร์ไบน์ (turbine flow meter) จัดเป็นเครื่องมือวัดการไหลเชิงปริมาณ ซึ่งทำงานโดยอาศัยการวัดปริมาณของไหลที่ไหลผ่านเครื่องมือวัดอย่างต่อเนื่องในหนึ่งช่วงเวลา
นอกจากนี้ การวัดการไหลยังแบ่งตามลักษณะการไหลได้ออกเป็น 2 ประเภทคือ
การเลือกใช้เครื่องมือวัดการไหลให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากต้องคำนึงถึงราคาของเครื่องมือวัด (instrument) แล้ว ควรคำนึงถึงองค์ประกอบหลักอื่นด้วย เพื่อให้เครื่องมือวัดเหล่านั้นสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด องค์ประกอบที่ควรพิจารณา ได้แก่
- รูปแบบของการวัดการไหล
- ชนิดและสมบัติของของไหลที่ต้องการวัด ควรพิจารณาสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของตัวกลาง เช่น ความหนาแน่น (density) ความหนืด (viscosity) ความสามารถในการอัดตัว (compressibility) การทำปฏิกิริยาเคมี และความบริสุทธิ์ เป็นต้น ของไหลแต่ละชนิดมีค่าสมบัติที่แตกต่างกันและอาจเปลี่ยนแปลงเมื่ออุณหภูมิ (temperature) หรือความดัน (pressure) เปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับสถานะของของไหล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้เครื่องมือวัด
- ลักษณะการไหลของของไหลแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การไหลแบบราบเรียบ (laminar flow) และการไหลแบบปั่นป่วน (turbulent flow) พิจารณาได้จากค่าตัวเลขเรย์โนลด์ (Reynolds number, Re) ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของของไหลที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ (temperature) และความดัน (pressure) ได้แก่ ความหนาแน่น (ρ) และความหนืด (μ) ความเร็วของของไหล (v) ที่ไหลภายในท่อ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ (D)
- ปริมาณการไหลของของเหลวภายในท่อระบบปิด ต้องพิจารณาถึงปริมาณการไหลภายในท่อด้วย เนื่องจากเครื่องมือวัดการไหลบางชนิดไม่สามารถวัดของเหลวที่มีปริมาณการไหลไม่เต็มท่อได้ เช่น เครื่องมือวัดการไหลชนิดสนามแม่เหล็ก (electromagnetic flow meter) เป็นต้น

(ก) (ข) (ค)
ตัวอย่างอุปกรณ์วัดการไหลชนิดต่าง ๆ
รูป ก) ท่อเวนทูรี ข) นอซเซิล เเละ ค) แผ่นออริฟิส
(ที่มา: www.piping-engineering.com, http://expoexhibitor.isa.org เเละ www.power-technology.com)
ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
: http://www.piping-engineering.com/flow-meter-measurement-techniques-types.html
: http://expoexhibitor.isa.org/isa09/EC/forms/attendee/index.aspx?content=vbooth&id=105
: http://www.power-technology.com/contractors/pressure/euromisure/euromisure2.html