โครงการพัฒนาการผลิตชาสมุนไพรคุณภาพสูงระดับ SME
นิยาม สมบัติทางกายภาพ (ปานมนัส และคณะ, 2538) เป็น สมบัติทางไฟฟ้า กลสาสตร์ แสง เสียง ความร้อน ของวัสดุต่างๆ ว่ามันมีการตอบสนองอย่างไรต่อการกระทำทางไฟฟ้า กลศาสตร์ แสง เสียง และความร้อนนั้นๆความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและวิศวกรรมของชีววัสดุ พัฒนาขึ้นมาเพื่อหาวิธีการวัดประเมินค่าคุณสมบัติดังกล่าวในเชิงปริมาณ แล้วเอาคุณสมบัตินั้นมาใช้ในการกำหนดปัจจัยเพื่อให้ควบคุมคุณภาพ การออกแบบเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปและเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง การออกแบบและควบคุมระบบการแปรรูป การออกแบบและควบคุมการบรรจุและภาชนะบรรจุ การขนส่งขนถ่ายและเก็บรักษาวัตถุดิบตลอดจนผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์สำหรับวิศวกรอาหาร สมบัติเชิงเรขาคณิต (Gemetrical Property) สมบัติเชิงเรขาคณิต ได้แก่ ขนาดและรูปร่าง พื้นที่ผิว ปริมาตรและมวล ความหนาแน่น ความถ่วงจำเพาะ ความพรุน พื้นที่ผิวจำเพาะเป็นต้น ซึ่งสมบัติดังกล่าวเกี่ยวข้องเกือบทุกขั้นตอนของขบวนการแปรรูปอาหาร ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ขบวนการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา การแปรรูป การบรรจุ และมีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภคสมบัติเชิงเรขาคณิตของอาหารและวัสดุเกษตร1.รูปร่างและขนาด (shape and size) รูปร่างและขนาดของชีววัสดุ มักจะเป็นสมบัติที่แยกกันไม่ออก หากจะอธิบายสมบัติของวัสดุก็จะต้องอธิบายว่ามีรูปร่างเป็นอย่างไร มีขนาดอย่างไรด้วยเสมอ ทั้งรูปร่างและขนาดของวัสดุเป็นสมบัติที่เป็นสมบัติที่มีผลกระทบต่อขบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการแปรรูป กระบวนการลำเลียง กระบวนการแยกทำความสะอาด กระบวนการบรรจุ เป็นต้น ดังจะยกตัวอย่าง เช่น ขนาดและรูปร่างของผลไม้มีผลต่อขนาดของภาชนะบรรจุ ขนาดและรูปร่างของเมล็ดข้าวเปลือกและฟางมีผลต่อการแยกทำความสะอาดวัสดุเหล่านี้ด้วยลม ขนาดและรูปร่างขอสับปะรดมีผลต่อวิธีการปลอกเปลือก การเจาะคว้านไส้ เป็นต้น การอธิบายรูปร่างและขนาด ของชีววัสดุมีหลายวิธีจะขอยกตัวอย่างในกรณีของผัก ผลไม้ เมล็ดพืช และแป้ง เป็นต้น
ตารางที่ 1 ลักษณะรูปร่างและความหมาย
2.เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (Geometric Mean Diameter: GMD) หากวัสดุมีรูปร่างเป็นทรงกลมกำหนดขนาดจากเส้นผ่านศูนย์กลางได้เลย หากมีรูปร่างคล้ายทรงกลมหรือไม่เป็นทรงกลม สามารถกำหนดขนาดจากเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิตซึ่งพิจารณาได้ง่าย ๆ จากการวัดขนาด ด้าน a คือเส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุด ด้าน b คือ เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุดที่ตั้งฉากกับ a และด้าน c คือ เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุดที่ตั้งฉากกับ a และ b GMD = (abc) ^ (1/3) 3.ปริมาตรของวัสดุ (Volume) ปริมาตรเป็นค่าที่แสดงถึงขอบเขตครอบครองของวัสดุทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ปริมาตรของวัสดุทางเกษตรและอาหาร มีผลต่อขนาดที่เก็บรักษาอุปกรณ์การแปรรูป วิธีการหาปริมาตรนั้นมีหลายวิธีซึ่งจะใช้วิธีตามความเหมาะสมและข้อจำกัดของวัสดุ วิธีการชั่งน้ำหนักของวัตถุในของเหลว สามารถอธิบายได้ดังนี้
น้ำหนักวัตถุที่ชั่งในของเหลวคือ น้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยวัตถุ นั่นคือแรงพยุงวัตถุของของเหลวนั่นเอง ฉะนั้น ปริมาตรของวัตถุ
vวัสดุ=mL/ρL vวัสดุ = ปริมาตรของวัสดุ mL = มวลของน้ำที่ถูกแทนที่ρL = ความหนาแน่นของน้ำ
4.ความเป็นทรงกลม (Sphericity) การบ่งบอกความเป็นทรงกลมของวัสดุ
ความเป็นทรงกลม = ( (abc) ^ (1/3) ) /aเมื่อ a คือเส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุด ด้าน b คือ เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุดที่ตั้งฉากกับ a และด้าน c คือ เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุดที่ตั้งฉากกับ a และ b
5.ความหนาแน่นเนื้อ (Solid density) คำนวณจากเนื้อวัสดุล้วนๆ เป็นค่าที่ให้เห็นถึงความแน่นเนื้อของวัสดุเอง มีความสำคัญต่อกรับวนการคัดแยก เช่น ตกตะกอนหรือการเหวี่ยง (Centifugation) และกระบวนการลำเลียงของไหล กระบวนการแปรรูป เช่น การลดความชื้น การจับกันเป็นก้อน (Agglomeration) มีผลต่อการเกิดช่องว่างหรือรูพรุนในเนื้ออาหารซึ่งก็ทำให้ค่าความหนาแน่นเนื้อเปลี่ยนแปลงไป6.ความหนาแน่นรวม (Bulk density) ความหนาแน่นของวัสดุปริมาตรมวล ซึ่งคำนวณจากมวลของวัสดุหารด้วยปริมาตรรวมของวัสดุ ซึ่งปริมาตรรวมนั้นรวมปริมาตรของช่องว่างระหว่างวัสดุเองและวัสดุกับภาชนะที่บรรจุด้วยค่าความหนาแน่นรวมของวัสดุขึ้นกับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความหนาแน่นเนื้อ รูปร่าง ขนาด ลักษณะผิว ความชื้น สิ่งปะปน วิธีการบรรจุ และวิธีการวัด7.พื้นที่ภาพฉาย
วิธีการทดลองหาคุณสมบัติกายภาพ2.1 ขนาด (Size) นำสมุนไพรที่ต้องการหาขนาดมาจำนวน 10 ตัวอย่าง ทำการวัดขนาดความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางด้าน a, b และ cโดยใช้เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ หรือไม้บรรทัดในการวัด ทำการวัดจำนวน 3 ซ้ำ สมุนไพรที่ใช้หาขนาดด้วยวิธีนี้ได้แก่ มะระขี้นก มะลิ ตะไคร้ ขมิ้น a = เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุด (cm) b = เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุดที่ตั้งฉากกับ a (cm) c = เส้นผ่านศูนย์กลางที่ยาวที่สุดที่ตั้งฉากกับ a และ b (cm)
2.2 เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิต (Geometric mean diameter,GMD) นำค่าเฉลี่ยที่ได้จากการวัดขนาดสมุนไพรมาคำนวณหาเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยเชิงเรขาคณิตจากสมการ
GMD= (abc) ^ (1/3) (1)
2.3 ความเป็นทรงกลม (Sphericity, ø) ค่าที่พิจารณาจะมีความใกล้เคียงกับความเป็นทรงกลมของวัสดุ ซึ่งวัสดุที่เป็นทรงกลมสัมบูรณ์ จะมีค่าความเป็นทรงกลมเท่ากับ 1 ซึ่งสามารถหาค่าความเป็นทรงกลมได้จากสมการ ø =GMD/a (2)
2.4 การหาปริมาตร (Volume,v) การหาปริมาตรของวัสดุสามารถทำได้ 2 วิธี โดยวิธีที่ 1.ใช้หลักการแทนที่ของเหลว และวิธีที่ 2 ใช้หลักการแทนที่ของแข็ง โดยทั้งสองวิธีนี้เหมาะกับการหาปริมาตรวัสดุที่มีรูปร่างไม่เป็นไปตามรูปทรงเรขาคณิต1.ใช้หลักการแทนที่ของเหลว (ใช้น้ำในการทดลอง) สมุนไพรที่ใช้ ได้แก่ มะระขี้นก ขมิ้น และตะไคร้ โดยการหาปริมาตรของวัสดุซึ่งหาได้จาก นำของเหลวใส่กระบอกตวงแล้วนำไปชั่งบันทึกค่าน้ำหนักที่อ่านได้ นำลวดทิ่มลงไปในผิววัสดุและยึดไว้กับอุปกรณ์ดังรูปที่ 1 ปรับให้วัสดุจมพอดีกับระดับผิวน้ำ อ่านค่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นซึ่งคือ มวลของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยวัสดุ ดังนั้นปริมาตรของวัสดุ คำนวณได้จากvวัสดุ=mL/ρL (3) vวัสดุ = ปริมาตรของวัสดุ mL = มวลของน้ำที่ถูกแทนที่ ρL = ความหนาแน่นของน้ำ
2.ใช้หลักการแทนที่ของแข็ง (ใช้เมล็ดแมงลักในการทดลอง) สมุนไพรที่ใช้ ได้แก่ ดอกอัญชัน มะลิ โดยการหาปริมาตรของวัสดุซึ่งหาได้จาก นำเมล็ดแมงลักใส่กระบอกตวงที่1 ที่ทราบปริมาตรจนเต็ม นำไปชั่งและบันทึกผล นำสุมนไพรจำนวน 30 ดอกใส่ในกระบอกตวงที่ 2 ที่มีปริมาตรเท่ากัน จากนั้นเทเมล็ดแมงลักจากกระบอกตวงที่ 1 ใส่กระบอกตวงที่ 2 จนเต็มพอดี นำเมล็ดแมงลักที่เหลือไปชั่ง อ่านค่าที่ได้แล้วลบน้ำหนักกระบอกตวง จะได้เมล็ดแมงลักที่เหลืออยู่ซึ่งคือ มวลของของแข็งที่ถูกแทนที่ด้วยวัสดุ ดังนั้นปริมาตรของวัสดุ คำนวณได้จาก
vวัสดุ=mแมงลัก/ρแมงลัก (4)
vวัสดุ = ปริมาตรของวัสดุmแมงลัก = มวลของเมล็ดแมงลักที่ถูกแทนที่ ρแมงลัก = ความหนาแน่นของเมล็ดแมงลัก
2.5 ความหนาแน่นเนื้อ (Solid density, ρs) สามารถคำนวณหาความหนาแน่นเนื้อได้จากสมการρs=mวัสดุ/vวัสดุ (5) mวัสดุ = มวลวัสดุที่ชั่งในอากาศ ρs = ความหนาแน่นเนื้อ
2.6 ความหนาแน่นรวม (Bulk density, ρb) ความหนาแน่นรวม (Bulk density) สามารถหาค่าได้โดยการนำภาชนะที่ทราบปริมาตร (ภาชนะที่ใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุ) ไปชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกค่า จากนั้นเตรียมอุปกรณ์ดังรูปที่ 2 โดยปรับตำแหน่งปลายกรวยให้สูงจากปากกระบอกตวงประมาณ 15 cm. เทสมุนไพรผ่านกรวยลงในภาชนะจนล้นจากนั้นปาดสมุนไพรให้เสมอภาชนะ นำไปชั่งน้ำหนักแล้วลบน้ำหนักภาชนะออก จะได้มวลของสมุนไพร (m) ส่วน (v) คือปริมาตรที่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่ใช้ โดยสมุนไพรที่ใช้ ได้แก่ มะลิ ทำการทดลอง 5 ซ้ำ จากนั้นคำนวณค่าความหนาแน่นรวมจากสมการρb=m/v (6)
2.7 ความพรุน (Porosity, ε) สมุนไพรที่สามารถหาความหนาแน่นเนื้อ และความหนาแน่นรวมนั้น สามารถนำมาใช้ในการหาค่าความพรุนได้จากสมการ ε=1-ρb/ρs (7)
2.8 สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต (Static coefficient of friction, μ)
ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตของสมุนไพร จะทำการทดลองบนพื้นผิวทดสอบที่มีลักษณะต่าง ๆ กันได้แก่ แผ่นไม้, ยาง, แผ่นอะคริลิก และอลูมิเนียม โดยวางสมุนไพรบนเครื่องมือวัดสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต เอียงแผ่นทดสอบจนวัสดุไถลลงอย่างอิสระ แล้วอ่านค่ามุมที่วัสดุเริ่มไถล ดังรูปที่ 3
สามารถคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิตได้จากสมการ
μ=tanθ (8) μ= สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานสถิต θ= มุมที่วัสดุเริ่มไถล2.9 พื้นที่ภาพฉาย (Projected area) การหาขนาดโดยใช้พื้นที่ภาพฉาย สมุนไพรที่ใช้ได้แก่ รางจืด อัญชัน ใบเตย ใบมะรุม โดยนำสมุนไพรมาเรียงเป็นแถวบนกระดาษ พร้อมวาดกรอบอ้างอิงขนาด 1 cm x 1 cm แล้วถ่ายภาพ ใช้โปรแกรม Adobe Photoshop คำนวณหาพื้นที่ภาพฉาย โดยเทียบพื้นที่ของสมุนไพรกับพื้นที่อ้างอิง 1 cm2
ผลการทดลองสมบัติทางกายภาพ