connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

News and Articles

Coco Easy

Coco Easy


หมวดหมู่: นวัตกรรมอาหารพระจอมเกล้าลาดกระบัง [โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป]
วันที่: 15 มกราคม พ.ศ. 2557
บริษัท โคโค อีซี่ จำกัด ที่ปรึกษา : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ที่ตั้งโรงงาน : เลขที่ 9/157 หมู่ที่ 5  ตำบลคลองหนึ่ง  อำเภอคลองหลวง
   จังหวัดปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12120
ที่ทำงาน เลขที่ 1 ซอยฉลองกรุง 1 แขวงลาดกระบัง
เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
 ผู้ติดต่อ : นายบรรพต เคลียพวงทิพย์ M: 081-817 4833  หัวหน้าทีม : ดร. เอกพงษ์ ชีวิตโสภณ
 โทรศัพท์ : (662) 516-5017  ติดต่อ : คุณผ่านฟ้า จันทร์ทำมา : 089 - 7736650
 โทรสาร : (662) 516-5017  โทรสาร : 02-3298356-8 ต่อ 13
 e - mail : bunphotk@coconuteasy.com  e - mail : cheevitsopon@hotmail.com

 

ความเป็นมา

          ผู้ประกอบการเป็นผู้ที่สนใจที่จะทำนวัตกรรม มะพร้าวเผาที่สะดวกกับการรับประทาน โดยใช้เลเซอร์ยิง เป็นวงกลม และติดห่วงสำหรับดึงที่ด้านบนของมะพร้าว เพื่อให้เปิดรับประทานได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ได้รสชาติที่สดใหม่

การให้คำปรึกษาด้านเทคนิค

          มะพร้าวน้ำหอมเผารูปแบบใหม่ เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ที่ยังไม่มีในท้องตลาด เหมาะกับทุกเพศทุกวัย สะดวกรวดเร็วกับการเปิดรับประทาน ได้รสชาติที่สดใหม่ไม่ต่างจากมะพร้าวเผาที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป มีลักษณะเฉพาะ รูปลักษณ์โดดเด่น
          ที่ปรึกษาด้านเทคนิค ดร. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ ดร.เอกพงษ์ ชีวิตโสภณได้แนะนำให้เลือกเทคนิคการใช้กระบวนการแช่เยือกแข็งโดยใช้ไนโตรเจนเหลว เพื่อให้อายุการเก็บนานขึ้น และบรรจุด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้มีรูปลักษณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะของมะพร้าวเผา ลักษณะเนื้อสัมผัสและรสชาติไม่แตกต่างจากมะพร้าวเผาที่จำหน่ายในท้องตลาด

 

การให้คำปรึกษาด้านธุรกิจและกลยุทธ์การตลาด

          อาจารย์มานิต รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์การตลาด และคุณธีรยุทธ บูรณพิทักษ์สันติ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการพระจอมเกล้าลาดกระบังได้ดำเนินการให้คำปรึกษา บริษัท โคโค อีซี่ จำกัด ด้านกลยุทธ์ด้านการตลาด ทำการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และ ทางธุรกิจและให้คำปรึกษาด้านการจัดตั้งบริษัท

 

 

การให้คำปรึกษาด้านบรรจุภัณฑ์

          อาจารย์ชนกมณฐ์ รักษาเกียรติ อาจารย์ประจำคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบกราฟฟิกบรรจุภัณฑ์

 



ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
ปลาเส้นรสดั้งเดิม
ปลาเส้น รสดั้งเดิม (Fish Snack Original Flavour) ตรา : ทาโร (Taro) น้ำหนักสุทธิ (net weight) 36 กรัม (g.) ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ (Ingredients) เนื้อปลา (Fish meat) 82.0%น้ำตาล (Sugar) 6.0%แป้งมันสำปะหลัง (Tapioca flour) 5.0%แป้งสาลี (Wheat flour) 3.0%เกลือเสริมไอโอดีน (Iodized salt) 2.0%ซอสถั่วเหลือง (Soy sauce) 1.5%เครื่องปรุงรส (Seasoning) 0.5%ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) จัดจำหน่ายโดย (Manufactured) บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เลขที่ 1 พรีเมียร์คอร์เปอเรทปาร์คซอยพรีเมียร์ 2 ถนนศรีนครินทร์ แขวง หนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250โทร : 0-2301-1717Premier Marketing Public Co., Ltd.No.1 Premier Corporate Park, Soi. Premier 2, Srinagarin rd., Nongbon,Prawet, Bangkok 10250Tell : 0-2301-1717ผู้ผลิต (Distributed by) บริษัท พี.เอม.ฟูด จำกัด 505 หมู่ 9 ตำบลหนองกี่ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110P.M. Food Co., Ltd., Thailand.Tel : 0-3720-4417-20Fax : 0-3720-4416 วันผลิต (Manufacturing date,MFG) 25 มกราคม 2555วันหมดอายุ (Expiration date,EXP) 25มกราคม 2556ระยะเวลาการเก็บรักษา (Shelf life) 12เดือน (กลุ่ม อาหารแห้ง) ราคา
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 2
9.1.5 องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์รับผิดชอบโดยองค์กรต่อไปนี้ 1) สำนักงานกลางมาตราชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทรศัพท์ 271 - 1526 , 279 - 0247 โทรสาร 271 - 1536 2) คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 590 - 7000 โทรสาร 591 - 8463 3) คณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี ถ.ราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม 10300 โทรศัพท์ 281 - 0580 , 281 - 3229 , 282 - 4579 4) สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมอาหาร (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กทม. 10400 โทรศัพท์ 202 - 3428 - 9 , 248 0-7981 โทรสาร 248 - 7981 9.2 หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ นอกเหนือจากองค์กรที่รับผิดชอบต่อพระราชบัญญัติทั้ง 4 ดังกล่าวแล้วนั้น ยังมีองค์กรทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่กิจกรรมเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ สรุปได้ดังนี้ 9.2.1 องค์กรของรัฐอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์ องค์กรทั้งทางส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์มีดังนี้คือ 1) ส่วนอุตสาหกรรมการเกษตร สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถ.พระราม 4 กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 381 - 0025 - 32 โทรสาร 381 - 0757 มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมการเกษตรเน้นแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อกำหนดและพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตามภาวะการตลาด ประสานงานจัดหาผู้ชำนาญการเฉพาะด้านเพื่อฝึกอบรมสัมมนา และให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงเทคนิคการผลิตตลอดจนการให้บริการข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่สถานประกอบการ ผลิตบุคลากรในระดับต่างๆ ในสถานประกอบการ 2) ส่วนบรรจุภัณฑ์ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสิรมอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถ.พระราม 4 กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 392 - 2512 , 381 - 0025 - 32 โทรสาร 381 - 0757 มีหน้าที่ให้บริการ แนะนำ ส่งเสริมและพัฒนาบรรจุภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้บริโภคและบุคคลทั่วไปที่ให้ความสนใจในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านเทคโนโลยีการออกแบบและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยวิธีการต่างๆ ทั้งการฝึกอบรม สัมมนา นิทรรศการ และการจัดประกวด 3) ศูนย์บริการการออกแบบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออก 22/77 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 511 - 5066 - 77 ต่อ 451 โทรสาร 512 - 2236 ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันทางด้านการค้าอย่างต่อเนื่อง ทุกประเทศจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางด้านการค้าในทันต่อเหตุการณ์และสภาพการแข่งขัน ประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาตัวสินค้า เนื่องจากคุณภาพและค่าแรงต่ำไม่ใช่สิ่งจูงใจและข้อได้เปรียบอีกต่อไปสำหรับกระแสโลกานุวัตร ดังนั้นจึงสมควรนำการออกแบบมาเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าสำหรับการส่งออก รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญข้อนี้จึงได้จัดตั้งศูนย์กลางบริการการออกแบบเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เพื่อมุ่งพัฒนาการออกแบบสินค้าส่งออกสำคัญ 4 ชนิด คือ เครื่องหนัง อัญมณี ผลิตภัณฑ์พลาสติก และของเด็กเล่น 4) ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 196 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 579 - 5515 , 579 - 0160 โทรสาร 561 - 4771 นโยบายหลักของศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย มีดังนี้คือ 1. สนับสนุนนโยบายการบรรจุภัณฑ์ของประเทศ 2. เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร เพื่อสนองความต้องการของผู้ประกอบการ 3. รวบรวม แลกเปลี่ยน และบริการข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์ 4. ประสานงานระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ 5) สถาบันค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตู้ ป.ณ. 1043 ปท.เกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10903 โทรศัพท์ 579 - 5551 โทรสาร 579 - 0572 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Institute of Food Research and Product Development หรือ IFRPD) จัดตั้งเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2511 โดยการแบ่งการบริหารงาน 7 ฝ่าย และ 1 ศูนย์ ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไป ฝ่ายค้นคว้าและวิจัย ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิตทดลอง ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ฝ่ายศึกษาสาธิต ฝ่ายวิศวกรรม และศูนย์บริการประกันคุณภาพทางด้านอาหารโดยมีขอบเขตการทำงานดังนี้ 1. วิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารเพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจของโรงงานอาหารและการเกษตรในประเทศไทย 2. บริการวิชาการเกี่ยวกับคุณภาพวัตถุดิบ เทคโนโลยีการผลิต ระบบการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก 3. ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีทางอาหารและบริการความรู้ทางด้านนี้แก่ผู้สนใจ 4. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐเอกชนในการวิจัย การศึกษา ค้นคว้า และฝึกอบรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร 5. เป็นแหล่งข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหาร นอกจากองค์กรของรัฐทั้ง 5 ดังกล่าวแล้ว ตามมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีการเปิดสอนวิชาทางด้านบรรจุภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการอาหาร มีอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถให้คำปรึกษา ทดสอบ พร้อมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารได้ 9.3 องค์กรเอกชนที่ให้การส่งเสริมการบรรจุภัณฑ์อาหาร (1) สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย ชั้น 4 อาคารกองบริการอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร กล้วยน้ำไท ถนนพระราม 4 กทม. 10110 โทรศัพท์ 712 - 1995 โทรสาร 392 - 9584 วัตถุประสงค์ของสมาคม มีดังนี้คือ 1. การส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ 2. ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารทุกประเภท 3. เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการ 4. ติดต่อประสานงานกับสมาชิกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้ก้าวหน้า (2) สถาบันอาหาร ชั้น 18 อาคารมหานครยิบซั่ม 539/2 ถนนศรีอยุธยา ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 248 - 7541 - 8 โทรสาร 642 - 5200 สถาบันอาหารได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 ในรูปแบบองค์กรอิสระภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมแต่การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎระเบียบการปฏิบัติของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยมีหน้าที่สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอาหารใน 3 ด้าน คือ 1. การบริการวิชาการ 2. การเผยแพร่บริการข้อมูลข่าวสาร 3. การบริการทดสอบวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์อาหาร (3) สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซน C ชั้น 4 60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กทม. 10110 โทรศัพท์ 229 - 4255 โทรสาร 229 - 4933 E-mail eanthai@samart.co.th สถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย (EAN THAILAND) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบธุรกิจแบบโลกานุวัตรที่เกิดขึ้นจึงได้พยายามนำระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยซึ่งเรียกว่าระบบสัญลักษณ์รหัสแท่ง (Bar Code) มาช่วยส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ให้ความสะดวกในการใช้งานที่รวดเร็วถูกต้องและสอดคล้องกับระบบธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ขณะนี้ประเทศไทยมีรหัสประจำตัวหมายเลข 885 ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้สินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ โดยผู้ซื้อ ผู้ขาย หรือนักธุรกิจ จะสามารถตรวจสอบได้ว่า 885 เป็นสินค้าของประเทศใด หรือถ้าสินค้าตัวนี้ขายดีขึ้นมาก็จะรู้ว่าสินค้าชิ้นนี้มาจากเมืองไทย (Made in Thailand) และค้นหาบริษัทผู้ผลิตหรือบริษัทผู้แทนจัดจำหน่ายได้จึงทำให้สะดวกในการขยายช่องทางการตลาดได้โดยง่าย 9.4 รหัสแท่งหรือบาร์โค้ด (Bar Code) รหัสแท่งหรือบาร์โค้ดเป็นเลขหมายประจำตัวสินค้า ผู้ประกอบการใดที่ได้ลงทะเบียนกับสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทยจะได้หมายเลขประจำขององค์กรนั้น และเมื่อองค์กรนั้นกำหนดหมายเลขจำนวน 5 หน่วยให้แก่สินค้าแล้ว หมายเลขประจำสินค้านั้นๆ จะเป็นหมายเลขเฉพาะของสินค้านั้นๆ โดยไม่มีสินค้าใดๆ ในโลกนี้จะมีหมายเลขซ้ำกันอีก เนื่องจากมีการจัดระบบการให้หมายเลขเป็นระบบเดียวกันทั้งโลก แม้ว่าในปัจจุบันนี้มีระบบ UPC ของสหรัฐ และ EAN ของยุโรป แต่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะรวม 2 ระบบใหญ่นี้ให้เป็นระบบเดียวกันในอนาคตอันใกล้ 9.4.1 ระบบรหัสแท่งที่ใช้กัน (1) UPC (Universal Product Code) เริ่มใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2513 โดยตั้งมาตรฐานรหัสแท่งระบบ UPC ขึ้นสำหรับพิมพ์บนสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ฉลากและหีบห่อในปัจจุบันใช้อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเท่านั้น (2) EAN (European Article Numbering) กลุ่มประเทศทางยุโรปจัดตั้งคณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสร้างระบบบาร์โค้ดขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ระบบ EAN ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ปัจจุบันใช้ชื่อสมาคม EAN International มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซล ประเบลเยี่ยม สำหรับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สัญลักษณ์รหัสแท่งตามระบบมาตรฐานของ EAN โดยมีสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดหมายเลขประจำตัวให้แก่สินค้าอุปโภคบริโภคแต่ละบริษัทระบบ EAN ยังแบ่งเป็น 2 ระบบย่อย คือ - ระบบ EAN - 13 (Standard Version) ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดกลางและใหญ่ - ระบบ EAN - 8 (Short Version) ใช้กับผลิตภัณฑ์ขนาดเล็ก (3) ITF (Interleaved 2 of 5) เป็นรหัสแท่งที่ดัดแปลงจากระบบ EAN ส่วนใหญ่ใช้พิมพ์ด้านนอกกล่องลูกฟูกหรือหน่วยขนส่ง (4) Code 39 เป็นรหัสที่นิยมใช้กันในวงการอุตสาหกรรมทั่วไป สามารถเข้ารหัสได้ทั้งตัวเลขและตัวอักษร (0 - 9 , A - Z , $ , % , / . + และ - ) และมีความยืดหยุ่นของจำนวนหลักที่ใช้ในการเข้ารหัส 9.4.2 รายละเอียดของรหัสแท่ง รหัสแท่งที่ทางสำนักมาตรฐานอุตสาหกรรมอนุมัติให้ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภค ในประเทศไทยเป็นระบบทางยุโรป (EAN) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ (1) ส่วนที่สำหรับให้คอมพิวเตอร์อ่าน ด้วยเครื่องสแกนเนอร์ ประกอบด้วยเส้นสีเข้มและสีอ่อนที่มีความกว้างแตกต่างกัน (2) ส่วนที่เป็นเลขอารบิค เป็นตัวเลขที่มีไว้อ่าน พิมพ์อยู่ตรงส่วนล่าง ประกอบด้วย 13 ตัวเลขมีความหมายดังนี้ 1.ตัวเลข 3 ตัวแรก เป็นเลขหมายของแต่ละประเทศหรือสินค้าพิเศษ เช่น 885 เป็นหมายเลขประจำประเทศไทยหรือ 978 - 979 เป็นหมายเลขที่ใช้กับหนังสือที่รู้จักกันในนาม ISBN โดยหนังสือในเมืองไทยได้กำหนดเป็นหมายเลข 974 เช่นหนังสือเล่มนี้มีหมายเลข ISBN 974 86523 1 9 2.ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นเลขรหัสประจำองค์กรที่สมัครกับสถาบันฯ การกำหนดมีระบบที่แน่นอนเพื่อป้องกันรหัสสมาชิกซ้ำกัน (3) ตัวเลข 5 ตัวหลังถัดจากตรงเส้นคั่นกลาง คือ หมายเลขประจำตัวสินค้าที่ตั้งขึ้นเอง (4) ตัวเลขสุดท้าย เป็นตัวตรวจสอบของคอมพิวเตอร์ เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเลขที่อยู่ข้างหน้านั้นถูกต้องหรือไม่ รูปที่ 9.4 ระบบรหัสแท่งไทย 9.4.3 การทำงานของระบบรหัสแท่ง เริ่มจากผู้ผลิตกำหนดหมายเลขประจำตัวของสินค้าแต่ละชนิดแล้วนำเลขหมายนั้นแปลงเป็นรหัสแท่งที่มีสัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับกับสีอ่อนและมีขนาดความกว้างแตกต่างกัน แล้วนำมาพิมพ์บนฉลากหรือตัวบรรจุภัณฑ์ การอ่านรหัสกระทำโดยการนำไปผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า "สแกนเนอร์ (Scanner) " ซึ่งใช้ระบบแสงส่องไปยังรหัสแท่งแล้ววัดแสงที่สะท้อนกลับ จากความกว้างที่ไม่เท่ากันของแถบสีเข้มสลับกับสีอ่อน แสงที่สะท้อนกลับนี้จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลที่อ่านได้ จะทำให้ทราบว่าเป็นสินค้าประเภทใด ระบบคอมพิวเตอร์ที่วางโปรแกรมไว้แล้วจะสั่งการให้ทำงานตามต้องการ เช่น สั่งพิมพ์ราคาบนใบเสร็จรับเงินของสินค้าชนิดนั้นๆ หรือตัดสต๊อกของสินค้าที่จำหน่ายไป เป็นต้น 9.4.4 ข้อควรปฏิบัติในการออกแบบบรรจุภัณฑ์พร้อมรหัสแท่ง (1) ขนาดความกว้างของรหัสแท่ง ควรจะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด การขยายหรือย่อส่วนควรปรึกษาที่สถาบันฯก่อน อย่างไรก็ตามความสูงของแท่งไม่ควรน้อยกว่า 15 มิลลิเมตร (2) พื้นที่ว่างก่อนและหลังของตัวสัญลักษณ์รหัสแท่ง ควรจะมากกว่า 3.6 มิลลิเมตรทั้ง 2 ข้าง พื้นที่ว่างทั้งสองข้างนี้มักจะได้รับการละเลยทำให้การอ่านไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร (3) การพิมพ์สัญลักษณ์บาร์โค้ดบนหีบห่อที่เป็นวัสดุโปร่งใส เช่น การใช้พลาสติกใสเป็นพื้นที่ว่างด้านหลังของสัญลักษณ์บาร์โค้ด แสงที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์มองผ่านจะมองผ่านทะลุวัสดุได้ทำให้เกิดปัญหาในการอ่าน เช่น พลาสติกที่มีสีนวลเมื่อไม่มีการพิมพ์พื้นว่างด้านหลังแท่งบาร์ เวลาอ่านเครื่องสแกนเนอร์จะมองเห็นวัสดุนั้นโปร่งใส จึงไม่เหมาะสมที่ใช้พลาสติกนั้นเป็นพื้น ด้านหลังของแท่งบาร์โค้ดของพลาสติกใสจึงควรใช้สีพิมพ์เป็นพื้นหลังแท่งบาร์ อาทิเช่น สีขาว สีเหลือง สีส้ม ฯลฯ (4) สีน้ำตาลเข้มเป็นสีมืดจึงใช้เป็นสีของแท่งบาร์โค้ดได้ แต่ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษเนื่องจากสีน้ำตาลมีส่วนของสีแดงอยู่ด้วย ถ้ามีส่วนผสมของสีแดงมากเกินไปเครื่องสแกนเนอร์อาจประสบปัญหาในการแยกสีระหว่างแท่งบาร์และพื้นที่ด้านหลัง ทำให้ไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดได้ (5) ความหนาของสีที่พิมพ์แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นสีเดียวกันก็ตามก็มีผลต่อประสิทธิภาพในการอ่าน (6) ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสะท้อนแสงสำหรับแท่งบาร์ และพื้นที่ว่างด้านหลังของแท่งบาร์เพราะสีสะท้อนแสงทำให้เครื่องสแกนเนอร์อ่านบาร์โค้ดได้ยากหรืออ่านไม่ได้เลย (7) ผลิตภัณฑ์ที่มีหีบห่อเป็นผ้าหรือบรรจุรูปร่างไม่อยู่ตัว จะไม่สามารถพิมพ์รหัสแท่งได้ เนื่องจากเส้นใยจะทำให้เครื่องสแกนเนอร์อ่านผิดพลาดได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ การพิมพ์รหัสแท่งบนแผ่นป้ายสินค้าที่แขวนติดกับตัวสินค้านั้น 9.4.5 สีที่ควรใช้กับรหัสแท่ง คู่สีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการพิมพ์สัญลักษณ์บาร์โค้ดอันประกอบด้วยแท่งบาร์ (Bar) กับพื้นที่ว่างด้านหลัง (Backgroundป ดังนี้ สีแท่งบาร์ สีพื้นที่ด้นหลัง 1. ดำ ขาว 2. เขียว ขาว 3. ดำ เหลือง 4. เขียว เหลือง 5. น้ำเงิน ขาว 6. น้ำตาลเข้ม ขาว 7. น้ำเงิน เหลือง 8. น้ำตาลเข้ม เหลือง 9. ดำ ส้ม 10. เขียว ส้ม 11. ดำ แดง 12. เขียว แดง 13. น้ำเงิน ส้ม 14. น้ำตาลเข้ม ส้ม 15. น้ำเงิน แดง 16. น้ำตาลเข้ม แดง 9.4.6 การออกแบบตำแหน่งที่ติดรหัสแท่งบนบรรจุภัณฑ์ โดยทั่วไป ตำแหน่งที่ติดรหัสแท่จะอยู่บริเวณส่วนก้นหรือฐานของบรรจุภัณฑ์ โดยพิจารณาถึงความสะดวกเมื่อรูดผ่านสแกนเนอร์ ในกรณีที่สินค้าไม่สามารถคงรูปร่างได้ เช่น เสื้อผ้าหรือสินค้ามีขนาดเล็ก แนะนำให้ใช้วิธีติดรหัสแท่งบนป้ายแขวน ดังแสดงในรูปที่ 9.5 รูปที่ 9.5 การออกแบบตำแหน่งที่ติดรหัสบนแท่งบรรจุภัณฑ์ แหล่งที่มา : Erdei, William, H., "BAR CODES_Designs, Printing & Quality Control," p.97 9.4.7 ประโยชน์ของรหัสแท่ง การจัดระบบรหัสแท่งที่ได้กล่าวมาแล้วจะพบว่าหมายเลขของสินค้าแต่ละประเภทของแต่ละบริษัทไม่มีโอกาสซ้ำกัน ด้วยเหตุนี้ การส่งสินค้าไปยังที่ต่างๆ ไม่ว่าภายในประเทศหรือต่างประเทศย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ช่วยให้การขาย/คิดเงินได้รวดเร็วขึ้น ในระบบซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านค้าจำหน่ายที่มีสินค้าเป็นแสนชิ้น เมื่อมีการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากรหัสแท่งจะช่วยให้การคิดเงิน เก็บเงินและพิมพ์ใบเสร็จรวดเร็วขึ้นและมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการกดแป้นเครื่องคิดเงิน นอกจากนี้ไม่ต้องราคาสินค้าทุกชิ้นเพียงแต่เขียนป้ายบอกราคาบนหิ้งหรือชั้นวางสินค้าก็เพียงพอ การใช้ระบบรหัสแท่งผสมกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถลดงานได้ตั้งแต่ 23%-48% ขึ้นกับจำนวนชิ้นของสินค้าที่ต้องคิด (2) ยกระดับมาตรฐานสินค้า หมายเลขประจำตัวสินค้าก่อให้เกิดมาตรฐานสำหรับสินค้าที่ใช้กันทั่วโลก ผู้ผลิตสินค้าที่จดทะเบียนกับองค์กรกลางของแต่ละประเทศ (องค์กรของประเทศไทยคือสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย) จะสามารถตรวจสอบรู้ได้ว่าใครเป็นผู้ผลิต ทำให้เพิ่มขอบข่ายของข้อมูลสินค้าที่จะเพิ่มโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น (3) สะดวกในการควบคุมระบบสินค้าคงคลังและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า การตรวจสอบจำนวนสินค้าสามารถใช้สแกนเนอร์ในการอ่านรหัสแท่งจากหิ้งของคลังสินค้า โดยไม่ต้องลงมือนับทีละหน่วยช่วยทำให้ประหยัดเวลาและสามารถรู้ถึงสถานะของปริมาณสินค้าในทุกขณะที่จำหน่ายสินค้าจึงสามารถคาดการณ์และวางแผนควบคุมระดับสินค้าคงคลังให้อยู่ในปริมาณที่ต้องการได้ (4) การปูพื้นฐานในการทำธุรกิจแบบไร้กระดาษ หรือที่รู้จักกันในนาม Electronic Data Interchange (EDI) หมายความว่า การสั่งซื้อสินค้าจะผ่านเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ (On Line) โดยไม่ต้องมีใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ เป็นต้น ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจและเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการทำงานคล้ายคลึงกับการฝากถอนด้วยระบบ ATM แทนที่การเขียนใบนำฝากหรือใบถอนเงินหน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร บทสรุป กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ในบ้านเรายังมีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว กฎหมายที่ออกส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิต เช่น พระราชบัญญัติมาตรชั่งตวงวัด พ.ร.บ. อาหาร พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค ส่วนพ.ร.บ. มาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นกฎหมายที่พยายามยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อควบคุมผู้ประกอบการแปรรูปอาหารให้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่ได้กำหนดไว้ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหารสามารถติดต่อหาข้อมูล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชนต่างๆ ที่ไม่แสวงหากำไร อันประกอบด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ส่วนอุตสาหกรรมเกษตร และส่วนบรรจุภัณฑ์) ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ศูนย์บริการออกแบบ กรมส่งเสริมการส่งออก และสถาบันการค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนองค์กรเอกชน ได้แก่ สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สถาบันอาหาร และสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สัญลักษณ์รหัสแท่งไทยหรือรู้จักกันในนามของบาร์โค้ด มีความจำเป็นในการใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ การติดสัญลักษณ์รหัสแท่งสินค้าตัวใดก็ตามจะไม่มีสินค้าใดๆ ในโลกนี้ที่มีหมายเลขซ้ำกัน เนื่องจากการจัดการอย่างมีระบบทั่วทั้งโลก การติดบาร์โค้ดบนสินค้าอุปโภคบริโภคยังเป็นบันได้ก้าวแรกที่จะก้าวไปสู่การทำธุรกิจแบบไร้เอกสาร โดยการซื้อการขายหรือธุรกรรมต่างๆ จะผ่านสายตรงไปยังคอมพิวเตอร์หมด ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Electronic Data Interchange หรือที่รู้จักกันด้วยคำย่อว่า EDI <<ย้อนกลับ กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 1 <<กลับสู่หน้าหลัก
Fingerroot / กระชายขาว
กระชายขาว (Boesenbergia rotunda) เป็นสมุนไพรไทยที่มีการใช้มานาน โดยในตำรับมีการนำเหง้ากระชายมาใช้ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยทำให้กระชุ่มกระชวย และบำรุงความกำหนัดได้ มีสรรพคุณคล้ายคลึงกับโสม โดยกระชายมีชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น "โสมไทย" อีกทั้งกระชายขาว มีสารสำคัญ คือสาร Pandulatin A ซึ่งสามารถช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบของเชื้อไวรัสได้ ประโยชน์ - ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย - ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ - ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ - ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บริษัท พรีโม เทรดดิ้ง จำกัด เอ็มดี ทาวเวอร์ เลขที่ 1 ชั้นที่ 17, 18 ซอยบางนา-ตราด 25 ถนนบางนา–ตราด แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 Tel: (662) 749-6417 เว็บไซต์: https://www.primotrading.co.th/ ติดต่อ: คุณเอิน M: 089-969-2890 E-mail: mk03@primotrading.co.th คุณมิ้น M: 098-993-5571 E-mail: mk03@primotrading.co.th
พี่โทร่าอยากเล่า เรื่อง หญ้าฝรั่นสมุนไพรเครื่องเทศที่แพงที่สุดในโลก!
หญ้าฝรั่น ชื่อภาษาอังกฤษ Saffron (ซาฟ-ฟรอน) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ Crocus sativus L (ครอคัส-สะไทวัส-แอล) ไม่ว่าจะชื่อไทย อังกฤษ หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์นี้คนทั่วไปคงไม่คุ้นหูมากนัก แถมหลาย ๆ คนที่อ่านชื่อมันครั้งแรกก็ต้องมีคิดกันบ้างว่า พี่โทร่าพิมพ์ผิดจากชื่อ หญ้าฝรั่ง เป็น หญ้าฝรั่น แน่ ๆ เลยใช่ไหมครับ? แต่ชื่อ หญ้าฝรั่น นี้พิมพ์ถูกแล้วครับ แล้วเพื่อน ๆ รู้ไหมครับว่าเจ้าหญ้าที่ไม่ใช่หญ้านี้มีความเจ๋งในตัวมากแค่ไหน? ถึงแม้คนทั่วไปจะไม่รู้จักหญ้าฝรั่นมากนัก แต่คนในวงการอาหารหรือสมุนไพรจะต้องรู้จักกันดีอย่างแน่นอนครับ โดยที่ความเจ๋ง อย่างแรกของหญ้าฝรั่นคือ ‘แพง’ ใช่ครับ หญ้าฝรั่นแพงมาก มีการซื้อ – ขาย กันอยู่ที่ระหว่าง 37,400 – 374,000 บาท/กก. ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัตถุดิบครับ หญ้าฝรั่นสำหรับวงการอาหารนั้น มักถูกนำไปเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารแพง ๆ ที่จะเห็นได้จากทั้งในหนังหรือในภัตตาคาร มันมีรสเผ็ด ขมอมหวาน มีกลิ่นหอมคล้ายฟาง และเพราะความแพงของเจ้าหญ้าฝรั่นนี้ทำให้มันได้รับฉายาว่า เครื่องเทศที่แพงที่สุดในโลก นั่นเอง แต่ความเจ๋งของหญ้าฝรั่นไม่ได้มีแค่นี้ มันยังมีคุณสมบัติของสมุนไพรที่เอาไปใช้กันในตำรายาด้วยนะ โดยถิ่นกำเนิดของหญ้าฝรั่นอยู่ที่ประเทศกรีซที่มีการใช้หญ้าฝรั่นเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ทั้ง ลดความเครียด บำรุงสมอง และ เพิ่มความจำ เรียกได้ว่านอกจากเป็นวัตถุดิบอาหารสุดแพงแล้วยังเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องสมองได้ดีอีกด้วยเลยล่ะครับ และด้วยความที่เจ้าหญ้าสมุนไพรนี้ช่วยเรื่องความเครียด ทำให้มันสามารถช่วยในการต้านอาการซึมเศร้า ป้องกันสมอง ได้อีกด้วย แถมยังช่วยต้านการอักเสบ และลดความอยากอาหารได้อีกต่างหาก ทำให้มันมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นหญ้าที่ไม่ใช่หญ้าที่มีประโยชน์มากมายจริง ๆ ครับ เหมาะสมกับความแพงของเขาจริง ๆ บริษัท พรีโม เทรดดิ้ง จำกัด เอ็มดี ทาวเวอร์ เลขที่ 1 ชั้นที่ 17, 18 ซอยบางนา-ตราด 25 ถนนบางนา–ตราด แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 Tel: (662) 749-6417 เว็บไซต์: https://www.primotrading.co.th/ ติดต่อ: คุณเอิน M: 089-969-2890 E-mail: mk03@primotrading.co.th คุณมิ้น M: 098-993-5571 E-mail: mk03@primotrading.co.th
สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry