เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของเครื่องอุ่นไส้กรอก ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปในอุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้จัดทำขึ้นตามความร่วมมือด้านการกำหนดมาตรฐานระหว่างสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
มาตรผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำและเอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง
มอก 1375-2547 ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ที่คล้ายกัน ข้อกำหนดทั่วไป
มอก 1641-2552 เตาย่าง เตาปิ้ง ด้านความปลอดภัย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องอุ่นไส้กรอก
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะเครื่องอุ่นไส้กรอกมีแกนหมุน (roller) ทรงกระบอก มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ไส้กรอกที่ผ่านการทำให้สุก (pre-cooked) มีอุณหภูมิสูงขึ้น แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 250 โวลต์ ไฟฟ้า 1 เฟสที่ต่อระหว่างเฟสหนึ่งกับสายกลาง
2. บทนิยาม
ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน มอก. 1375 ข้อ 3. และเพิ่มข้อความต่อไปนี้
2.1 ไส้กรอก หมายถึง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว ไก่ ไก่งวง แกะ ที่ได้จากการนำเนื้อมาบด ผสมกับเกลือและเครื่องปรุงรสแล้วบรรจุในไส้ (casing) เพื่อทำให้มีรูปร่างเป็นรูปทรงกระบอก
3. ส่วนประกอบและการทำ
3.1 ส่วนประกอบ วัสดุ อย่างน้อยมีส่วนประกอบหลัก ดังแสดงตามรูปที่ 1
1. สวิตช์ปิด-เปิด
2. ปุ่มปรับระดับอุณหภูมิ
3. ไฟแสดงสถานะการทำงาน
4. แกนหมุน
5. ซีลกันน้ำมัน 6. ถาดรอง
7. ระบบขับเคลื่อน
8. โครงเครื่อง
9. ฝาครอบ (ถ้ามี)
รูปที่ 1 ตัวอย่างส่วนประกอบหลักของเครื่องอุ่นไส้กรอก
(ข้อ 3.1.1)
3.2 ส่วนประกอบและการทำ
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในมอก. 1375 ข้อ 4. และยกเว้นข้อต่อไปนี้
3.2.1 ส่วนประกอบ
3.2.1.1 วัสดุ
(1) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร (food area) เช่น แกนหมุนทรงกระบอก ต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร
(2) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่มีโอกาสสัมผัสกับอาหาร (splash area) เช่น ซีล บ่าและผนังด้านใน ถาดรอง ต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร
(3) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ไม่สัมผัสอาหาร (non-food area) เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ ไฟแสดงสถานะการทำงาน โครงเครื่อง ต้องทำจากวัสดุที่ทนการกัดกร่อน หรือวัสดุที่ผ่านการเคลือบผิวหรือพ่นสีเพื่อป้องกันการกัดกร่อน
การทดสอบให้ตรวจสอบตามใบรับรอง
3.2.1.2 สวิตช์ปิด-เปิด ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.2593 และมีไฟแสดงสถานะการเปิด
3.2.1.3 อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิต้องมีแสดงขีดหรือแสดงอุณหภูมิที่ตั้ง เป็นองศาเซลเซียสที่ตัวเครื่องหรือใน
คู่มือ อุณหภูมิของผิวแกนหมุนต้องมีอุปกรณ์ควบคุมต้องออกแบบให้ป้องกันการกระแทกโดยบังเอิญ
3.2.1.4 ไฟแสดงสถานการทำงานของลวดความร้อน (heater) ต้องมีไฟแสดงสถานการทำงานเปิดหรือปิดของขดลวด ตามจำนวนอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ
3.2.1.5 แกนหมุนทรงกระบอก ด้านที่สัมผัสอาหารต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร
3.2.1.6 ซีลกันน้ำมัน ต้องทำจากวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร ป้องกันน้ำมันจากไส้กรอกหรือจากน้ำมันที่ทา ไหลเข้าช่องว่างระหว่างแกนหมุนกับบูท (boost)
3.2.1.7 ถาดรอง ต้องมีผิวเรียบ ไม่มีซอก หลืบ ล้างทำความสะอาดได้
3.2.1.8 อุปกรณ์ขับเคลื่อน ต้องไม่มีเสียงผิดปกติ
3.2.1.9 เครื่องอุ่นไส้กรอกต้องมีความแข็งแรงทางกลให้เป็นตามข้อกำหนดของ มอก. 1375 ข้อ 21
3.2.1.10 ฝาครอบด้านบนเครื่องอุ่นไส้กรอก (ถ้ามี) ต้องครอบปิดบ่าด้านบนของเครื่องอุ่นไส้กรอกทั้งหมด มีผิวเรียบ โปร่งใส ทำจากวัสดุไม่แตกหรือเปราะง่าย ไม่มีซอกหลืบหรือจุดสะสมสิ่งแปลกปลอม ด้านที่มีฝาเปิด ต้องออกแบบเพื่อป้องกันน้ำไหลลงสู่ไส้กรอกจากช่องเปิดของฝาครอบ และฝาเปิดต้องสามารถเปิดค้างได้โดยไม่ปิดลงมาเองเนื่องจากน้ำหนักของฝาเปิด
3.2.2 การทำ
3.2.2.1 รอยต่อและตะเข็บรอยต่อ บริเวณที่เป็นรอยต่อและรอยตะเข็บต้องทำความสะอาดได้ง่าย ป้องกันการสะสมของสิ่งปนเปื้อน รวมไปถึงเศษไส้กรอกหรือหยดของเหลวจากไส้กรอกที่อาจเกิดขึ้น
3.2.2.2 บ่าของเครื่องอุ่นไส้กรอกต้องเรียบไม่มีซอกหลืบ วางตัวอยู่ในแนวนอนหรือลาดเอียงลงด้านข้าง
3.2.2.3 การหมุนของแกนหมุนทรงกระบอกต้องสม่ำเสมอ ไม่มีสะดุด
3.2.3 ลักษณะทางไฟฟ้า
ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน มอก.1375 เฉพาะที่เกี่ยวข้อง
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจตรวจสอบใบรับรอง
4. คุณลักษณะที่ต้องการ
4.1 การทดสอบสมรรถนะช่วงอุณหภูมิอุ่น ทดสอบที่ 57°C ความแตกต่างทุกจุดไม่เกิน 14°C โดยจุดต่ำสุดมีอุณหภูมิ 57°C การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.1
4.2 การทดสอบสมรรถนะช่วงอุณหภูมิย่าง ทดสอบที่ 74°C ความแตกต่างทุกจุดไม่เกิน 14°C โดยจุดต่ำสุดมีอุณหภูมิ 74°C การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.2
4.3 มีความทนทาน การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.3
4.4 กำลังไฟฟ้าที่ใช้ต้องไม่เกิน 5% จากที่ผู้ทำระบุ การทดสอบให้ปฏิบัติตามข้อ 7.3.4
5. เครื่องหมายและฉลาก
ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน มอก.1375 ข้อ 7. และยกเว้นข้อต่อไปนี้
5.1 ที่เครื่องอุ่นไส้กรอกอย่างน้อยต้องมีตัวเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน ไม่ลบเลือนง่าย
(1) ชื่อ "เครื่องอุ่นไส้กรอก"
(2) หมายเลขรหัสเครื่อง
(3) จำนวนและความยาวของแกนหมุน เป็น mm
(4) ชื่อผู้ทำหรือเครื่องหมายการค้า
5.2 เครื่องอุ่นไส้กรอก ต้องมีคู่มือแนะนำการใช้ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ข้อปฏิบัติในการจัดการ การขนส่ง จัดเก็บ ติดตั้ง และ เริ่มการใช้งาน
(2) ข้อปฏิบัติในการทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่แนะนำ วิธีปฏิบัติและความถี่ของ การทำความสะอาด และคำเตือนต่าง ๆ
(3) มิติของเครื่อง ความกว้างxความยาวxความสูง เป็น mm x mm x mm
(4) จำนวนแกนหมุนและความยาวของแกนหมุน เป็น mm
(5) น้ำหนักของเครื่องอุ่นไส้กรอกเป็น kg
(6) ขั้นตอนปฏิบัติและความถี่ในการบำรุงรักษาตามปกติ
(7) ชนิดของน้ำมันหล่อลื่นที่แนะนำให้ใช้
(8) กำลังทางไฟฟ้าที่กำหนด เป็น V Hz kW
(9) รายชื่อและรูปแสดงส่วนประกอบ การประกอบ และการติดตั้ง
(10) คำแนะนำการใช้งาน
ขั้นตอนการทำงานและขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น
ข้อควรระวังที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน และ/หรือ ความเสียหายต่อเครื่องอุ่นไส้กรอกและการดูแลรักษา
(11) ชื่อและที่อยู่ของผู้ทำ
6. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
6.1 รุ่นในที่นี้ หมายถึง เครื่องอุ่นไส้กรอก (model) ที่ทำหรือส่งมอบ หรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน
6.2 การชักตัวอย่างและการตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้แผนการชัก ตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้
6.2.1 การชักตัวอย่าง
ให้ชักตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 1 เครื่อง
6.2.2 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างเครื่องอุ่นไส้กรอกต้องเป็นไปตามข้อ 3. ข้อ 4. และข้อ 5. ทุกรายการ จึงจะถือว่าเครื่องอุ่น ไส้กรอกรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
7. การทดสอบ
7.1 ข้อกำหนดทั่วไปในการหาค่าต่าง ๆ และอุปกรณ์วัดในการทดสอบให้เป็นดังนี้
7.1.1 เวลา
ใช้นาฬิกาจับเวลาที่มีความละเอียดถึง 1s
7.1.2 อุณหภูมิ
ใช้สายเทอร์มอคัปเปิลชนิดเส้นลวดขนาดเล็กมาก (fine-wine thermocouple) มีความละเอียด 0.1oC
7.1.3 กำลังไฟฟ้า
ใช้เครื่องวัดกำลังไฟฟ้าชนิด Watt meter ที่มีความละเอียด 1W
7.2 การเตรียมสภาวะทดสอบ
(1) สภาวะห้องสำหรับทดสอบ คือ 25 ºC ± 2 ºC
(2) ติดตั้งสายเทอร์มอคัปเปิ้ลเพื่อวัดอุณหภูมิทั้งหมด 9 ตำแหน่ง ดังรูปที่ 2 โดยต้องแนบติดกับ roller ตลอดระยะเวลาการทดสอบ เข้ากับแกนหมุน 3 แกน คือ แกนหมุนที่อยู่กึ่งกลางและแกนหมุนที่ติดกับแกนนอกสุด 2 แกน ติดตั้งสายเทอร์มอคัปเปิลที่จุดกึ่งกลางแกน และระยะ 25 mm. จากปลายแกนทั้งสองด้าน โดยสายวัดต้องแนบติดกับแกนหมุนตลอดระยะเวลาการทดสอบ
(3) ติดตั้งถาดรองและฝาครอบก่อนทำการทดสอบ ในกรณีที่เครื่องไม่มีฝาครอบ ให้ผู้ทำเป็นผู้เตรียมฝาครอบเครื่อง
รูปที่ 2 ตำแหน่งติดตั้งเทอร์มอคัปเปิล
(ข้อ 7.2)
7.3.1 การทดสอบอุณหภูมิของแกนหมุน
7.3.1 ตั้งค่าตัวควบคุมอุณหภูมิที่ 57 ºC หากไม่ทราบตำแหน่งให้ผู้ทำระบุหรือตั้งค่า เปิดให้เครื่องอุ่นไส้กรอกทำงานจนอุณหภูมิเข้าสู่ภาวะคงที่ แต่ไม่นานเกินกว่า 60 min ทำการตรวจวัดอุณหภูมิทั้ง 9 ตำแหน่ง โดยบันทึกอุณหภูมิทุก ๆ 30s เป็นเวลา 15 min นำอุณหภูมิสูงสุด (Tmax) และอุณหภูมิต่ำสุด (Tmin) ที่บันทึกได้ คำนวนหาผลต่างอุณหภูมิที่วัดได้สูงสุด (Tdiff)
Tdiff = Tmax - Tmin
7.3.2 ทำการทดสอบเช่นเดียวกับข้อ 7.3.1 แต่ตั้งค่าอุณหภูมิเป็น 74 ºC
7.3.3 ทำการทดสอบโดยการเปิดให้เครื่องอุ่นไส้กรอกทำงานที่อุณหภูมิ 57 ºC เป็นเวลา 72 hr แล้วเครื่องอุ่นไส้กรอกยังมีการทำงานเป็นปกติ
7.3.4 ให้ตั้งค่าอุณหภูมิของเครื่องอุ่นไส้กรอกสูงสุด จากนั้นเปิดให้เครื่องอุ่นไส้กรอกทำงานพร้อมทั้งบันทึกกำลังไฟฟ้าที่ใช้เป็น W ทุก 15 s เป็นเวลา 30 นาที กำลังไฟฟ้าเฉลี่ยต้องไม่เกิน 5% ที่ผู้ทำระบุ