เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้เครื่องปิดฝาเกลียวในอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมประเภทนี้ จึงกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องหั่นผัก ขึ้น
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ กำหนดขึ้นโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ทำ และเอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง
มอก. 34-2546 ข้อปฏิบัติแนะนำระหว่างประเทศ: หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร
มอก. 866-2550 มอเตอร์เหนี่ยวนำ
มอก. 513-2553 การจัดระดับชั้นการป้องกันของเปลือกหุ้มบริภัณฑ์ไฟฟ้า
มอก. 2440-2552 เครื่องใช้เหล็กกล้าไร้สนิม ภาชนะหุงต้มที่มีรอยประสาน
มอก. 428-2526 ขิงแห้ง
มกษ. 4701-2556 ถั่วเหลือง
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 273 (พ.ศ. 2546) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
หลักเกณฑ์และมาตรฐานประกอบการตรวจรับรองสินค้าเกษตรด้านพืช กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2556
AISI/NSF 51 -1997 Food equipment materials
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เครื่องหั่นผัก
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ครอบคลุมเฉพาะเครื่องหั่นผัก ใช้หั่น ตัด หรือลดขนาดผัก ผลไม้ หรือ เนื้อ ให้มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ท่อน แท่ง เส้น หรือลูกเต๋า ด้วยแผ่นใบมีดหรือชุดใบมีดที่ติดตั้งบนฐานหรือแกนหมุน ที่ใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำเป็นต้นกำลัง ความสามารถการหั่นไม่เกิน 1,000 kg/h
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 เครื่องหั่นผักในมาตรฐานนี้ หมายถึง เครื่องจักรที่ในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ใช้หั่นผัก ทำงานโดยการป้อนวัตถุดิบเข้าทางช่องป้อนวัตถุดิบ จากนั้นใบมีดหรือชุดใบมีดจะหั่นวัตถุดิบให้มีขนาดเล็กลง เป็นลักษณะแผ่นบาง ท่อน แท่ง เส้น หรือลูกเต๋า ผลิตภัณฑ์หลังการหั่นจะถูกลำเลียงออกจากเครื่องได้อย่างต่อเนื่อง
2.2 ความสามารถการหั่น หมายถึง มวลของวัตถุดิบที่ป้อนเข้าเครื่องเพื่อหั่นลดขนาดให้ได้รูปร่างตามต้องการภายในระยะเวลา 1 h ความสามารถการหั่นมีหน่วยเป็น kg/h
2.3 ความสามารถการหั่นจำเพาะ หมายถึง ความสามารถการหั่นต่อกำลังที่ใช้ในการหั่น หน่วยเป็น กิโลกรัมต่อชั่วโมงต่อกิโลวัตต์
3. ส่วนประกอบและการทำ
3.1 ส่วนประกอบ
เครื่องหั่นผัก อย่างน้อยต้องมีส่วนประกอบหลักตามรูปที่ 1 หรือ รูปที่ 2
รูปที่ 1 ส่วนประกอบหลักของเครื่องหั่นผัก
รูปที่ 2 ส่วนประกอบหลักของเครื่องหั่นผัก
(ข้อ 3.1)
ช่องป้อนวัตถุดิบ ใบมีด
หน้าแปลนติดตั้งใบมีด แกนหมุน
มอเตอร์ แท่นเครื่อง
ส่วนทางออกของผลิตภัณฑ์ ปุ่มปรับขนาด (ถ้ามี)
3.2 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์
3.2.1 ช่องป้อนวัตถุดิบ
ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม ชั้นคุณภาพอย่างน้อย 304 มีโครงสร้างแข็งแรง คงรูป ผิวเรียบ ไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์ และสามารถทำความสะอาดได้
3.2.2 ใบมีด/ชุดใบมีด และหน้าแปลนติดตั้งใบมีด
ทำด้วยหล็กกล้าไร้สนิม ชั้นคุณภาพอย่างน้อย 304 หรือ วัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร (Food Grade) แข็งแรงและทนต่อการหั่นสามารถถอดออกโดยใช้เครื่องมือเพื่อทำความสะอาดได้ง่าย และต้องไม่มีส่วนที่อาจเสี่ยงต่อการสะสมของสิ่งสกปรกและจุลินทรีย์ แข็งแรงและทนทานต่อการใช้งาน
3.2.3 ในกรณีที่เครื่องหั่นผักสามารถใช้หั่นได้หลายรูปแบบ ใบมีดต้องสามารถถอดปรับเปลี่ยนชนิดของใบมีดได้สะดวก การติดตั้งใบมีด และส่วนสัมผัสอาหาร ต้องสามารถถอดประกอบและทำความสะอาดได้สะดวก มีส่วนป้องกันไม่ให้เครื่องทำงานในระหว่างการติดตั้งใบมีด
3.2.4 เพลา และแกนหมุน
ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม ชั้นคุณภาพอย่างน้อย 304
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพลา ต้องไม่น้อยกว่าค่าที่คำนวณได้จากสูตร
d=116∙ ∛(L/n)
เมื่อ d คือ เส้นผ่านศูนย์กลางเพลา เป็นมิลลิเมตร
L คือ กำลังขับ เป็นกิโลวัตต์
n คือ ความเร็วรอบ เป็นรอบต่อนาที
หมายเหตุ เส้นผ่านศูนย์กลางเพลาในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการส่งกำลังโดยตรง อาจแตกต่างจากค่าที่คำนวณได้
3.2.5 ที่ยึดแกนหมุนและที่ยึดก้านตี/ก้านกระแทก ทำด้วยเหล็กกล้าไร้สนิม ชั้นคุณภาพอย่างน้อย 304 หรือวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร ต้องยึดแน่นกับแกนหมุนและใก้านตี/ก้านกระแทก และมีความแข็งแรงเพียงพอต่อการถ่ายทอดกำลังไปใช้ในการบดโม่
3.2.6 มอเตอร์เหนี่ยวนำ ควรเป็นไปตาม มอก. 866
3.2.7 ช่องทางออกของผลิตภัณฑ์หรือภาชนะรองรับผลิตภัณฑ์หลังการหั่น ต้องเป็นวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร ไม่ทำปฏิกริยากับอาหาร และต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอเพื่อให้ผลิตภัณฑ์หลังการหั่นผ่านออกได้สะดวกและทำความสะอาดง่าย
3.2.7 แท่นเครื่องต้องเป็นวัสดุชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร พื้นผิวเรียบ มีความแข็งแรง และทนทานต่อการกัดกร่อน ทำความสะอาดง่าย
3.2.8 ขาตั้ง (ถ้ามี)
มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของเครื่องบดโม่ กรณีขาตั้งที่ติดตั้งล้อแคสเตอร์ (caster wheel) ล้อแคสเตอร์ต้องใหญ่เพียงพอที่จะรับน้ำหนักของเครื่องบดโม่ได้ และมีที่ล็อกล้ออ
3.2.8 ปุ่มปรับขนาดหั่น (ถ้ามี) ต้องปรับตั้งค่าได้อย่างถูกต้อง สะดวกต่อการใช้งาน และทำความสะอาดง่าย
3.3 การทำ
3.3.1 พื้นผิวที่สัมผัสกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ ต้องสามารถล้างทำความสะอาด และระบายได้เอง (self draining)
3.3.2 รอยเชื่อม/รอยประสานที่สัมผัสกับวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ต้องเรียบ และไม่มีส่วนที่เสี่ยงต่อการสะสมของจุลินทรีย์
3.3.3 ชิ้นส่วนที่ต้องการการหล่อลื่น และมีโอกาสสัมผัสกับอาหาร ต้องใช้สารหล่อลื่นชั้นคุณภาพใช้กับอาหาร
3.3.4 เครื่องหั่น ต้องมีอุปกรณ์หรือสัญญาณเพื่อแสดงสถานะการทำงานทั้งในภาวะปกติและผิดปกติ
3.3.5 ถ้าใช้สายพานส่งกำลัง ต้องมีฝาครอบ ซึ่งสามารถถอดออกได้โดยใช้เครื่องมือเท่านั้น และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับแต่ง ซ่อม หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนอื่น ๆ
3.4 วัสดุที่ใช้
3.4.1 วัสดุโครงสร้างในส่วนที่สัมผัสอาหาร
วัสดุที่ใช้ทำชิ้นส่วนของเครื่องหั่นผัก ในส่วนโครงสร้างที่สัมผัสกับอาหาร เช่น ใบมีด/ช่องป้อนวัตถุดิบ ช่องออกของผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นวัสดุคุณภาพชั้นที่ใช้กับอาหาร เช่น สแตนเลสชั้นคุณภาพไม่ต่ำกว่า AISI 304 ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นพิษ ทำความสะอาดง่าย และไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารพิษสู่อาหาร การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
3.4.2 วัสดุโครงสร้างส่วนที่ไม่สัมผัสอาหาร
วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างในส่วนที่ไม่สัมผัสกับอาหาร ต้องมีผิวเรียบ ทนต่อการกัดกร่อน และทำความสะอาดได้ง่าย
4. คุณลักษณะที่ต้องการ
4.1 ลักษณะทั่วไป
4.1.1 เครื่องหั่นผักต้องเรียบร้อย ไม่มีขอบคม หรือปลายแหลม ยกเว้นก้านตี/ก้านกระแทก อาจจำเป็นต้องมีขอบคมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบดโม่ ปราศจากตำหนิ หรือข้อบกพร่อง เช่น ผิวขรุขระ ร่องหลุม รอยแตกร้าว รอยประสานหรือรอยเชื่อม เรียบเป็นแนวอย่างสม่ำเสมอ การเคลือบผิวหรือทาสีเรียบร้อย
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.1.2 เครื่องหั่นผัก ต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้
4.1.2.1 มีอุปกรณ์/วิธีเพื่อป้องกันไม่ให้มือเข้าไปในส่วนพื้นที่การหั่น
4.1.2.2 ระบบส่งกำลังที่อยู่ในตำแหน่งที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ต้องมีฝาครอบซึ่งจะถอดออกได้โดยใช้เครื่องมือเท่านั้นและไม่เป็นอุปสรรคต่อการปรับแต่ง ซ่อม และเปลี่ยนชิ้นส่วนอื่น ๆ
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.1.2.3 การป้องกันการเข้าถึงส่วนที่มีไฟฟ้า
เครื่องหั่นต้องสร้างและหุ้มเพื่อให้มีการป้องกันอย่างเพียงพอต่อการสัมผัสโดยบังเอิญกับส่วนที่มีไฟฟ้า
การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2 สมรรถนะ ต้องเป็นดังนี้
4.2.1 สมรรถนะไม่มีโหลด
4.2.1.1 เครื่องหั่นผักต้องใช้งานได้สม่ำเสมอ ปลอดภัย ใบมีด/ชุดใบมีดหมุนไม่หยุดชะงักหรือติดขัด โดยไม่เป็นต้นเหตุของอันตรายต่อคนหรือบริเวณล้อมรอบ
4.2.1.2 ไม่มีชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดชำรุดเสียหาย และชิ้นส่วนที่ยึดให้ติดกันด้วยการเชื่อม สลักเกลียว หรือหมุดย้ำต้องไม่ร้าว คลาย หรือแยกออกจากกัน
4.2.1.3 ตลับลูกปืนต้องไม่ร้อนผิดปกติ เช่น เนื่องจากแกนเพลาไม่ได้แนว
4.2.2 สมรรถนะมีโหลด
4.2.2.2 ความสามารถในการหั่นต้องมีค่าไม่น้อยกว่าค่าความสามารถการหั่นขั้นต่ำที่ผู้ทำระบุในข้อ 5.2 การทดสอบให้ทำตามข้อ 7.2
4.2.2.1 ความทนทานของมอเตอร์ต้นกำลังเมื่อทดสอบโดยการป้อนวัตถุดิบด้วยอัตราการป้อนสูงกว่าความสามารถการหั่นสูงสุดที่ผู้ทำระบุ 5% สามารถใช้งานได้ปกติ ปลอดภัย ใบมีด/ชุดใบมีดหมุนไม่หยุดชะงักหรือติดขัด ทำงานได้อย่าง การทดสอบให้ทำโดยการตรวจพินิจ
4.2.3 ความสามารถในการทำความสะอาด
เครื่องหั่นผักสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การทดสอบให้ทำตามข้อ 7.2.3
5. เครื่องหมายและการบรรจุ
5.1 เครื่องหั่นผักทุกเครื่อง อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายชัดเจน และถาวร
(1) คำว่า "เครื่องหั่นผัก"
(2) หมายเลขลำดับเครื่อง
(3) มิติของเครื่อง กว้าง ยาว สูง หน่วยเป็นมิลลิเมตร น้ำหนัก หน่วยเป็นกิโลกรัม
(4) ค่าทางไฟฟ้าที่ใช้สำหรับเครื่องหั่นผัก เช่น กระแส โวลต์ เฟส ความถี่ กำลังมอเตอร์
(5) ความสามารถในการหั่น หน่วยเป็น kg/hr (สามารถระบุค่าเป็นช่วงได้)
(6) เดือนปีที่ทำ หรือรหัสรุ่นที่ทำ
(7) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
เครื่องหั่นผักทุกเครื่องต้องมีคู่มือแนะนำการใช้ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) คำว่า "เครื่องหั่นผัก"
(2) หมายเลขลำดับเครื่อง
(3) มิติของเครื่อง กว้าง ยาว สูง หน่วยเป็น mm น้ำหนัก หน่วยเป็น kg
(4) ชนิดของวัตถุดิบที่สามารถนำมาหั่นได้
(5) ความสามารถในการหั่น หน่วยเป็น kg/hr
(6) ความสามารถในการหั่นจำเพาะ หน่วยเป็น (กิโลกรัม/ชั่วโมง /กิโลวัตต์)
(7) รูปแบบ ความหนา และขนาดของผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังการหั่น
(8) เดือนปีที่ทำ หรือรหัสรุ่นที่ทำ
(9) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
(10) รายชื่อและรูปแสดงส่วนประกอบ การประกอบ และการติดตั้ง
(11) มีคู่มือคำแนะนำการใช้งานอย่างปลอดภัยและการดูแลรักษา เช่น วิธีทำความสะอาด ข้อปฏิบัติหลังทำความสะอาด
(12) อะไหล่ อุปกรณ์/เครื่องมือในการถอดประกอบหรือบำรุงรักษาที่จำเป็น
(13) ใบรับรองที่ใช้ประกอบการอ้างอิงส่วนประกอบที่ใช้ทำเครื่องจักร
6. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
6.1 รุ่นในที่นี้ หมายถึง เครื่องหั่นผักแบบรุ่น (Model) เดียวกัน ที่ทำ หรือส่งมอบในระยะเวลาเดียวกัน
6.2 การชักตัวอย่างและการตัดสิน ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้ หรืออาจใช้แผนการชักตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กำหนดไว้
6.2.1 การชักตัวอย่าง
ให้ชักตัวอย่าง โดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 1 เครื่อง
6.2.2 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างเครื่องหั่นผักต้องเป็นไปตามข้อ 3. ข้อ 4. และข้อ 5. ทุกรายการ จึงจะถือว่าเครื่องหั่นผักรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้
7. การทดสอบ
7.1 ลักษณะทั่วไป
7.1.1 มิติ
ใช้เครื่องวัดที่มีความละเอียด 1.0 มิลลิเมตร วัดความยาว ความสูง ความกว้าง ระยะห่างทุกตำแหน่ง เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +5%
7.1.2 น้ำหนัก
ใช้เครื่องชั่งที่ชั่งได้ความละเอียดถึง 0.1 กิโลกรัม เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +5%
7.1.3 พลังงาน
ใช้วัตต์มิเตอร์ในการวัดค่าพลังงานของเครื่องบดโม่ ได้ความละเอียดถึง 1 วัตต์
7.2 สมรรถนะและประสิทธิภาพในการหั่น
7.2.1 การใช้งานโดยปราศจากโหลด
ทดสอบการทำงานของเครื่องหั่นผักโดยปราศจากโหลดเป็นเวลา 15 นาที ในระหว่างที่เครื่องทำงานให้สังเกตการหมุนของเครื่องหั่นผัก โดยชิ้นส่วนต่างๆต้องยึดติดแน่นกับแกนหมุนและหมุนได้อย่างราบเรียบสมดุล ไม่แกว่ง ทำซ้ำ 3 ครั้ง
7.2.2 การทดสอบการหั่น
7.2.2.1 การเตรียมตัวอย่าง
กำหนดตัวอย่างมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบคือ "แครอท" ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร จำนวน 2 กิโลกรัม หรือ ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 5% ของค่าความสามารถการหั่นขั้นต่ำที่ระบุในข้อ 5.1 มาทดสอบการหั่นให้ได้ขนาดรูปร่างตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดข้อ 5.2 ในระหว่างการหั่น ให้ดำเนินการดังนี้
(1) ทำการตรวจพินิจการทำงานเครื่องหั่นผักในระหว่างการทดสอบการใช้งาน
(2) จับเวลา (นาที) และวัดค่าพลังงาน (กิโลวัตต์) ที่ใช้ในการหั่น
(3) สุ่มวัดขนาดของผลิตภัณฑ์ที่ได้หลังการหั่น ด้วยเครื่องมือวัดที่มีความละเอียดถึง 0.1 มิลลิเมตร
(4) นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าต่างๆ ในข้อ 7.2.2.3, 7.2.2.6
7.2.2.2 ขนาด ความหนา และรูปร่างของผลิตภัณฑ์
ทำการสุ่มวัดขนาด ความหนา และรูปร่างของผลิตภัณฑ์ ด้วยเครื่องมือวัดที่มีความละเอียด 1.0 มิลลิเมตร กำหนดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +10% จากค่าที่ผู้ทำระบุในข้อ 5.2
รูปแบบ ค่าที่วัด
แผ่นบาง ความหนา (a)
เส้น/ท่อน/ซี่ ความกว้าง (a)
ลูกบาศก์ ความกว้าง (a)
ความหนา (b)
ความสูง (c)
7.2.2.3 ความสามารถการหั่น
ความสามารถการหั่น(กิโลกรัม/ชั่วโมง)= (น้ำหนักตัวอย่างที่ได้จากการหั่น (กิโลกรัม)×60)/(เวลาที่ใช้หั่น (นาที) )
ต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 95% ของค่าความสามารถการหั่นที่ผู้ทำระบุ
7.2.2.4 ความสามารถการหั่นจำเพาะ คำนวณจากสมการ
ความสามารถการหั่นจำเพาะ (กิโลกรัม/(ชั่วโมง-กิโลวัตต์))= (น้ำหนักตัวอย่างที่ได้จากการหั่น (กิโลกรัม)×60)/(เวลาที่ใช้หั่น (นาที)×พลังงานที่ใช้ (กิโลวัตต์))
7.2.2.5 น้ำหนักของตัวอย่างที่ได้จากการหั่น ที่นอกขอบเขตเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนในข้อ 7.2.2.2 มีได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัวอย่างที่นำมาทดสอบการหั่น
7.2.2.6 ประสิทธิภาพในการหั่น คำนวณโดยคิดเทียบกับความสามารถในการหั่นจำเพาะขั้นต่ำที่ระบุในข้อ 5.2 ค่าที่ได้ต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 90%
ประสิทธิภาพในการหั่น (%)= (((น้ำหนักตัวอย่างที่ได้จากหั่น (กิโลกรัม))/(พลังงานที่ใช้ (กิโลวัตต์)×เวลาที่ใช้หั่น (ชั่วโมง))))/(ความสามารถในการหั่นจำเพาะขั้นต่ำที่กำหนดในรายละเอียดข้อ 5.2 (กิโลกรัม/(กิโลวัตต์-ชม.)) ) ×100
7.2.2.7 ความทนทานของเครื่องหั่นผัก ทำโดยการชั่งน้ำหนักตัวอย่างมาตรฐานในปริมาณไม่ต่ำกว่า 100+5% ของความสามารถการหั่นขั้นสูงที่ระบุในข้อ 5.1 มาทดสอบการหั่นให้ได้ขนาดรูปร่างตามที่ระบุในข้อ 5.2 การหั่นทำที่อุณหภูมิห้อง (27+3 องศาเซลเซียส) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 10 นาที ทำการตรวจพินิจการทำงานเครื่องหั่นผักในระหว่างการทดสอบการใช้งานเครื่องหั่นผัก
7.2.3 ความสามารถในการทำความสะอาด (Cleanability)
หลังการเตรียมเครื่อง และตัวอย่างทดสอบตามขั้นตอนที่กำหนดในข้อ 7.3.1 และ 7.3.2 เรียบร้อย ให้ทำการล้างเครื่องหั่นผักด้วย ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดประเภทของเหลวสำหรับถ้วยชาม มอก. 474 ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส จากนั้นล้างด้วยน้ำประปา ทิ้งเครื่องไว้จนแห้ง ทดสอบความสามารถในการทำสะอาดโดยการตรวจพินิจ