กลูตาเมต (glutamate) เป็นเกลือของกรดกลูตามิก (glutamic acid) ซึ่งเป็นกรดแอมิโน (amino acid) ชนิดหนึ่ง
กลูตาเมตได้มาจากการไฮโดรไลซ์โมเลกุลของกลูตามีน ซึ่งมีหมู่ R เป็นเอไมด์ (amide group, -CO-NH2) ที่สามารถ
สร้างพันธะไฮโดรเจนกับน้ำได้ดี หมู่เอไมด์ของกลูตามีนถูกไฮโดรไลซ์ (hydrolyse) ได้ง่าย เปลี่ยนเป็นโมเลกุลของ
กรดกลูตามิก (glutamic acid) หรือ กลูตาเมต (glutamate)
กลูตาเมตกับรสอูมามิ (umami)
กลูตาเมตมีความสัมพันธ์กับการรับรส อูมามิ เพราะมีบทบาทสำคัญในสมอง โดยเป็นสารสื่อกระแสประสาท (neurotransmitter)
ทำหน้าที่เป็นตัวนำพาข้อมูลในกระบวนการส่งสัญญาณของระบบประสาท ในเซลล์ประสาทมีรีเซ็พเตอร์เป็นจำนวนมาก
เพื่อทำหน้าที่ตรวจว่ามีกลูตาเมตหรือไม่ รีเซ็พเตอร์ประเภทนี้มีอยู่มากบนลิ้น หากพบกลูตาเมตในอาหารแม้เพียงเล็กน้อย
ก็จะทำให้รสอุมามิเด่นขึ้นมาเหนือรสอื่น ๆ
ตารางที่ 1 ปริมาณกรดกลูตามิกอิสระในอาหาร
ประเภทอาหาร |
Free glutamic acid (mg/100g)
|
เนื้อสัตว์ |
|
เนื้อวัว |
10 |
เนื้อหมู |
9 |
เนื้อไก่ |
22 |
อาหารทะเล |
|
หอยพัด |
140 |
ปูหิมะ (snow crab) |
19 |
ปูทะเล |
43 |
ปูอลาสกา (Alaska king crab) |
72 |
กุ้งขาว |
20 |
สาหร่ายทะเล |
|
สาหร่าย |
1,378 |
สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล (kelp) |
1,608 |
สาหร่าย Wakame (ที่ใส่ในซุปมิโซะ) |
9 |
ผัก |
|
กะหล่ำปลี |
50 |
ผักขม (spinach) |
48 |
มะเขือเทศ |
246 |
หน่อไม้ฝรั่ง |
49 |
ข้าวโพด |
106 |
ถั่วเขียว |
106 |
หัวหอม |
51 |
มันฝรั่ง |
10 |
เห็ด |
42 |
เห็ดชิตาเกะสด |
71 |
ผลไม้ |
|
อโวคาโด |
18 |
แอ็ปเปิล |
4 |
องุ่น |
5 |
กีวี |
5 |
เนยแข็ง |
|
อังเมตาลชีส (Emmenthaler cheese หรือชีสฟองดูว์) |
308 |
Parmegiano reggiano |
1,680 |
Cheddar cheese |
182 |
น้ำนม |
|
น้ำนมวัว |
1 |
น้ำนมแพะ |
4 |
น้ำนมมารดา |
19 |
ในแง่โภชนาการ กลูตาเมต เป็นกรดแอมิโนที่ไม่จำเป็น (non essential amino acid) เป็นสารที่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้
เพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสันดาปเพื่อสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยเฉลี่ยในแต่ละวัน
คนเรารับประทานอาหารที่มีกลูตาเมตในรูปที่จับกับสารอื่นๆ (bound glutamate) ประมาณ 10-20 กรัม และกลูตาเมต
อิสระ (free glutamate) ประมาณ 1 กรัม ทั้งนี้คิดเฉพาะกลูตาเมตที่มีในอาหารตามธรรมชาติ นอกจากนี้ร่างกายยังต้อง
สร้างขึ้นเองอีกประมาณ 50 กรัมต่อวัน
สมองต้องใช้กลูตาเมตเป็นสารสื่อกระแสประสาท ชั้นเยื่อก้นเลือดที่ห่อหุ้มสมองซึ่งมีหน้าที่ปกป้องสมองนั้นจะไม่ยอมให้
กลูตาเมตผ่านเข้าไปในสมองได้ ดังนั้นสมองจึงต้องสังเคราะห์กลูตาเมตขึ้นมาใช้เองจากกลูโคส (glucose) กับ
กรดแอมิโนอื่น ๆ
กลูตาเมตมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ร่างกายต้องการกลูตาเมตร่วมกับซิสเตอีน (cysteine) และไกลซีน
(glycine) เพื่อสร้างกลูทาไทโอน (glutathione) ซึ่งเป็นกรดแอมิโนและเป็น antioxidant ที่เชื่อว่าสามารถยับยั้งการเจริญ
ของไวรัส HIV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้ นอกจากนี้ยังพบว่าในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมีกรดแอมิโน
ประมาณ 20 ชนิดนั้น มีกลูตาเมตอยู่มากถึงร้อยละ 20 น้ำนมมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย จึงเป็นไปได้
ที่กลูตาเมตจะมีส่วนร่วมด้วย
Reference
UMAMI: รสที่ห้า โดย อดิศักดิ์ อินทพิเชฎฐ์