connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Vitamin H (Biotin) / ไบโอติน

ไบไอติน (biotin) หรือวิตามินเอช เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับวิตามินบี
(vitamin B) มีสูตรทั่วไป C10H16O3N2S ผลึกของไบโอตินเป็นรูปเข็มยาว ในธรรมชาติมักเกิดรวมอยู่กับกรด
แอมิโน
ไลซีน (lysine) ไบโอตินเป็นสารจำเป็นในการเจริญของยีสต์และจุลลินทรีย์หลายชนิด

ในปี ค.ศ. 1936 นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ได้คิดแยกไบโอตินออกจากอาหาร และต่อมาได้มีผู้วิเคราะห์หาสูตร
โครงสร้างและสังเคราะห์ไบโอตินได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1943

แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของเราที่ เรียกว่า นอร์มอลฟอร์ร่า (normal flora) ซึ่งเป็น probiotic
จะสามารถสร้างวิตามินไบโอติน เพื่อใช้ประโยชน์ในร่างกายของเราได้ รวมถึงในอาหารที่รับประทานมักจะมี
ไบโอตินเพียงพอ ปกติจึงไม่ค่อยพบปัญหาการขาดไบโอตินในคน แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้วในหลาย
ภาวะ เช่น ในผู้ที่รับประทานยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอยู่เป็นประจำ มักจะพบว่ายาฆ่าเชื้อดังกล่าวจะ
ไปทำลาย นอร์มอลฟอร์ร่า ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ด้วยเสมอ และจะส่งผลให้ร่างกายของเราได้รับไบไอติน
ได้ไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่นิยมรับประทานไข่ดิบ ซึ่งในไข่ดิบนั้นจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่ชื่อ โปรตีน แอวิดีน (avidin)
ที่มีสมบัติในการรวมกับไบโอตินในอาหาร หรือลำไส้ เกิดเป็นสารประกอบที่ไม่ละลายในน้ำ ทำให้ลดการดูดซึม
วิตามินไบโอตินดังกล่าว เข้าสู่ร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายของเราขาดวิตามินไบโอตินได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

อาการของผู้ที่ขาดวิตามินไบโอติน (The symptom of defficiency)

 

อาการที่เรามักพบเสมอในผู้ที่มีอาการขาดวิตามินไบโอติน มีดังต่อไปนี้

 

1. หมดเรี่ยวแรง (fatigue) และอาจมีอาการของการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ (muscle pain)

2. มีอาการคลื่นไส้อาเจียน (nausea) หรือความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร (loss of appetite)

3. มีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ (insomnia) ภาวะซึมเศร้า (depression) ประสาทหลอน
(hallucination)

4. เกิดความบกพร่องของระบบผิวพรรณ เช่น มีอาการผิวแห้ง (dry skin) เป็นผื่นคัน โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา
จมูก ปาก และ บริเวณอวัยวะเพศ ผิวคล้ำ และเป็นจ้ำ การรับสัมผัสทางผิวพรรณผิดปกติ (sensitivity to touch)

5 อาการผมร่วง (hair loss)

6. ระบบการเผาผลาญไขมันเกิดความบกพร่อง ส่งผลให้ไขมัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง (increase in cholesterol)
และการเผาผลาญไขมันน้อยลง กลไกการทำงานของวิตามินไบโอตินในร่างกาย (mechanism of action in our body)

 

 

หน้าที่หลักของวิตามินไบโอติน (biotin)

 

หน้าที่หลักของวิตามินไบโอติน (biotin) ในร่างกายของเรา คือการทำหน้าที่เป็นตัวร่วมเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี
หรือที่เรียกว่า โคเอนไซม์ (co-enzyme) ในปฏิกิริยาต่างๆ ซึ่ง ได้แก่

 

1. เป็นโคเอ็นไซม์ (co-enzyme) ในกระบวนการเผาผลาญไขมัน (fat metabolism) ช่วยให้ร่างกายสามารถนำ
ไขมันมาใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น และนำไขมันมาสร้างเป็นกรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นสารตั้งต้นของสารสำคัญ
ในร่างกายอื่นๆ ได้ดีขึ้น

2. เป็นโคเอ็นไซม์ (co-enzyme) ในกระบวนการสร้างสารไพริมิดีน (pyrimidine) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ร่างกายนำ
ไปใช้สร้างกรดนิวคลีอิก (nucleic acid) หรือ ดีเอ็นเอ (DNA) และ อาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งเป็นสารทางพันธุกรรมต่อไป

 

จากกลไกการทำงานของไบโอตินทำให้เราทราบว่า ในกระบวนการแบ่งเซลล์ หรือเพิ่มจำนวนเซลล์ มีความจำเป็น
ที่เซลล์ใหม่จะต้องมีสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่านั้น จำเป็นที่จะต้อง
ใช้วิตามินไบโอติน ในการสร้างสารตั้งต้นเสมอ ดังนั้นหากขาดวิตามินไบโอติน ดังกล่าว ย่อมทำให้กระบวนการ
ในการสร้างเซลล์ใหม่เกิดภาวะบกพร่องได้ ตัวอย่างอวัยวะที่ต้องเซลล์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา คือ เซลล์ผิวพรรณ
เส้นผม และเล็บ ยิ่งจะปรากฎภาวะความบกพร่องได้ง่ายและชัดเจนขึ้น เช่น อาจทำให้เกิดภาวะผมร่วง (hair loss)
ภาวะผิวหนังอักเสบ (dermatitis) นอกจากนี้ในสตรีมีครรภ์ที่เซลล์ตัวอ่อนทารกมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วก็ต้องการ
ไบโอตินมากขึ้นสำหรับการสร้างสารพันธุกรรมอีกด้วย


แหล่งของไบโอติน (biotin) ในอาหาร

 

ไบโอตินพบได้ในอาหารหลายประเภท แต่มักจะพบในปริมาณที่น้อยกว่าวิตามินที่ละลายได้ในน้ำชนิดอื่นๆ
อาหารที่มีไบโอตินมากที่สุด ได้แก่ ตับ ไต น้ำนม ไข่แดง และ
ยีสต์ นอกจากนี้ยังมีมากในผักและผลไม้สด
หลายชนิด อาหารที่มีไบโอตินน้อยมาก คือ
เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช และผลิตผลจากข้าวและแป้ง

 

ปริมาณไบโอตินในอาหารที่กินได้ 100 กรัม

 

อาหาร

ไมโครกรัม

อาหาร

ไมโครกรัม

ตับวัว

100

หมูเบคอน

7

ถั่วลิสงคั่ว

39

ข้าวโพด

6

ไข่ไก่

25

ปลาแซลมอน น้ำนม

5

ดอกกะหล่ำ

17

เนื้อหมู

2-5

ไก่

5-10

เนื้อวัว กล้วย

4

กากน้ำตาล หอยนางรม

9

หัวแครอท เนยแข็ง มะเขือเทศ

2

 

 

คำแนะนำในการรับประทานหรือการใช้ (Recommendation of use)

 

ในปี คศ. 1998 Food and Nutrition Board of the Institute of Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดปริมาณ
ที่เหมาะสมและพอเพียง (Adequate Intake: AI ) ในการรับประทานไบโอติน ไว้ดังนี้

 

ปริมาณที่เหมาะสมของการรับประทาน biotin ( Adequate Intake : AI )

: แสดงปริมาณที่เหมาะสมของการรับประทานไบโอตินในแต่ละวัน

ช่วงวัย

ช่วงอายุ

เพศชาย (mcg/วัน)

เพศหญิง (mcg/วัน)

ทารก

0-6 เดือน

5

5

7-12 เดือน 6

6

เด็ก

1-3 ปี

8

8

4-8 ปี

12

12

9-13 ปี

20

20

วัยรุ่น

14-18 ปี

25

25

ผู้ใหญ่

19 ปีขึ้นไป

30

30

สตรีมีครรภ์

ทุกอายุ

-

30

หญิงให้นมบุตร

ทุกอายุ

-

35

Reference

 

http://www.pharmacy.cmu.ac.th/dic/newsletter/newpdf/newsletter8_2/biotin.pdf

 

 

 

 

 

 

 



(เข้าชม 3,452 ครั้ง)

สมัครสมาชิก