ทริคิเนลล่า สไปราลิส (Trichinella spiralis ) เป็นพยาธิตัวกลม (round worm) เป็นปรสิต (parasite) ที่ทำให้เกิดโรค ทริคิโนซิส
(trichinosis) หรือโรคทริคิเนลโลซิส ที่ติดต่อผ่านทางอาหาร จัดเป็นอันตรายทางอาหาร (food hazard) ประเภทอันตราย
ทางชีวภาพ (biological hazard) ซึ่งมักปนเปื้อนมากับเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากหมูดิบ เช่น แหนม
วงจรชีวิตของ Trichinella spiralis
พบการระบาดโดยการบริโภคเนื้อสุกร สุกรป่า และสัตว์ป่าอื่นๆ โรคนี้จะแพร่มาสู่คนได้โดยการกินเนื้อสัตว์ ที่มีตัวอ่อนของพยาธิ
ในถุงหุ้มที่แฝงอยู่ในกล้ามเนื้อดิบๆ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ แหนม หลู้ ก้อย น้ำตก จากนั้นพยาธิจะเข้าไปในร่างกาย ถูกย่อย
ในกระเพาะอาหาร ถุงหุ้มตัวพยาธิจะถูกย่อยออก ทำให้พยาธิออกมาเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยภายใน 2-3 วัน ซึ่งจะผสมพันธุ์
กันในลำไส้เล็ก ออกลูกเป็นตัวอ่อนจำนวนมาก พยาธิตัวเมีย 1 ตัว จะออกตัวอ่อนได้ประมาณ 1,000-1,500 ตัว หรือมากถึง
10,000 ตัว ขนาดความยาวของตัวอ่อน 0.8-1.0 มิลลิเมตร
โรคและอาการของโรค
ทริคิเนลล่า สไปราลิส (Trichinella spiralis) ทำให้เกิดโรคทริคิโนซิส (trichinosis) หรือโรคทริคิเนลโลซิส เกิดขึ้นเมื่อ
กินอาหารที่มีตัวอ่อนพยาธิปนเปื้อน พยาธิตัวอ่อนจะไชเข้าไปในระบบน้ำเหลือง และเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ในที่สุด
จะแพร่ไปทั่วร่างกาย จากนั้นจะเข้าไปฝังตัวอยู่ตามกล้ามเนื้อต่างๆ กล้ามเนื้อที่พบมาก คือกระบังลม กล้ามเนื้อตา กล้ามเนื้อ
ที่อยู่ระหว่างกระดูกซี่โครง กล้ามเนื้อแก้ม ลิ้น และน่องนอกจากนี้ยังพบในอวัยวะอื่นของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด
สมอง ตับ ตับอ่อน และไต พยาธิตัวอ่อนที่ขดตัวอยู่ในกล้ามเนื้อจะสร้างถุงหุ้มหรือซิสต์ (cyst) ล้อมรอบและจะมีการจับตัว
ของหินปูน ใน 1 เดือนหลังการติดพยาธิ พยาธิตัวอ่อนในถุงหุ้มนี้อาจมีชีวิตอยู่ในตัวสัตว์ได้นานถึง 11-24 ปี แต่จะไม่มี
การเจริญเติบโตจนกว่าเนื้อสัตว์ที่มีถุงหุ้มของพยาธิจะถูกกินเข้าไป
อาการที่สำคัญในคน ได้แ ก่ปวดกล้ามเนื้อ หนังตาบนบวม ตาแดงอักเสบ มีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลียมาก ผู้ป่วยมักป่วยอยู่
นานหลายเดือน หรืออาจเป็นรุนแรงจนถึงชีวิตได้
การป้องกัน
การป้องกันโรคในสุกรไม่ให้แพร่กระจายโรคไปสู่คน ทำได้โดย
1. ควบคุมคุณภาพการเลี้ยงสัตว์ และคุณภาพอาหารสัตว์ ตามหลัก GAP คือ มีคอกขังสุกรที่แข็งแรง ไม่ให้สุกร กินอาหาร
ที่มีพยาธิปนเปื้อน เช่น เศษอาหาร เศษเนื้อ หรือซากสัตว์ อุจจาระ ตลอดจน กำจัดสัตว์อื่นที่เป็นตัวแพร่โรค โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งหนู (rodents) นอกจากนี้ต้องป้องกันการแพร่กระจายโรคจากสุกรที่ติดพยาธิ
2. ฆ่าและชำแหระสัตว์ในโรงฆ่าสัตว์ ที่ได้มาตรฐาน ที่มีการตรวจเนื้อสัตว์ว่าปลอดจากโรคต่างๆ รวมทั้งโรคทริคิโนซีส
ก่อนนำไปจำหน่ายในท้องตลาด
3. ทำให้เนื้อที่มีพยาธิไม่สามารถแพร่โรคได้
แหล่งอ้างอิง
http://thaigcd.ddc.moph.go.th/zoo_knowledge_trichinosis.html