เบคอน (bacon) คือ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ วัตถุดิบคือ เนื้อหมู (pork) โดยใช้ส่วนที่เป็นเนื้อหมูสามชั้น เป็นการถนอมอาหาร (food preservation) ด้วยการหมักเกลือ (salt curing) แล้วนำมาหั่นให้ได้ความหนาพอเหมาะเป็นชิ้นเบคอน (มอก.1391-2539)
ส่วนประกอบหลัก
1. เนื้อหมู สามารถแบ่งเบคอนตามชิ้นส่วนของเนื้อหมูที่นำมาผลิตได้ 3 ชนิดดังนี้คือ
ซ้าย canadian bacon ขวา breakast bacon
2. ส่วนผสมอื่น เพื่อปรุงรส และปรับปรุงคุณสมบัติ ของเบคอน
กรรมวิธีการผลิตเบคอน
1. การตัดแต่ง เพื่อที่จะให้ได้เนื้อหมูที่มีขนาดสม่ำเสมอ นิยมตัดแต่งให้มีรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั่วไปมีน้ำหนักประมาณ 2.7-4.5 กิโลกรัมต่อชิ้น
2. การทำความสะอาดเพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ที่ผิวหน้าของชิ้นเนื้อ อาจล้างด้วยน้ำสะอาด หรือล้างในน้ำเกลืออ่อน ๆ วิธีการล้าง ใช้วิธีฉีดน้ำเป็นฝอย หรือล้างขณะน้ำไหลแรง การทำความสะอาดควรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีญ์ที่ทำให้เสื่อมเสีย (microbial spoilage)
3. การหมักเกลือ (salt curing) เป็นขั้นตอนสำคัญที่มีผลต่อรสชาติ เนื้อสัมผัส สี และอายุการเก็บรักษาของเบคอน การหมักเกลือเบคอนสามารถทำได้ดังนี้
|
|
injector | Vacuum Tumbler |
การผลิตระดับอุตสาหกรรม นิยมใช้เครื่องหมัก นวดสูญญากาศ (vacuum tumbler) ซึ่งทำให้น้ำหมักซึมเข้าไปในชิ้นเนื้อได้รวดเร็ว และสม่ำเสมอขึ้น เมื่อหมักจนน้ำเกลือกระจายสม่ำเสมอในชิ้นเนื้อดีแล้ว นำเนื้อมาล้างกำจัดเกลือด้านนอกออกก่อนนำไปรมควัน
4. การรมควัน (smoking) อาจทำเป็น 2 ระยะ ช่วงแรกของการรมควัน เป็นการให้ความร้อนเพื่อลดความชื้น ทำให้ผิวหน้าแห้ง อุณหภูมิที่ใช้ประมาณ 70-85 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยในช่วงนี้มีการระบายอากาศออกจากตู้รมควัน เพื่อลดความชื้นของอากาศ ช่วงที่ 2 เป็นการรมควันเพื่อให้เกิดกลิ่นควัน โดยใช้แหล่งกำเนิดควัน คือ ขี้เลื่อยที่ได้จากไม้เนื้อแข็ง ซังข้าวโพดหรือชานอ้อย อุณหภูมิจะต่ำกว่าช่วงแรก คือ 57 องศาเซลเซียส เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง หรือจนกระทั่งอุณหภูมิภายในชิ้นเนื้อเป็น 53.5 องศาเซลเซียส
5. เก็บในห้องเย็น เพื่อให้ชิ้นเนื้อมีความคงตัว โดยเก็บไว้ในห้องเย็น (cold strorage) ที่อุณหภูมิ -9.5 องศาเซลเซียส จนกระทั่งภายในมีอุณหภูมิประมาณ -2 ถึง -3.5 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 12-36 ชั่วโมง เฉลี่ยประมาณ 24 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นเนื้อ
6. การเข้าเครื่องกดระบบไฮดรอลิก (hydraulic press) เพื่อให้ชิ้นเนื้อมีความหนาสม่ำเสมอ ไม่โค้งงอและง่ายต่อการหั่นเป็นชิ้นบาง
7. การหั่น (slice) ใช้เครื่องหั่นอัตโนมัติ ตั้งให้มีความหนาตามต้องการ
8. บรรจุ (pack) นิยมบรรจุในถุงพลาสติกโดยใช้เครื่องบรรจุในสภาพสุญญากาศ (vacuum packaging)
References
http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning46/ft470/cp/cp_004.html
http://www.animalgenome.org/edu/PIH/pigfaq.html