ฟีนิลแอลานีน (phenylalanine) กรดแอมิโน (amino acid) ที่โมเลกุล มีหมู่ R เป็นเบนซิน โดยจัดเป็นกรดแอมิโนที่เป็นกลาง โมเลกุลไม่มีขั้ว (non-polar) ไม่ชอบน้ำ (hydrophilic) ในด้านโภชนการเป็นกรดแอมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ต้องได้รับจากอาหาร phenylalanine ใน 2 form คือ L-phenylalanine และ D-phenylalanine ร่างกายสามารถเปลี่ยน phenylalanine ให้ เป็นไทโรซีน (tyrosine) ได้
แหล่งที่พบ
แหล่งของฟีนิลแอลานีนในอาหาร คือ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อเป็ด เนื้อไก่ รวมถึงเนื้อของสัตว์อื่นๆ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำนม ไข่ เนยแข็ง
ฟีนิลแอลานีน เป็นส่วนประกอบสำคัญของแอสพาเทม (aspartame) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) ให้แคลอรี่ต่ำ
บทบาทในร่างกาย
L-Phenylalanine เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีในระบบประสาท (neurochemical) เมื่อถูกสร้างขึ้นจะทำให้รู้สึกสบาย มีความสุข และอารมณ์ดี และฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เช่น dopamine, epinephrine (adrenaline), norepinephrine (noradrenaline) ซึ่งสารเหล่านี้จะหลั่งออกมาเมื่อมีภาวะเครียดหรือตื่นเต้น และจะช่วยให้ร่างกายเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์นั้นๆ
Phenylalanine ถูกนำมาใช้สร้างฟีนิลเอทิลามีน (phenylethylamine) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับที่พบอยู่ในช็อกโกแลต ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เมื่อรับประทานช็อกโกแลตจะรู้สึกอารมณ์ดี
นอกจากนี้ phenylalanine ยังเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์เป็นไทโรซีน tyrosine ซึ่งมีหน้าที่เป็นสารเริ่มต้นในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
ไทรอกซินร่วมกับไอโอดีน ในการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ และเป็นสารตั้งต้นในการสร้างหลั่งฮอร์โมนในลำไส้เล็กได้คือ คอเลซิสโตไคนิน (cholesystokinin, CCK) ซึ่งจะช่วยในการชะลอให้อาหารผ่านจากกระเพาะอาหารลงสู่ลำไส้เล็กช้าลง จึงทำให้รู้สึกอิ่ม เป็นผลประโยชน์ทางอ้อมที่จะทำให้รับประทานอาหารได้ลดลงด้วย และอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลง
References
http://en.wikipedia.org/wiki/Phenylalanine
http://article.amino10.com/?p=468