Saccharomyces cerevisiae |
Saccharomyces cerevisiae อาจเขียนย่อว่า S. cerevisiae คือ ยีสต์ (yeast) ชนิดหนึ่งที่ใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อการหมัก (fermentation) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ใช้เป็นสารให้ขึ้นฟู ในขนมปัง และใช้ผลิตสารสกัดจากยีสต์ (yeast extract) |
รูปแสดงเซลล์ของยีสต์และการแตกหน่อ (budding) ของ Saccharomyces cerevisiae |
การใช้ Saccharomyces cereviae ในอาหาร |
1. ใช้ในการหมัก (fermentation) ให้ได้ผลผลิตหลักคือเอทิลแอลกอฮอล์ ยีสต์ชนิดนี้จะเปลี่ยน น้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซด์ ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลายชนิดได้แก่
รูปแสดง Saccharomyces cerevisiae ที่ลอยตัวเป็นกลุ่มบนผิวหน้าของการหมักเบียร์
|
2. ใช้เป็นสารที่ทำให้ขึ้นฟู (leavening agent) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เบเกอรี (bakery) ทำให้อาจเรียก Saccharomyces cerevisiae ว่า Baker's yeast ใช้เพื่อการผลิตขนมปัง (bread) โดนัทยีสต์ ขนมปังที่ขึ้นฟูด้วยยีสต์ เรียกว่า yeast leavening bread
ยีสต์ที่ใช้สำหรับเบเกอรี่ อาจใช้รูปแบบของยีสต์สด หรือยีสต์แห้ง (active dried yeast) โดยผสมกับแป้งข้าวสาลี (wheat flour) และน้ำตาลในขั้นตอนแรกของการผลิตขนมปัง ยีสต์จะใช้น้ำตาลเป็นอาหารแล้วผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้แป้งข้าวสาลี (wheat flour) ซึ่งมีโปรตีนกลูเตน (gluten) ที่มีลักษณะเหนียว ยึดหยุ่น ขยายตัวเกิดเป็นรูอากาศ (air cell) เป็นช่องว่างเล็กๆ ในเนื้อของขนมปัง ทำให้เกิดโครงสร้างของ ขนมปังขึ้นฟู ที่มา: http://www.panasonic.net/ha/e/products/bread_bakery/techno_1.html |