connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Shinsen Tea / ชาใบหม่อน

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

มผช.30/2546

ชาใบหม่อน

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเฉพาะชาเขียว ชาจีน และชาฝรั่ง ที่ทำจากใบหม่อน อาจมีการแต่งกลิ่นด้วยดอกไม้หรือใบเตยด้วยก็ได้

ที่มา:http://www.thaitambon.com/Tambon/tsmepdesc.asp?Prod=05616172445&ID=370110&SME=031218141322

2. บทนิยาม

ความหมายของคำ ที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 ชาใบหม่อน หมายถึง ผลิตภัณฑที่ได้จากการนำใบหม่อนมาแปรรปู ทำให้แห้ง โดยการนำใบหม่อนสดมาหั่น ลวกในนํ้าร้อน ผึ่งลม คั่วให้แห้ง หรือคั่วและนวดแล้วนำมาทำให้แห้ง เพื่อชงเป็นเครื่องดื่มอาจมีการแต่งกลิ่นด้วยดอกไม้หรือใบเตยด้วยก็ได้

2.2 ใบหม่อน หมายถึง ใบของต้นหม่อน ซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ในตระกูล โมราซีอี (Family Moraceae)

3. คุณลักษณะที่ต้องการ

3.1 ลักษณะทั่วไป

ต้องมีลักษณะเป็นชิ้นแห้งหรือเป็นผงแห้ง สะอาด

3.2 สี

ต้องมีสีธรรมชาติที่ได้จากการแปรรูปใบหม่อน และสมํ่าเสมอ

3.3 กลิ่น (flavoring agent)

มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของชาใบหม่อน อาจมีกลิ่นหอมของดอกไม้หรือใบเตยที่นำ มาแต่งกลิ่น และไม่เป็น อันตรายต่อผู้บริโภค

3.4 รสมีรสตามธรรมชาติของชาใบหม่อน และไม่มีรสขม

เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 8.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนนจากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง

3.5 สิ่งแปลกปลอม

ต้องไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลของแมลง หนอน หนู และนก ดิน ทรายและกรวด หรือส่วนต่างๆที่ไม่ใช่ใบหม่อน

3.6 การเจือสี

ต้องไม่พบการเจือสีใดๆ

3.7 จุลินทรีย์

3.7.1 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 x 104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

3.7.2 ต้องไม่มีราปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจน

4. สุขลักษณะ

4.1 สุขลักษณะในการทำ ชาใบหม่อน ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP

5. การบรรจุ

5.1 ให้บรรจุชาใบหม่อนในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม สะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย สามารถป้องกันความชื้นและการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้

5.2 นํ้าหนักสุทธิของชาใบหม่อนในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

6. เครื่องหมายและฉลาก

6.1 ที่ภาชนะบรรจุชาใบหม่อนทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมี เลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น ชาเขียวใบหม่อน ชาจีนใบหม่อน ชาฝรั่งใบหม่อน

(2) นํ้าหนักสุทธิเป็นกรัม

(3) วัน เดือน ปีที่ทำ และ วัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "

(4) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

ในกรณีที่ใช้ภาษาต่า งประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไวข้างต้น

7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

7.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง ชาใบหม่อนที่ทำ โดยกรรมวิธีเดียวกัน ที่ทำหรือซื้อขายหรือส่งมอบในระยะเวลาเดียวกัน

7.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำ หนดต่อไปนี้

7.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอมการเจือสี การบรรจุและเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.5 ข้อ 3.6 ข้อ 5. และข้อ 6. จึงจะถือว่าชาใบหม่อนรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนด

7.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่น (flavoring agent) และรสให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 7.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 และข้อ 3.3 จึงจะถือว่าชาใบหม่อนรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

7.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 5 หน่วยภาชนะบรรจุมาทำเป็นตัวอย่างรวม เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.7 จึงจะถือว่าชาใบหม่อนรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนด

7.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างชาใบหม่อนต้องเป็นไปตามข้อ 7.2.1 ข้อ 7.2.2 และข้อ 7.2.3 ทุกข้อ จึงจะถือว่าชาใบหม่อนรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

8. การทดสอบ

8.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป

8.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบชาใบหม่อนอย่างน้อย 5 คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ

8.1.2 ให้วางตัวอย่างชาใบหม่อนในจานกระเบื้องสีขาว แล้วตรวจพินิจลักษณะทั่วไปและสี

8.1.3 ใส่ตัวอย่างชาใบหม่อนในภาชนะที่เหมาะสม เติมน้ำ ที่กำ ลังเดือดลงไป แล้วตรวจพินิจกลิ่นและรสจากนํ้าชาที่ชงได้

8.1.4 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนน

(ข้อ 8.1.3)

8.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอมการบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก

ให้ตรวจพินิจ

8.3 การทดสอบการเจือสี

เทชาใบหม่อนประมาณ 0.5 ถึง 1 กรัมลงบนกระดาษกรอง พับกระดาษกรองเข้าหากันแล้วขยี้ เทชาใบหม่อนออกจากกระดาษกรองให้หมด พ่นนํ้าลงบนกระดาษกรองพอเปียก ต้องไม่มีสีเกิดขึ้นเห็นได้ชัดเจนบนกระดาษกรองนั้น

8.4 การทดสอบจุลินทรีย์

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

8.5 การทดสอบนํ้าหนักสุทธิ

ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม

 

Reference

http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps30_46.pdf

 



(เข้าชม 1,275 ครั้ง)

สมัครสมาชิก