Radappertization คือ การทำให้อาหารปลอดจากจุลินทรีย์ด้วยการฉายรังสี (food irradiation) เทียบเท่ากับระดับ
sterilization ด้วยความร้อน โดยการฉายรังสีด้วยระดับสูง ระหว่าง 20-45 กิโลเกรย์ (Kilo gray) รังสีจะทำลายจุลินทรีย์
ในอาหารทุกชนิด ทั้งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค (pathogen) และจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage)
รวมทั้งสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) โดยอาหารต้องบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท (hermectically sealed
container)
ภายหลังอาหารผ่านการฉายรังสีที่ระดับ Radappertization จะเก็บรักษาได้นานหลายเดือน หรือเป็นปี ที่อุณหภูมิห้องได้
อย่างปลอดภัย
สำหรับอาหารประเภทที่มีกรดต่ำ (low acid food) ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะพบ ปอร์ของแบคทีเรียก่อโรค เช่น Clostridium
botulinum , Clostridium perfringens ซึ่งสามารถทนรังสีได้สูงมาก การฉายรังสีอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ (low acid food)
เพื่อทำลายสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) จึงต้องใช้รังสีสูงถึง 45 กิโลเกรย์ (Kilo gray,KGy) จึงจะสามารถลด
ปริมาณจุลินทรีย์ลงที่ระดับปลอดภัย (12D process หรือ จุลินทรีย์ลดลง 12 log cycle ใช้เวลา 12 เท่าของ D value) ได้
แต่การใช้รังสีสูงมากระดับนี้ จะทำให้อาหารมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจนไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รังสี
อย่างเดียว มาใช้เทคนิคการถนอมอาหรอย่างอื่นร่วมด้วย (Hurdle technology) เช่น การแช่เยือกแข็งอาหารก่อนนำมาฉายรังสี
หรือใช้วิธีการใช้รังสีร่วมกับการลดค่า water activity เป็นต้น
อาหารที่มีความเป็นกรดสุง (acid food) หรือมีเกลือสูง จะไม่สามารถใช้การฉายรังสีวิธีนี้ได้ เนื่องจากอาหารจะเกิดการเปลี่ยน
แปลงสมบัติอย่างมาก
ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อหมู (pork) เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับ
คนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันปกพร่อง และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ
Reference
Irving H. Anellis. Abe Anellis and the Microbiology of Irradiated Food