บอแรกซ์ (borax, anhydrous borax (Na2B4O7), borax pentahydrate (Na2B4O7·5H2O), borax decahydrate (Na2B4O7·10H2O) ) เป็นสารเคมี ที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย มีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ เม่งแซ ผงเนื้อนิ่ม
บอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น .ใช้ทำแก้วเพื่อทำให้ทนความร้อน เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง และเป็นสารยับยั้งการเจริญของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น
มีการนำบอแรกซ์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
การใช้บอแรกซ์ในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เป็นสารเคมีห้ามใช้ในอาหาร (prohibit substances) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร
พิษของสารบอแรกซ์
เกิดได้สองกรณี คือ
ผู้ใหญ่ ได้รับสารบอแรกซ์ 15 กรัม และ เด็ก ได้รับ 5 กรัม จะทำให้อาเจียนเป็นเลือด
และถึงแก่ชีวิตได้ ภายใน 3-4 ชม.
คำแนะนำสำหรับผู้บริโภค
หลีกเลี่ยงสารบอแรกซ์ในอาหารโดยเฉพาะอาหารที่มีลักษณะกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานผิดปกติ
การตรวจหาบอแรกซ์ในอาหาร
น้ำยาทดสอบบอแรกซ์ คือกระดาษขมิ้นซึ่งเป็นกระดาษซับหรือกระดาษกรองที่ชุบด้วยน้ำสกัดจากขมิ้น ซึ่งมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) และ สารละลายกรดเกลือ (HCl) เจือจางเพื่อปรับค่าพีเอช (pH) ของอาหาร
วิธีการทดสอบ
ความไวของชุดทดสอบ
ความไวของชุดทดสอบ - ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ ในอาหาร ประมาณ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (100 ppm) - ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 50 มิลลิกรัม /กิโลกรัม (ในสารเคมี)
โทษของการผลิตหรือจำหน่ายอาหารซึ่งปนเปื้อนสารบอแรกซ์ ถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (1) เป็นอาหารไม่บริสุทธิ ตามมาตรา 26 (1) มีโทษตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ