connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Beta-agonist / สารเร่งเนื้อแดง

สารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ (beta-agonist) เช่น ซัลบูทามอล (Salbutamol) ซิมบูเทอรอล (Cimbuterol) เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol) มาเพนเทอรอล (Mapenterol) แรคโตพามีน (Ractopamine) เคลนเพนเทอรอล (Clenpenterol) ไซมาเทอรอล (Cimaterol) คาบูเทอรอล (Cabuterol) มาบิวเทอรอล (Mabuterol) ทูโลบูเทอรอล (Tulobuterol) โบรโมบูเทอรอล (Bromobuterol) เทอบูทาลีน (Terbutaline)

 

 

สารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์เป็นตัวยาสำคัญที่ใช้ยาบรรเทาโรคหอบ หืด ช่วยในการขยายหลอดลม มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว เพิ่มการสลายตัวไขมันที่สะสมในร่างกาย

ในประเทศไทย ได้มีการนำสารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์โดยเฉพาะ เคลนบิวเทอรอล (Clenbuteral) และซัลบูทามอล (Salbutamol) มาใช้เติมลงในอาหารหมู สารนี้จะตกค้างในเนื้อหมู มาถึงผู้บริโภค เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรู้จักและเริ่มใช้สารบีตา-อะโกนิสต์ โดยเฉพาะเคลนบิว-เทอรอลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อทางการค้าต่างๆ กัน เช่น เลนดอล โดโซลบี แอมโปรฟีด บีดอล 2201 และแมคโต-เอส เป็นต้น

 

เนื่องจากไม่มีการใช้เคลนบิวเทอรอลในยาคน และความเข้มงวดในการสั่งนำเข้าประเทศ ดังนั้นสารเร่งเนื้อแดงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมในปัจจุบันคือ ซัลบูทามอล (Salbutamol) ซึ่งหาซื้อได้ง่ายกว่าเพราะมีการใช้เป็นยาของคน แต่นำซัลบูทามอลมาใช้ผิดวัตถุประสงค์ คือใช้เป็นสารเร่งเนื้อแดงโดยผสมในอาหารและน้ำสำหรับเลี้ยงหมู เพื่อให้ซากหมูมีเนื้อแดงมาก มีไขมันน้อยซึ่งทำให้ได้ราคาดี

ผลของสารเร่งเนื้อแดงต่อหมู

 

  • ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อตัวสัตว์ ทำให้สัตว์เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้น ในสัตว์บางชนิดอาจพบการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ การสร้างความร้อนในตัวสัตว์ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้สัตว์ทนต่อความร้อนได้ลดน้อยลง และอาจเกิดภาวะเครียดจากความร้อน (heat stress) ได้
  • หมูที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถสังเกตุมีลักษณะมัดกล้ามนูนเด่นกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณสะโพก สันหลัง หรือบริเวณหัวไหล่ ถ้าได้รับปริมาณสูงมากๆ หมูจะมีอาการสั่นอยู่ตลอดเวลา

ผลของสารเร่งเนื้อแดงต่อซากหมู

  • ทำให้คุณภาพซากหมูมีเนื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ไขมันน้อยลง ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค

เปอร์เซ็นต์การตัดแต่งชิ้นส่วนย่อยตามมาตรฐานทางการค้าสุกรทดลอง (MEAN+SE) 1

ลักษณะที่ศึกษา สูตรควบคุม สูตรซัลบูทามอล
น้ำหนักซากเย็น (กิโลกรัม/ตัว) น้ำหนักชิ้นส่วนการตัดแต่ง (%) 1/สันในสันนอกสะโพกไหล่สามชั้นซี่โครงกระดูกรวมไขมันรวม (%) เนื้อแดงรวม (%) เนื้อติดกระดูก (%) 76.70 + 5.25ข1.21 + 0.11ข8.37 + 0.74ข17.39 + 1.26ข9.36 + 0.74ข14.92 + 1.19ก4.97 + 0.567.79 + 0.60ก13.68 + 2.35ก44.40 + 2.44ข15.13 + 0.95 80.53 + 8.24ก1.34 + 0.12ก9.05 + 0.80ก19.70 + 1.03ก10.50 + 0.61ก13.98 + 1.18ข4.93 + 0.477.41 + 0.99ข10.87 + 1.65ข49.17 + 1.93ก15.31 + 0.85
1/ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักซากเย็น ก-ข อักษรที่แตกต่างกันในแถวเดียวกันแสดงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P< 0.01) ค-ง อักษรที่แตกต่างกันในแถวเดียวกันแสดงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05)
  • การเกิดเนื้อซีดฉ่ำน้ำ (PSE) ลดลง
  • เนื้อสีแดงคล้ำกว่าปกติ เมื่อหั่นทิ้งไว้จะมีลักษณะเนื้อค่อนข้างแห้ง

 

 

 

 

อันตรายจากการบริโภคเนื้อหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้าง

การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น อาจมีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็นลม นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสำหรับหญิงมีครรภ์และผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์

ประเทศไทยและต่างประเทศได้ห้ามใช้สารกลุ่มนี้ในการผลิตอาหารสัตว์โดยเด็ดขาด เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ. 2546เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ กำหนดให้อาหารทุกชนิดมีมาตรฐานโดยตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์ และเกลือของสารกลุ่มนี้ รวมถึงสารในกระบวนการสร้างและสลาย หรือเมแทบอไลต์ (metabolite) ของสารดังกล่าวด้วย การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการตรวจวิเคราะห์ทางวิชาการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 6 (5) , 57

 

Reference

 

 



(เข้าชม 3,234 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก