connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลต่อสุขภาพผู้ป่วยระยะยาว การควบคุมอาหาร เป็นวิธีการหนึ่งในการการรักษาและป้องกันโรคเบาหวานที่ดีที่สุด

อาหารผู้ป่วยเบาหวาน อาจได้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1. อาหารที่ห้ามรับประทาน

ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลสูง น้ำตาลในที่นี้หมายถึง น้ำตาลที่เป็นคาร์โบไฮเดรตทุกชนิดที่มีรสหวาน ได้แก่ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) คือ น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลฟรักโทส และน้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) คือน้ำตาลซูโครส หรือที่เรารู้จักกันดีว่าน้ำตาลทราย

หากต้องการความหวาน ทางเลือกคือใช้ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sugar substitute) หรือที่เรียกว่า น้ำตาลเทียม ซึ่งไม่ใช่น้ำตาล ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่

  • แอสพาร์แทม (aspartame)
  • แซ็กคาริน (saccharin) หรือขัณทสกร
  • น้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohol) เช่น ซอร์บิทอล (sorbitol) และแมนิทอล (manitol)
  • ซูคราโลส (sucralose)

ประเภทที่ 2. รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน

ได้แก่ อาหารที่ให้พลังงานต่ำ และมีเส้นใยอาหาร (dietary fiber) มาก ซึ่งมีผลดี คือ ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง ได้แก่ ผักใบเขียวทุกชนิด ตัวอย่าผัก เช่น ผักคะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้งจีน ถั่วงอก และเม็ดแมงลัก

ผักต่างๆ นำมารับประทานสด เป็นผักสลัด ยำ หรือนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงจืด ผัดผัก เป็นต้น

ประเภทที่ 3. รับประทานได้แต่จำกัดจำนวน

ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ประเภทแป้ง ได้แก่ ข้าว ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว มักโรนี และสปาเกตตี้

การรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีปัจจัยที่ต้องพิจรณาร่วม 2 ประการคือ

 

1. ปริมาณเส้นใยอาหาร (dietary fiber) เช่น เมล็ดธัญพืช (cereal grain) ที่ไม่ขัดขาวได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และถั่วเมล็ดแห้ง

2. ไกลซีมิคอินเดกซ์ (glycemic index) ไกลซีมิคอินเดกซ์ เป็นการวัดการดูดซึมของอาหาร เปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ เท่ากับ 100 แสดงว่าดูดซึมได้รวดเร็วเท่าอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำกว่า 100 แสดงว่าดูดซึมได้ช้า ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่า 100 แสดงว่าดูดซึมได้มากกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารที่ควรรับประทานในผู้ป่วยเบาหวาน คือ อาหารที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ค่อนข้างต่ำ

อาหารที่มีเส้นใยอาหาร ทำให้การดูดซึมอาหารช้าลง จึงควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูง ควรได้รับเส้นใยอาหารทั้งหมดอย่างน้อย 40 กรัม/วัน

ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ในอาหารประเภทแป้ง

(โดยใช้ข้าวเจ้าเป็นอาหารมาตรฐาน) ขนมปังขาว = 110 , ข้าวเจ้า = 100, ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ บะหมี่ = 75, วุ้นเส้น = 63 , ข้าวเหนียว = 106 ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ = 76, มะกะโรนี สปาเกตตี = 64-67

ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย

(ใช้น้ำตาลกูลโคสเป็นสารอาหารมาตรฐาน) ทุเรียน = 62.4, ลำใย = 57.2, องุ่น = 53.1, มะละกอ = 40.6, สับปะรด = 62.4, ส้ม = 55.6, มะม่วง = 47.5, กล้วย = 38.6

สุดท้ายอย่าลืมออกกำลังกายนะคะ

 

 

 

 



(เข้าชม 2,001 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก