ธาตุเหล็ก เป็นเกลือแร่ซึ่งร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่มีความสำคัญคือ เป็นส่วนประกอบของโมเลกุลของฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่จับกับออกซิเจน จากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย
และพาคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปยังปอดเพื่อขับถ่ายออกในรูปการหายใจออก เมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง หรือ Anemia (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก) นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังมีช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development) ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการนำพลังงานต่างๆไปใช้
รูปแบบของธาตุเหล็กในอาหาร
ธาตุเหล็กเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารอาหารซึ่งสามารถพบได้ในอาหารที่ได้มาจากสัตว์ และพืช แต่จะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน ธาตุเหล็กมี 2 รูปแบบ คือ
Ferrous (Fe+2) เป็นธาตุเหล็กที่เป็นส่วนประกอบของฮีม เรียกว่า heme iron พบมากในเครื่องในสัตว์ เนื้อสีแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย ปลา ตับ ไข่ ซึ่งเหล็กที่อยู่ในรูปของ heme iron จะดูดซึมได้ดีกว่า ดังนั้นอาหารจากเนื้อสัตว์จึงเป็นแหล่งของเหล็กที่ดูดซึมได้ดีกว่าอาหารจากพืช
Ferric (Fe+3) เป็นเหล็กที่จะอยู่รวมกับโปรตีน เรียกว่า non-heme iron พบมากในพืชผัก ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง
ผลการศึกษาผักพื้นบ้านในปี พ.ศ. 2554 ของกรมอนามัยจากผักสมุนไพร พื้นบ้าน พบผัก ใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูงสุด 5 อันดับแรก
อย่างไรก็ตาม เหล็กที่อยู่ในพืชร่างกายดูดซึมได้เพียงเล็กน้อยกว่าอาหารจากสัตว์
ความต้องการธาตุเหล็กของร่างกาย
สำหรับปริมาณธาตุเหล็กที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes (Thai-RDI)) มีค่าเท่ากับ 15 มิลลิกรัม โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี จะเห็นได้ว่าร่างกายเราต้องการในปริมาณไม่มาก แต่ธาตุเหล็กจัดเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นกับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กทารก เด็กวัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโต ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายซึ่งปริมาณธาตุเหล็กที่ร่างกายควรได้รับจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เพศ อายุ
ภาวะการได้รับธาตุเหล็กเกิน
หากได้รับธาตุเหล็กมากเกินไป หรือจากการเสริมธาตุเหล็กในปริมาณสูงต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ รวมทั้งอาจมีอาการเหล่านี้ เช่น
ดังนั้น จึงไม่ควรได้รับธาตุเหล็กเสริมอาหารเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก
References
http://whqlibdoc.who.int/publications/2004/9241546123_chap13.pdf
http://www.vcharkarn.com/varticle/501067