connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Oxalic acid / กรดออกซาลิก

กรดออกซาลิก (oxalic acid) เป็นกรดอินทรีย์ มีสูตรทางเคมีคือ C2H2O4 พบได้ในอาหารทั่วไป เมื่อรับประทานอาหารที่มี oxalic acid เข้าสู่ร่างกาย จะไปรวมกับแร่ธาตุอื่น กลายเป็นผลึกออกซาเลต เช่น แคลเซียมออกซาเลต โซเดียมออกซาเลต แมกนีเซียมออกซาเลต และโพแทสเซียมออกซาเลต โดยเฉพาะผลึกของแคลเซียมออกซาเลต เกิดได้ง่าย ถ้าร่างกายได้รับแคลเซียม และ oxalic acid จากอาหารมากเกินไป ปริมาณ oxalic acid ที่รับประทานได้แต่ละวันโดยไม่มีความเสี่ยงนั้น ไม่ควรเกินประมาณ 22 กรัม สำหรับคนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม หรือประมาณ 378 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ที่มาของกรดออกซาลิก

1. เกิดขึ้นภายในร่างกายได้เองโดยมาจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของ glyoxylicacid และ (unused) ascorbic acid ดังนั้นถ้าร่างกายได้รับวิตามินซีมากเกินไป (megadose) เป็นเวลานานๆ อาจจะทำให้มีกรดออกซาลิก เพิ่มขึ้นและมีผลให้เกิดก้อนนิ่วแคลเซียมออกซาเลตในไตและกระเพาะปัสสาวะได้

2. ได้รับจากภายนอก โดยรับประทานอาหารที่มีกรดออกซาลิก เช่น ผักต่างๆ โดยเฉพาะใบ ยอด และ ต้นอ่อน ปริมาณกรดออกซาลิกในผักต่างๆ จากการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการของกลุ่มวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย และที่ได้รวบรวมจากผลการวิเคราะห์ของต่างประเทศ พบว่าผักพื้นบ้านของไทยที่มีกรดออกซาลิกมาก ได้แก่ ใบชะพลู (1,088 มิลลิกรัม/100กรัม) ยอดพริกชี้ฟ้า (761.7 มิลลิกรัม/100กรัม) ใบยอ (387.6 มิลลิกรัม/100กรัม) ผักปัง (385.3 มิลลิกรัม/100กรัม) และใบกระเจี๊ยบ (389.5 มิลลิกรัม/100กรัม) ส่วนผักจากต่างประเทศพบว่ากลุ่มผักโขม (Amaranth และ Spinach) มีกรดออกซาลิกค่อนข้างสูง (970-1,090 มิลลิกรัม/100กรัม) ผักอื่นๆ ที่มีกรดออกซาลิกมาก ได้แก่ พาร์สเลย์ (parsley) (1,700 มิลลิกรัม/100กรัม) cassava (1,260 มิลลิกรัม/100กรัม) แครอท (500 มิลลิกรัม/100กรัม) และแรดิช (radish) (480 มิลลิกรัม/100กรัม) เป็นต้น

ปริมาณ Oxalic acid ในผักต่างๆ

ชื่อ

Oxalic acid ( มิลลิกรัม / 100 กรัม)

กระชาย

223.2

ขิงอ่อน

38.0

คึ่นช่าย

7.7

คูณ

93.2

ดอกกุยช่าย

3.6

ดอกแค

8.8

ดอกโสน

11.3

ตะไคร้

21.8

แตงกวา

1.1

แตงร้าน

2.9

ตำลึง

8.0

ต้นหอม

5.3

ถั่วฝักยาว

35.0

ใบกระเจี๊ยบ

389.5

ใบชะพลู

1,088.4

ใบชะมวง

45.4

ใบทองหลาง

4.3

ใบบัวบก

7.5

ใบแมงลัก

56.7

ใบยอ

387.6

ใบสะระแหน่

14.8

ใบโหระพา

128.1

บวบเหลี่ยม

3.1

บวบหอม

2.3

ผักกะเฉด

36.3

ผักกาดขาว

6.5

ผักกาดหอม

7.4

ผักคะน้า

7.5

ผักชีฝรั่ง

5.6

ผักตับเต่า

165.6

ผักบุ้งขาว

22.5

ผักบุ้งจีน

57.5

ผักปัง

385.3

ผักหวาน

56.8

ฝักกระเจี๊ยบ

11.9

พังพวย

243.9

พริกขี้หนู (เม็ดใหญ่)

47.3

พริกชี้ฟ้าเขียว

8.6

พริกชี้ฟ้าแดง

7.6

ฟักทอง

5.2

แฟง

24.2

มันแกว

37.6

มันเทศ (แดง)

229.9

มะเขือไข่เต่า

29.9

มะเขือเทศลูกเล็ก

4.6

มะเขือยาว

5.0

ยอดกระถิน

51.0

ยอดแค

94.8

ยอดพริกชี้ฟ้า

761.7

ยอดมะม่วงอ่อน

185.3

สายบัว

73.6

ปริมาณ Oxalicacid ในผลไม้

ชื่อ

Oxalic acid ( มิลลิกรัม / 100 กรัม)

กล้วยไข่

109.3

เผือก

7.1

พุทรา

107.4

สัปปะรด

137.2

ปริมาณ Oxalic acid ในผักต่างประเทศ

ชื่อ

Oxalic acid ( มิลลิกรัม / 100 กรัม)

ผักโขม (Amaranth)

1,090

ผักโขม (Spinach)

970

หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus)

130

บรอคโคลี่ (Broccoli)

190

ผักกาด (Cabbage)

100

แครอท (Carrot)

500

มันสำปะหลัง (Cassava)

1,260

ดอกกะหล่ำ (Cauliflower)

150

มะเขือ (Eggplant)

190

กระเทียม (Garlic)

360

ผักชีฝรั่ง (Parsley)

1,700

หัวไชเท้า (Radish)

480

ผักกระเฉด (Watercress)

310

มันฝรั่ง (Sweet potato)

240

มะเขือทศ (Tomato)

50

ที่มา : USDA Agricultured Research Service . (ระบบออนไลน์) http://www.usda.gov/Services/docs.htm (4/10/2549)

References

นันทยา จงใจเทศ เกร็ดความรู้เรื่อง ออกซาเลต



(เข้าชม 972 ครั้ง)

สมัครสมาชิก