connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

caffeine / กาแฟอีน

กาเฟอีน (caffeine) เป็นสารเมทิลแซนทีน (methylxanthine) ซึ่งเป็นแซนทีนแอลคาลอยด์ เป็นสารที่มีรสขม (bitter) ไม่มีกลิ่น พบได้ในพืชหลายชนิด ได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โกโก้ และกาเฟอีนยังใช้เเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม กาเฟอีนที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับแอดีโนซีน (adenosine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทางบวกคือทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้

caffeine

 

โครงสร้างของกาเฟอีน

สูตรโครงสร้างทางเคมีของสารกาเฟอีน มีลักษณะที่เป็นวงแหวน (cyclic) สารที่ไม่มีขั้ว (nonpolar)

caffeine

กาเฟอีนละลายได้เล็กน้อยในน้ำเย็น ได้ละลายได้อย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส

แหล่งของกาเฟอีน

1.  กาแฟ (coffee) เป็นพืชที่เป็นแหล่งของกาเฟอีนที่สำคัญ ปริมาณกาเฟอีนในกาแฟ ขึ้นอยู่กับพันธุ์กาแฟ กาแฟพันธุ์อะราบิกา (arabica) จะมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟพันธุ์โรบัสตา (robusta) โดยกาแฟพันธุ์อะราบิกา มีกาเฟอีน ร้อยละ 1.2  ส่วนกาแฟพันธุ์โรบัสตามีกาเฟอีนร้อยละ 2.2

การชง และกรรมวิธีการแปรรูปกาแฟ มีผลต่อปริมาณกาเฟอีน เมื่อผ่านความร้อนปริมาณกาเฟอีนจะลดลง การคั่วเมล็ดกาแฟจนเป็นสีเข้มจะมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่าเมล็ดที่คั่วไม่นาน เนื่องจากกาเฟอีนสามารถสลายตัวไปได้ระหว่างการคั่ว

 

2.  ชา (tea) เป็นแหล่งของกาเฟอีนที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง พบว่าจะมีกาเฟอีนมากกว่ากาแฟในปริมาณที่เท่ากัน แต่วิธีชงดื่มของชานั้น ทำให้ปริมาณกาเฟอีนลดลงไปมาก แต่ชาจะมีปริมาณของทีโอฟิลลินอยู่มาก และพบอนุพันธุ์อีกชนิดของกาเฟอีน คือ ทีโอโบรมีน (theobromine) อยู่เล็กน้อยด้วย ชนิดของใบชาและกระบวนการเตรียมเป็นปัจจัยสำคัญต่อปริมาณของกาเฟอีนในน้ำชา สีของน้ำชาไม่ได้เป็นลักษณะบ่งชี้ถึงปริมาณกาเฟอีนในน้ำชา เช่น ในชาเขียวญี่ปุ่นจะมีปริมาณกาเฟอีนสูงกว่าชาดำและชาอู่หลงบางชนิด

 

3 เมล็ดโกโก้ (cocoa) ก็เป็นแหล่งของกาแฟอีนเช่นเดียวกัน แต่ในปริมาณที่น้อยกว่าเมล็ดกาแฟและใบชา แต่เนื่องจากในเมล็ดโกโก้มีสารธีโอฟิลลินและธีโอโบรมีนอยู่มาก จึงมีฤทธิ์อ่อนๆในการกระตุ้นประสาท อย่างไรก็ตาม ปริมาณของสารดังกล่าวนี้ก็ยังน้อยเกินไปที่จะให้เกิดผลกระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน

 

4 น้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นเครื่องดื่มที่พบกาแฟอีนได้มากเช่นเดียวกัน น้ำอัดลมทั่วไปจะมีกาแฟอีนประมาณ 10-50 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ขณะที่เครื่องดื่มชูกำลัง เช่นกระทิงแดง จะมีกาแฟอีนอยู่มากถึง 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค กาแฟอีนที่ผสมอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้อาจมาจากพืชที่เป็นแหล่งผลิต แต่ส่วนใหญ่จะได้จากกาแฟอีนที่สกัดออกระหว่างการผลิตกาแฟพร่องกาแฟอีน (decaffeination)

ผลของการบริโภคกาแฟอีนต่อร่างกาย

การบริโภคกาแฟอีนปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะเสพติดกาแฟอีน (caffeinism) ซึ่งจะปรากฏอาการต่างๆทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เช่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก นอนไม่หลับ หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เป็นต้น นอกจากนี้การบริโภคกาแฟอีนเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กอักเสบ และโรคน้ำย่อยไหลย้อนกลับ (gastroesophageal reflux disease) ปัสสาวะบ่อย

caffeine

ที่มา http://z6mag.com/featured/monster-energy-drink-causes-death-caffeine-toxicity-1614759.html



(เข้าชม 2,164 ครั้ง)

สมัครสมาชิก