ไพโรมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด (infrared pyrometer) เป็นไพโรมิเตอร์ (pyrometer ) ชนิดหนึ่ง ทำงานโดยอาศัยหลัก การแผ่รังสีอินฟราเรด (infrared radiation ) ออกจากวัตถุ ใช้สำหรับการวัดอุณหภูมิ (temperature measurement ) ที่ผิว ของวัตถุ ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสและไม่ทำลายวัตถุ แบ่งตามลักษณะการวัดได้ดังนี้
การวัดอุณหภูมิแบบจุด เรียกเครื่องมือวัดอุณหภูมินี้ว่า "เทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด (infrared thermometer ) " และ การวัดอุณหภูมิแบบพื้นที่ เรียกเครื่องมือวัดอุณหภูมินี้ว่า "กล้องถ่ายภาพความร้อน (thermal image camera , TI - camera หรือ infrared thermography )
ไพโรมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด
(ก) เทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด (ข) กล้องถ่ายภาพความร้อน (ภาพผลิตภัณฑ์ FLUKE)
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)
VIDEO
การทำงานของไพโรมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด
(ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=8fLqc9ZwdKk )
การประยุกต์ใช้งานไพโรมิเตอร์ชนิดอินฟราเรดในอุตสาหกรรมอาหาร
หัวใจสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร คือ การผลิตอาหารที่ปลอดภัย (food safety ) สำหรับผู้บริโภค โดยผู้ผลิต ต้องยึดถือหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP ) และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตลอดกระบวน การผลิต ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่
การวัดอุณหภูมิของผู้ปฏิบัติงานในสายการผลิตอาหารด้วยเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด (infrared thermometer ) และกล้องถ่ายภาพความร้อน (thermal image camera , infrared thermography ) ซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัส ในอุตสาหกรรมอาหาร หากผู้ปฏิบัติงานมีการเจ็บป่วย โดยไม่แสดงอาการให้สังเกตเห็น สามารถใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ ช่วยตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากคนไปสู่อาหาร โดยเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรดและกล้อง ถ่ายภาพความร้อนเป็นที่นิยมใช้เนื่องจากสามารถวัดได้อย่างรวดเร็วโดยที่ผู้ตรวจไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย
การตรวจสอบสภาพของฉนวนความร้อน เช่น ฉนวนห้องเย็น (cold storage ) หรือห้องแช่เยือกแข็ง (freezer ) ฉนวนหุ้ม หม้อฆ่าเชื้อ (retort ) และฉนวนหุ้มท่อไอน้ำด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน (thermal image camera , infrared thermography ) ซึ่งสามารถใช้ตรวจหาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว โดยแสดงผลเป็นภาพถ่ายความร้อน ตัวอย่างการแปลผลการตรวจสอบ สภาพฉนวนห้องเย็นด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน ได้แก่ การถ่ายภาพความร้อนจากภายนอกห้องเย็นแล้วปรากฏพื้นที่บาง บริเวณของผนังที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าผนังส่วนอื่น หรือการถ่ายภาพความร้อนภายในห้องเย็นแล้วปรากฏพื้นที่บางบริเวณมี อุณหภูมิสูง สามารถแปลผลได้ว่าอาจเกิดการเสื่อมสภาพของฉนวนที่บริเวณนั้น
การตรวจสอบการทำงานของมอเตอร์ที่อยู่ในกระบวนการผลิตด้วยเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด (infrared thermometer ) หรือกล้องถ่ายภาพความร้อน (thermal image camera , infrared thermography ) โดยเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอินฟราเรด เป็นการตรวจสอบแบบจุดเท่านั้น กรณีตรวจสอบด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน เป็นการตรวจสอบแบบพื้นที่ ความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นอาจแสดงในรูปของเฉดสีแดงปรากฏในภาพถ่ายความร้อน อย่างไรก็ตาม การแปลผลที่ได้จากเครื่องมือวัดเพื่อ ประเมินความผิดปกติดังกล่าว ควรอาศัยข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ
การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการแปรรูปโดยติดตั้งกล้องอินฟราเรดที่บริเวณปลายสายพานลำเลียง (conveyor ) เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของชิ้นอาหาร หากพบว่ามีอุณหภูมิต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำชิ้นอาหาร ที่มีปัญหาออกได้ทันที หรือหากพบว่าความผิดปกติอยู่ที่เครื่องจักรที่ใช้แปรรูป ผู้ปฏิบัติงานสามารถหยุดการปฏิบัติงาน ได้ทันทีเช่นกัน โดยไม่ต้องสูญเสียเวลาและสิ้นเปลืองวัตถุดิบ
ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
: http://www.youtube.com/watch?v=8fLqc9ZwdKk