น้ำตาลซูโครส (sucrose) เป็นน้ำตาล (sugar) ที่เรียกกันทั่วไปว่าน้ำตาลทราย ที่ใช้เป็นสารให้ความหวาน (sweetener)
อย่างกว้างขวางทั่วโลก พบอยู่ในพืชและผลไม้หลายชนิด แต่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำตาลทางการค้า คือ อ้อย และหัวบีท
(beat root)
น้ำตาลซูโครสเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) 2 ชนิด คือ
น้ำตาลฟรักโทส (fructose) และน้ำตาลกลูโคส (glucose) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond) มีสูตรโมเลกุล
คือ C12H22O11 น้ำตาลซูโครส เป็น non reduction sugar เพราะไม่มีหมู่ฟังชันเหลืออยู่ในโมเลกุล
น้ำตาลอินเวิร์ต (invert sugar) หมายถึง น้ำเชื่อมจากน้ำตาลซูโครสที่ถูกไฮโดรไลซ์ด้วยกรด หรือเอนไซม์ invertase
ได้เป็นน้ำตาลกลูโคส (glucose) และน้ำตาลฟรักโทส (fructose)
สารให้ความหวานชนิดอื่นที่ได้จากน้ำตาลซูโครส
น้ำตาลซูโครส หรือน้ำตาลทรายผลิตได้จาก อ้อย และหัวบีท
ที่มา : http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ (ดัดแปลงจาก บริษัทไทยซูการ์มิลเลอร์) | |
1. | กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice extraction) : |
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด)
กากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิตและน้ำตาลทราย |
|
2. | การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice purification) : |
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรอง (filtration) และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว |
|
3. | การต้ม (Evaporation) : |
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (multiple effect evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก (ประมาณ 70%) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้ม ลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (syrup) |
|
4. | การเคี่ยวให้ตกผลึก (Crystallization) : |
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (vacuum pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาล (molass) ที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite) |
|
5. | การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : |
เมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล (molass) โดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง (centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ |
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว (ดัดแปลงจาก บริษัทไทยซูการ์มิลเลอร์)
1. | การปั่นละลาย (Affinated centrifugaling) : | |
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (green molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลาย เพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาล (molass) ออก |
||
2. | การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) : | |
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (pressure filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (ion exchange resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (fine liquor) |
||
3. | การเคี่ยว (Crystallization) : | |
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (vacuum pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว | ||
4. | การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifuge) : | |
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว | ||
5. | การอบ (Drying) : | |
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นจะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย |