connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

In-container pasteurization / การพาสเจอไรซ์อาหารในภาชนะปิดผนึกสนิท

การพาสเจอไรซ์อาหารในภาชนะปิดผนึกสนิท (In-container pasteurization) เป็นการพาสเจอไรซ์ (pasteurization)
โดยบรรจุอาหารที่ต้องการพาสเจอไรซ์ลงในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท (
hermectically sealed container) เช่น กระป๋อง
(
can) ขวดแก้ว (glass jar) หรือบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (flexible packaging) ที่ทนร้อน เช่น ถุง ถ้วยพลาสติก แล้วฆ่าเชื้อในเครื่องฆ่าเชื้อ (cooker) อ่างน้ำร้อน
หรือ
อุโมงค์สำหรับพาสเจอไรซ์ (tunnel pasteurizer) ความร้อนจะแพร่จากผิวยรรจุภัณฑ์สู่ผิวด้านนอกของอาหารเข้าสู่ภายใน โดยให้
อุณหภูมิและเวลาที่จุดร้อนช้าที่สุด (cold point) ของอาหารได้รับความร้อนเพียงพอสำหรับการพาสเจอไรซ์ 

 

 

การพาสเจอไรซ์อาหารในภาชนะที่ปิดผนึกสนิทใช้ได้กับอาหารได้หลายชนิด ทั้งที่เป็นของเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำนม เบียร์
อาหารที่เป็นของแข็ง  มีชิ้นเนื้อ เช่น ไส้กรอก แฮม นมข้นหวาน กิมจิ เต้าหู้ ลูกชิ้น เป็นต้น

สำหรับการพาสเจอไรซ์อาหารประเภทกรดต่ำ (low acid food) คือ อาหารที่มีค่า pH ต่ำกว่า 4.6 และมีค่า  water activity
มากว่า 0.85 เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก เต้าหู้ แฮม อาหารกลุ่มนี้หลังการพาสเจอไรซ์ จะต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ (cold
storage
) อาจเรียกว่าอาหารแช่เย็น( chilled food)

การพาสเจอไรซ์อาหาร อาจใช้ผสมผสานร่วมกับการถนอมอาหารวิธีอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า hurdle technology เช่น การใช้สารกันเสีย (preservative) การปรับให้เป็นกรด (acidification)  การรมควัน (smoking) การแช่เยือกแข็ง (freezing) เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา

 

เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการพาสเจอไรซ์อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท

เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการพาสเจอไรซ์อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท อาจทำได้ทั้งระบบเป็นกะ (batch) หรือต่อเนื่อง
หากเป็นระบบต่อเนื่องอาหารก็จะเคลื่อนที่โดยมีระบบลำเลียง (conveyor) เพื่อพาอาหารให้เคลื่อนที่ไปยังอ่าง หรืออุโมงค์น้ำร้อน
เมื่อครบเวลาพาสเจอไรซ์ก็เคลื่อนที่ออกมาเข้าสู่ระบบทำเย็น

 

 

การกำหนดเวลาการพาสเจอไรซ์ แบบ in-container pasteurization

การพาสเจอไรซ์อาหารในภาชนะที่ปิดผนึกสนิท ความร้อนจะถ่ายเทอย่างช้า เป็น Low-Temperature Long-Time
(LTLT) proecess ความร้อนจากตัวกลางจะถ่ายเทผ่านผิวหน้าของบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหารที่อยู่ด้านใน การกำหนดเวลาก
ารพาสเจอไรซ์อาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกสนิท จะพิจารณาอุณหภูมิ ณ.จุดที่ร้อนช้าที่สุด เพื่อให้ได้อุณหภูมิและเวลา
เพียงพอที่จะทำลายจุลินทรีย์เป้าหมาย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ก่อโรค ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบหลัก เพื่อให้อาหารปลอดภัยแก่การนำไปบริโภค

 



(เข้าชม 3,088 ครั้ง)

สมัครสมาชิก