กรดแอสคอร์บิd (ascorbic acid) หรือวิตามินซี
แหล่งที่พบพบมาก ได้แก่ ในผัก และ ผลไม้สด เช่น ผลไม้ตระกูลส้ม (citrus) ฝรั่ง เชอรี มะขามป้อม ผักบุ้งจีน การผลิตเพื่อการค้า
ผลิตได้จากการหมัก (fermentation) น้ำตาลกลูโคสด้วยแบคทีเรีย ตามด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน
ปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน 60-90 มิลลิกรัม
ภาวะการขาด ทำให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด บาดแผลหายช้า ปวดกระดูกและข้อ เส้นเลือดเปราะ เป็นรอยฟกซ้ำ เลือดออกตามไรฟัน
เนื่องจากการดูดซึมเหล็กบกพร่อง อาจมีภาวะโลหิตจางได้ ซึมเศร้า อ่อนเพลีย
อาการพิษ ถ้าได้รับในปริมาณสูงๆ จะรบกวนทางเดินอาหาร ท้องเดิน เนื่องจากวิตามินซี จะถูกเมแทบอไลต์ในร่างกายให้เป็น
ออกซาเลต ดังนั้นการได้รับในปริมาณสูงๆ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเกิด renal oxalate stones (นิ่ว)
การสลายตัว
วิตามินซีละลายได้ดีในน้ำและคงตัวดีในภาวะที่เป็นกรด แต่ไม่คงตัวในภาวะที่เป็นด่าง สลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนจาก
การหุงต้ม หรือการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน (thermal processing) เช่น การพาสเจอไรซ์ (pasteurization) การบรรจกระป๋อง
(canning) การสัมผัสกับแสง และออกซิเจน ส่งผลให้วิตามินซีเกิดการสลายตัว จึงควรเก็บรักษาไว้ในบรรจุภัณฑ์ทึบแสง นอกจากนี้
โลหะ เช่น ทองแดง เหล็ก ยังเร่งการสลายตัวของวิตามินซี
การใช้กรดแอสคอร์บิกในการแปรรูปอาหาร
กรดแอสคอร์บิกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) มีเลขในระบบ E-number คือ E 300 ทำหน้าที่เป็น
ข้อจำกัดการบริโภค
กรดแอสคอร์บิก รวมทั้งแอสคอร์เบต (ascorbate) ซึ่งเป็นเกลือของกรดแอสคอร์บิก ไม่มีข้อห้ามบริโภค โดยศาสนาใด ใช้ได้ใน
อาหาร เจ (vegan) และอาหารมังสะวิรัติ (vegetarian)
Reference
http://www.codexalimentarius.net/gsfaonline/additives/details.html?id=241
http://www.food-info.net/uk/e/e300.htm
ผลของกรดแอสคอร์บิกและโซเดียมอิริธอร์เบทต่อการละลายของดีบุกจากกระป๋องชนิดต่าง ๆ ที่ใช้บรรจุสับปะรด