แลคเกอร์ หรืออินาเมล (enamel) เป็นของเหลวที่มีส่วนประกอบหลักคือ เรซินของโอลีโอเรซินัส (oleoresinous) หรือ
สารประกอบของไวนิล (vinyl) หรืออีพ็อกซี (epoxy) หรือฟินอลิก (phenolic) หรือ พอลิเอสเตอร์ (polyester) และ
ตัวทำละลาย ใช้เคลือบโลหะที่ใช้ทำกระป๋องบรรจุอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน (protective coating) การเปลี่ยนแปลง
ทำให้อาหารกระป๋องเสื่อมเสียด้วยปฏิกิริยาทางเคมี ดังต่อไปนี้
มาตรฐานแลกเกอร์สำหรับใช้กับภาชนะบรรจุอาหาร
ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่อง "แลกเกอร์สำหรับใช้กับภาชนะบรรจุอาหาร" (มอก.735) ได้จำแนกแลกเกอร์ที่ใช้
กับกระป๋องบรรจุอาหารออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) ประเภทที่ 1 แลกเกอร์สำหรับเคลือบกระป๋องที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal processing) ซึ่งแบ่งย่อย
ออกเป็นอีก 3 ชนิด คือ
(2) ประเภทที่ 2 แลกเกอร์สำหรับเคลือบกระป๋องที่ไม่ผ่านกรรมวิธีการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
ชนิดของแลกเกอร์ที่ใช้เคลือบผิวกระป๋อง
แลกเกอร์ทีรู้จักกันทั่วไปสำหรับการเคลือบผิวกระป๋อง ได้แก่ :
1. แลกเกอร์โอลีโอเรซินัส แม้ว่าในปัจจุบันจะถูกทดแทนด้วยแลกเกอร์อีพ็อกซี-ฟินอลิก (epoxy phenolic)
แต่ก็ยังมีใช้อยู่บ้างในประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับเคลือบผิวกระป๋องบรรจุผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้ ส่วนในทวีปยุโรป
มักจะใช้แลกเกอร์อีพ็อกซี-ฟินอลิกทดแทนมากว่า แลกเกอร์โอลีโอเรซินัสมีสมบัติในการป้องกันการเกิดคราบดำของดีบุกซัลไฟด์
ได้ไม่ดีนัก ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการเติมสังกะสีออกไซด์ (ZnO) ลงไปในแลกเกอร์ชนิดนี้ เพื่อช่วยรักษาสีธรรมชาติของผลิตภัณฑ์
จากผักและผลไม้บางชนิดที่มีแอนโทไซยานิน (anthocyanin) เช่น เบอร์รี บีท กะหล่ำปลีสีแดง เป็นต้น รวมทั้งใช้กับอาหาร
ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อเป็ดและไก่ อาหารทะเล เป็นต้น
2. แลกเกอร์ไวนิล สมบัติเฉพาะของแลกเกอร์ชนิดนี้คือ มีความติดแน่นและยืดหยุ่นสูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถทนความร้อน
ในการฆ่าเชื้อ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแลกเกอร์ชนิดนี้ปราศจากกลิ่นและรส จึงนิยมใช้เคลือบผิวในเป็นชั้นที่สองของกระป๋อง
บรรจุเบียร์ไวน์ น้ำอัดลม ขนมหวาน อาหารแห้งต่างๆ และเภสัชผลิตภัณฑ์ใช้เคลือบได้ทั้งเหล็กและอะลูมิเนียม โดยทั่วไป
แลกเกอร์ไวนิลมักจะผสมกับแอลคิด (alkyd) ฟินอลิก และอีพอกซี เพื่อให้มีสมบัติตามความต้องการใช้งานเฉพาะ
3. แลกเกอร์ฟินอลิก เป็นแลกเกอร์ที่มีความทนทางต่อสารเคมี และมีการซึมผ่านต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไอออนของซัลไฟด์
ด้วยเหตุนี้จึงนิยมใช้กับการเคลือบผิวกระป๋องบรรจุอาหารเนื้อและปลา
4. แลกเกอร์อะคริลิก (acryic) เป็นแลกเกอร์ที่เหมาะสมกับการเคลือบกระป๋องที่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน
(thermal processing) เพราะสามารถทนความร้อนได้สูง แต่เดิมแลกเกอร์ชนิดนี้ใช้เพื่อเคลือบผิวนอกกระป๋องเท่านั้น แต่
ในปัจจุบันมีการใช้เคลือบผิวในให้มีสีขาวสวยงามไม่เกิดการเกาะของคราบดำด้วย
5. แลกเกอร์อีพอก-ฟีนอลิก (epoxy phenolic) เป็นแลกเกอร์ทีนิยมใช้กันที่สุดในปัจจุบันทั้งเคลือบกระป๋องที่ผลิตจากเหล็ก
และอะลูมิเนียม เนื่องจากมีสมบัติทนทานต่อกรด มีความยืดหยุ่นสูง เกาะติดได้แน่น และทนความร้อนสูง แลกเกอร์ชนิดนี้
ยังแบ่งย่อยได้อีกหลายอย่าง ซึ่งครอบคลุมการใช้งานอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นผลไม้น้ำผลไม้ ผัก ซุป เนื้อปลา เป็นต้น
ประเภทของสารเคลือบที่ใช้งานปัจจุบัน
ชนิด |
Internal Finish |
External Finish |
||
Acid Resistance |
Sulfur Resistance |
Protection |
Decoration |
|
Epoxy Phenolic |
Gold |
Aluminium |
Gold |
- |
Epoxy Amino |
- |
ZnO |
Clear /Gold |
- |
Organosol |
Gold |
Aluminium |
- |
- |
Acrylic |
- |
- |
- |
White/ Clear |
Polyester |
White |
White |
White |
White |
Laminated Plate |
- |
White/Clear |
White/Gold |
- |
หมายเหตุ
ปัญหาแลคเกอร์ที่ใช้เคลือบกระป๋องบรรจุอาหารในแง่มุมของการละลายของสารตกค้างที่สำคัญ ได้แก่ BADGE (bisphenol-A-diglycidyl ether), BFDGE (bisphenol-F-diglycidyl ether), NOGE (novolac glycidyl ethers) ตามกฎหมายฉบับปัจจุบันของยุโรปที่บังคับใช้ (Commission Regulation (EC) No. 1895/2005)
Reference
http://www.cancluster.com/tip_detail.php?action=detail&id=3