ขมิ้น (turmeric) หรือ ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Curcuma longa L. (Curcuma domestica Valeton) เป็นพืชวงศ์ขิง
ที่ใช้เพื่อเป็นทั้งเครื่องเทศ และพืชสมุนไพร ที่คนไทยรู้จักกันมาแต่โบราณ จัดเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในวงศ์ขิงข่า มีอายุหลายปี
ลำต้นเหนือดินเป็นลำต้นที่เกิดจากการอัดตัวกันของกาบใบ ลำต้นจริงอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้าขมิ้น ประกอบด้วย เหง้าหลักใต้ดิน
ที่เรียกว่า หัวแม่ ซึ่งมีรูปไข่และแตกแขนงทรงกระกอบออกด้านข้างทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า แง่ง เนื้อในเหง้ามีสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ
ส่วนที่ใช้บริโภคคือลำต้นใต้ดินที่ใช้สะสมอาหาร
![]() |
|
ขมิ้นมีสารที่เป็นองค์ประกอบหลักทางเคมีคือ curcumin มีสีเหลือง ส้ม (oragne-yellow)
การใช้ประโยชน์
ใช้รับประทานสด เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง (curry) โดยนำมาใช้แต่งสี แต่งกลิ่น และรสของอาหาร เช่น แกงเหลือง
แกงไตปลา
ขมิ้นอาจนำมาแปรรูปด้วยการทำแห้ง (dehydration) แล้วบดเป็นผง ใช้เป็นเครื่องเทศ (spice) และใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร
(food additive) เพื่อเป็นสารให้สี (coloring agent) และวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร (flavoring agent) ที่ได้จากธรรมชาติ
ซึ่งให้ความปลอดภัยมากกว่าสีสังเคราะห์เป็นวัตถุดิบเพื่อการสกัด (extraction) เป็น curcumin, oleoresin
สารสำคัญที่พบ ในรากและเหง้ามีน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ได้แก่ ทูมีโรน (tumerone), zingerene bissboline,
zingiberence, (+) - sabinene, alpha-phellandrene, curcumone, สารประกอบเคอร์คูมิน (curcumin) มีสมบัติเป็นสาร
แอนติออซิแดนต์ หรือสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant)
สรรพคุณใช้เป็นยาภายใน คือแก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง แก้โรคกระเพาะอาหาร ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการขับลม ผลจากน้ำมันหอมระเหย
มีฤทธิ์ในการต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียดโดยกระตุ้นการหลั่ง mucin
มาเคลือบกระเพาะอาหาร และยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยชนิดต่าง ๆ มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ โดยสาร curcumin ที่มีสมบัติเป็นสาร
แอนติออซิแดนต์ (antioxidant) (Cousin et.al., 2007)
ขมิ้นชันจะไปออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ในการลดการบีบตัวของลำไส้ ฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเรียบโดยออกฤทธิ์ต้าน
acetylcholin, barium chloride และ serotonin ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งในผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร ส่วนที่เป็นยาภายนอก
ได้แก่ ทาแก้ผื่นคัน โรคผิวหนังพุพอง ยารักษาชันนะตุ และหนังศีรษะเป็นเม็ดผื่นคัน เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
คือจะไปยับยั้งสาเหตุการเกิดกรดเนื่องจาก Lactobacillu acidophilus และ L. planturum ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สามารถยับยั้งสาเหตุ
การเกิดโรคกลากเกลื้อน และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี โดยสาร curcumin และ p-tolylmethylcarbinol สามารถขับน้ำดีและกระตุ้น
การสร้างน้ำดี นอกจากนี้ยังสามารถออกฤทธิ์แก้ปวดกระดูก ป้องกันกระดูกผุ แก้ตาลาย อาการหน้ามืด ป้องกันโรคไต เบาหวาน
ลดคอเลสเตอรอล และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ (Anwarul et.al., 2005)
Reference
http://sahavicha.kalasin3.go.th/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3993
http://www.nottingham.ac.uk/news/pressreleases/2011/august/curry-spice.aspx
Cousins, M. et.al. 2006. "Antioxidant capacity of fresh and dried rhizomes from four clones of turmeric (Curcuma longa L.) grown in vitro." Industrial Crops and Products. 25 (2007) : 129-135.
Anwarul, H.G. et.al. 2005. "Pharmacological basis for the use of turmeric in gastrointestinal and respiratory disorders." Life Sciences. 76 (2005) : 3089-3105