บรรจุภัณฑ์ชั้นในหรือบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ (primary packaging) บรรจุภัณฑ์นี้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ชั้นในสุดติดกับตัวอาหาร
มีผิวสัมผัสกับอาหารโดยตรง (food contact surface) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ซื้อจะได้สัมผัสเวลาที่จะบริโภค และทิ้งไป
เมื่อมีการเปิดและบริโภคสินค้าภายในจนหมด เช่น กระป๋อง retort pouch ขวดแก้ว ขวดพลาสติกสำหรับบรรจุน้ำนม
น้ำผลไม้ ซองบรรจุบะหมี่สำเร็จรูป ซองบรรจุน้ำตาล กล่องน้ำนม UHTเป็นต้น
ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในมีปัจจัยที่ต้องพิจารณา 2 ประการคือ
1. ต้องมีการทดสอบจนมั่นใจว่าอาหารที่ผลิตและบรรจุภัณฑ์ที่เลือกใช้จำต้องเข้ากันได้ (compatibility) หมายความว่าตัวอาหารจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเกิดจากการแยกตัวของเนื้อวัสดุบรรจุภัณฑ์เข้าสู่อาหาร (migration) ซึ่งอาจทำให้เกิด
อันตรายทางเคมี (chemical hazard) ต่อผู้บริโภค หรือการทำให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงไป เช่น ในกรณีการบรรจุอาหารใส่เข้า
ไปในบรรจุภัณฑ์ ขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ (hot filling) เมื่อเย็นตัวลงในสภาวะบรรยากาศห้อง จะทำให้รูปทรงของบรรจุภัณฑ์บูดเบี้ยวได้ เหตุการณ์นี้จะพบบ่อยมากในขวดพลาสติกทรงกระบอก ซึ่งแก้ไขได้โดยการเพิ่มร่องบนผิวทรงกระบอกหรือเปลี่ยนรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยม
มุมมน
CPET บรรจุภัณฑ์ชั้นในสำหรับ บรรจุอาหารแช่เยือกแข็ง (freezing) และเข้าไมโครเวฟได้
2. บรรจุภัณฑ์ชั้นในจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่วางขายบนหิ้งหรือไม่ ในกรณีที่บรรจุภัณฑ์ชั้นในจำต้องวางขายแสดงตัวบนหิ้ง การออกแบบ
ความสวยงาม การสื่อความหมายและภาพพจน์จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์ชั้นในที่ทำหน้าที่วางขายบนหิ้ง