ไดออกซิน (dioxins) เป็นชื่อกลุ่มสารที่มีโครงสร้างพื้นฐานประกอบด้วยวงแหวนเบนซีน (benzene ring) 2 วง เชื่อมต่อกันด้วยออกซิเจนอะตอม 1-2 อะตอม ถ้ามี 2 อะตอม เรียกว่า dibenzo-dioxin (DD) ถ้ามี 1 อะตอม เรียกว่า dibenzo-furan (DF) ทั้ง 2 สาร มักเกิดร่วมกัน จึงมีการใช้ชื่อว่า dioxin ที่วงแหวนเบนซีนจะมีหมู่คลอรีนติดอยู่ได้ถึง 8 หมู่
อันตรายในอาหาร
แหล่งเกิด Dioxin/Furans
1. กระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ chlorinated phenols, chlorinated solvents รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ อุตสาหกรรมฟอกย้อม สิ่งทอ เครื่องหนัง
2. กระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูง เช่น เตาเผากากของเสีย เตาเผาขยะ เตาเผาศพ
3. การผลิต/หลอมโลหะประเภทเหล็กและโลหะ
4. คลอรีนในกระบวนการฟอกกระดาษ
5. ควันบุหรี่ กระดาษกรองกาแฟผง และ กล่องนม
6. การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ร่วมกับสาร anti knock
7. การเผาไหม้สารเคมีการเกษตรกลุ่ม organochlorine
8. การเผาขยะ การเผาไหม้ต่างๆ
9. กระบวนการผลิตสารเคมีบางชนิด เช่น chlorobenzene, 1,2,4-trichlorobenzene เป็นต้น
โอกาสการปนเปื้อนของไดออกซินในอาหาร
ไดออกซินสามารถตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานานและผ่านห่วงโซ่อาหารมาถึงคนได้การได้รับ สารนี้จึงมิได้มาจากทางผิวหนัง หรือการสูดดมเท่านั้น การบริโภคอาหาร จึงเป็นอีกทางหนึ่งที่จะได้รับไดออกซิน เช่นกัน จากการที่ไดออกซินละลายได้ในไขมันอย่างดี ดังนั้นแหล่งอาหารกลุ่มเสี่ยงที่พบมาก คือ
แหล่งของการปนเปื้อนจากไดออกซิน (source of contamination)
กฎระเบียบของสำหรับ Dioxin/Furan
รัฐบาลสหรัฐ โดยสานักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (United State Environmental Protection Agency : USEPA) ได้ออกร่างเอกสารข้อแนะนาสาหรับสาร
ไดออกซิน (dioxin guidance) โดยกาหนดค่าเฉลี่ยปริมาณของสารไดออกซินที่ควรได้รับต่อวันไม่เกิน 0.7 พิโคกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว (pg/kg body weight)
ขณะที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) และสหภาพยุโรป (EU) ได้กำหนดค่าเฉลี่ยปริมาณของสารไดออกซินที่ควรได้รับต่อวันไม่เกิน 1.0-4.0 พิโค
กรัม/กิโลกรัมน้าหนักตัว (pg/kg body weight)
สำหรับประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร - ให้สารในกลุ่ม Dioxin/Furan เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (การมีไว้ครอบครองต้องขออนุญาต) และกรมปศุสัตว์ - กำหนด PCBs ในไขมันสัตว์ปีก ไม่เกิน 2.0 pg/g (0.002 ppb) เท่ากับของ EU มาตรฐาน CODEX สำหรับ Dioxin/Furan ไม่มีการกำหนดค่า MRLs มี Code of Practice เป็นข้อแนะนำในการลดการปนเปื้อน Dioxin และ Dioxin-like PCB (CAC/RCP 62-2006)
สถานการณ์การปนเปื้อนใน EU
1976: อิตาลี พบในผักผลไม้ 50 μg/g
1999: เบลเยี่ยม พบในสินค้าปศุสัตว์สูงกว่าค่ามาตรฐาน 800 เท่า
2006: พบใน feed additive, fish oil supplement, และ poultry meat (Portugal)
2007: พบใน feed additive (ตุรกี และจีน), guar gum, canned fish liver ใน EU
2008: ไอร์แลนด์ พบในเนื้อสุกร สูงกว่าค่ามาตรฐาน 100 เท่า และพบในวัตถุดิบอาหารสัตว์หลายชนิดจากหลายประเทศ
การพิจารณาการได้รับสารไดออกซินของร่างกายโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) กำหนด Tolerable daily intake (TDI) หรือ ปริมาณสารที่ร่างกายสามารถทนรับได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายของสารไดออกซินไว้ที่ 1.0-4.0 pg/kg body weight /day นั่นคือ มนุษย์สามารถได้รับสารไดออกซินจากแหล่งต่าง ๆ รวมกันไม่เกินวันละ 1.0-4.0 พิโคกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ไปจนตลอดชีวิต จึงไม่เป็นอันตรายจากสารไดออกซิน สำหรับวิธีประเมินความเสี่ยงของการได้รับสารไดออกซินใช้วิธีเทียบเท่ากับแฟคเตอร์สารเป็นพิษ หรือ WHO-TEFs (Toxic equivalent factors, 1997)
Reference