ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) หรือเรียกทั่วไปว่า "ฟอร์มาลิน" (อาจเรียกว่า formalin solution, methanal solution หรือ
methyl aldehyde solution) คือ สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ ประมาณร้อยละ 37 โดยน้ำหนักในน้ำ และมีเมทานอล (methanol)
ปนอยู่ด้วยประมาณ 10-15% เพื่อป้องกันการเกิดพอลิเมอร์ ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุน
เฉพาะตัว ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ และใช้ในการรักษาผ้าไม่ให้ย่นหรือยับ
ในทางการแพทย์ใช้ในความเข้มข้นต่างๆ กัน ตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้เป็นหลัก เช่น
ใช้ฆ่าเชื้อโรค (germicide) และฆ่าเชื้อรา (fungicide) และเป็นน้ำยาดองศพ เป็นต้น นอกจากนี้ในความเข้มข้นประมาณ
ร้อยละ 0.004 จะช่วยป้องกันการขึ้นราในการเก็บรักษาข้าวสาลี หรือกันการเน่าเสียในพวกข้าวโอ๊ตหลังจากเก็บเกี่ยว และ
ใช้เพื่อป้องกันแมลงในพวกเมล็ดธัญพืชหลังการเก็บเกี่ยว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ฟอร์มาลิน เป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร
(prohibit substances) เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard)
ฟอร์มาลิน ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดคือ ผสมในอาหาร โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียได้ง่ายและ
เก็บรักษาได้นาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย เช่น ผักสดชนิดต่างๆ อาหารทะเลสดและเนื้อสัตว์ เป็นต้น
อันตรายจากฟอร์มาลิน
สารฟอร์มาลินจะมีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์เท่านั้น ห้ามนำมาใส่อาหารเพื่อรักษาสภาพอาหาร กระทรวง
สาธารณสุขจึงกำหนดให้สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์หรือฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ผู้ใช้สารนี้กับอาหาร หรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค
จัดเป็นการผลิต จำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ และถ้าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจพบการกระทำดังกล่าว จะต้องถูก
ดำเนินการตามกฎหมาย อาจต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จะเห็นได้ว่านอกจาก
จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคแล้ว ถ้านำมาใช้ในทางที่ผิดก็จะมีโทษตามกฎหมายด้วย
Reference