กัมคารายา (Karaya gum) เป็นกัม (gum) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เป็นสารในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์
(hydrocolloid) ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ประเภท heteropolysaccharide ที่ใช้เพื่อเป็นวัตถุเจือปน
อาหาร (food additive)
ชื่อเรียกอย่างอื่น
- Karaya- Gum sterculia- Sterculia- Kadaya- Katilo- Kullo- Kuterra- Gum karaya
แหล่งที่มา
กัมคารายา เป็นกัมที่ได้จากน้ำยาง (exudate gum) ของต้น Sterculai urens ที่มีแหล่งปลูกในประเทศอินเดีย ซูดาน
และบางประเทศทางแอฟริกาเหนือ ยางคารายามีสีขาว สีเหลืองอมชมพู จนถึงสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู
รูปร่างไม่แน่นอน ไม่ละลายในน้ำ
โครงสร้างโมเลกุล
Gum karaya เป็น partially acetylated polysaccharide ที่มีโครงสร้างเป็นกิ่งก้านสาขามีน้ำหนักโมเลกุลสูง ในโมเลกุล
ประกอบด้วย D-gulacturonic acid, D-galactose และ L-rhamnose ต่อกันเป็นสายหลัก และมีกิ่งแขนงเป็น D-glucuronic
acid มีหมู่ uronic acid ประมาณ 35-40% และมีหมู่ acetyl อยู่ประมาณ 10-14%
Gum karaya ที่ผลิตเพื่อการค้า ประกอบด้วย D-gulacturonic acid 30-43%, D-galactose 13-26% และ L-rhamnose
15-30% นอกจากนี้ยังพบไอออนของโลหะ Ca และ Mg เชื่อมต่อกับ uronic acid
Gum karaya เป็น gum ที่มี rhamnose สูงกว่ากัมจากยางไม้ (exudate gum) ชนิดอื่นๆ
สมบัติของคารายากัม
Gum karaya ละลายในน้ำได้น้อย แต่ดูดน้ำและพองตัวได้ดี เนื่องจากมีหมู่ acetyl ในโครงสร้างทำให้ Gum karaya
ละลายในน้ำได้ไม่สมบูรณ์ แต่ให้สารละลายที่ใส โดยการดูดน้ำอย่างรวดเร็ว ให้ลักษณะเป็นคอลลอยด์ที่มีความหนืด
ที่ความเข้มข้นต่ำ (น้อยกว่า 0.02% ในน้ำเย็น และ 0.06% ในน้ำร้อน) เมื่อทำเป็นผงละเอียดจะเป็นตัวดูดน้ำและอุ้มน้ำที่ดี
และเมื่อกระจายตัวอยู่ในน้ำจะพองตัวได้ 60-100 เท่าของปริมาตรเดิม ได้เป็นสารละลายที่มีความหนืดสูง ความหนืดของ
สารละลายจะแปรผันโดยตรงกับความเข้มข้น เมื่อใช้ในปริมาณมากจึงมีสมบัติเป็น strong adhesiveness ทำให้ได้สารละลาย
คอลลอยด์ที่มีความหนืดสูง
สมบัติของสารละลาย gum karaya จึงขึ้นอยู่กับขนาดของอนุภาค การกระจายตัวของอนุภาคในน้ำเย็นจะให้ความหนืดสูง
กว่าในน้ำร้อน gum karaya ทนต่อความเป็นกรดได้สูง เพราะในโมเลกุลมีกรดยูโรนิก (uronic acid) สูง และยังทนต่อการ
hydrolysis ที่ความเข้มข้นของสารละลาย hydrochloric acid สูงถึง 10% ที่อุณหภูมิห้องนานอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
การใช้ประโยชน์ในอาหาร
คารายากัมใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) INS 416 เป็นไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid) มีลักษณะเป็นผง
ในการเคลือบ ทำไส้ขนม น้ำราด ขนมหวาน ใช้ผลิตรังนกเทียม เนื่องจากดูดซับน้ำและพองตัวคล้ายรังนกมาก
การใช้กัมคารายาตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 กำหนดให้ใช้ในปริมาณที่เหมาะสมในอาหารต่อไปนี้
ผลิตภัณฑ์นม ยกเว้น น้ำนมจืดชนิดเหลว น้ำนมเปรี้ยวไม่ปรุงแต่ง ครีมพาสเจอร์ไรซ์ ครีมสเตอริไลซ์ ครีมยูเอชที วิปปิ้งครีม และครีมไขมันต่ำ |
ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผสมน้ำมัน (อิมัลชัน) เช่น เนยเทียม มินารีน รวมทั้งขนมหวานทำนองนี้ |
ไอศกรีม |
ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น ผลไม้แห้ง ผลไม้ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่งขนมหวานจากผลไม้ เป็นต้น |
พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืชต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น พืชผักแห้ง พืชผักที่ผ่านกรรมวิธีแคนนิ่ง เป็นต้น ยกเว้นกรรมวิธีเยือกแข็งและหมักดอง |
ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน เช่น ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง เป็นต้น |
ผลิตภัณฑ์จากธัญชาติ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ธัญชาติอาหารเช้า ขนมหวานจากธัญชาติ แป้งสำหรับชุบอาหารทอด และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง |
ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เช่น ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมพาย เป็นต้น |
ผลิตภัณฑ์เนื้อ ยกเว้นเนื้อสด |
สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ยกเว้นสัตว์น้ำสดและสัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง |
ผลิตภัณฑ์ไข่ ยกเว้นไข่สด ไข่เหลว และไข่แช่เยือกแข็ง |
ผลิตภัณฑ์ประเภทซอส ซุป สลัด และผลิตภัณฑ์โปรตีนสกัด |
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร |
เครื่องดื่ม ยกเว้นน้ำผัก ผลไม้ น้ำแร่ธรรมชาติ ชา กาแฟ เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดชงและเครื่องดื่มจากธัญชาติ |
Reference
http://www.tistr-foodprocess.net/newsletter/news_july04_th2.html
http://www.fao.org/ag/agn/jecfa-additives/specs/Monograph1/Additive-244.pdf
http://www.rd.ap.gov.in/Marketing/MKT_Doc_Gumkaraya.pdf
http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/BCT611/Chap4/chapter4_5.html