กรดอีโคซะเพนตะอีโนอิก (eicosapentaenoic acid , EPA) เป็นกรดไขมัน (fatty acid) กลุ่มกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีพันธะคู่หลายพันธะ (polyunsaturated fatty acid) มีจำนวนคาร์บอน 20 อะตอม (C 20:5 n-3) มีพันธะคู่ 5 อัน และมีพันธะคู่อยู่ในตำแหน่ง โอเมกา-3 (omega-3 fatty acid)
ที่มา wikipedia
ร่างกายสามารถเปลี่ยน กรดแอลฟา-ลิโนเลนิก (alpha-linolenic acid, ALA) ซึ่งมีจำนวนคาร์บอน 18 อะตอม ไปเป็นกรดอีโคซะเพนตะอีโนอิก (eicosapentaenoic acid, EPA) มีจำนวนคาร์บอน 20 อะตอม และเปลี่ยนต่อไปเป็นกรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก (docosahesaenoic acid, DHA) ที่มีจำนวนคาร์บอน 22 อะตอมได้ แต่เกิดขึ้นได้ช้า และในปริมาณจำกัด
ประโยชน์ทางโภชนาการ
กรดอิโคซะเพนตะอีโนอิก (eicosapentaenoic acid, EPA) มีประโยชน์ช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอล (cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในเลือด และช่วยเพิ่มระดับ HDL ในเลือด ทำให้ลดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังถูกนำไปสร้างสารกึ่งฮอร์โมน พลอสตาไซคลิน-3 (prostacyclin-3) และ ทรอมบอกแซน-3 (thomboxan-3) ซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไม่เกาะกันเป็นก้อน ลดการเกิดลิ่มเลือดและทำให้เลือดไม่แข็งตัวง่าย
แหล่งที่พบ
กรดอีโคซะเพนตาฃะอีโนอิก (eicosapentaenoic acid, EPA) พบมากในน้ำมันปลา (fish oil) น้ำมันลินสีด (linseed oil) น้ำมันวอลนัท (walnut oil) น้ำมันคาโนล่า (canola oil) น้ำมันถั่วเหลือง (soybean oil) น้ำมันข้าวโพด และสาหร่าย