connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Heavy metal / โลหะหนัก

โลหะหนัก หมายถึง โลหะ (metal) ที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำ 5 เท่าขึ้นไป ได้แก่ ดีบุก สังกะสี ทองแดง ตะกั่ว สารหนู
ปรอท มีอัตราการสลายตัวค่อนข้างช้า ทำให้สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน เป็น
มลพิษทางน้ำ มนุษย์รับโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย
ทางน้ำ พืชน้ำ เช่น สาหร่าย สัตว์น้ำ จากการกินตามห่วงโซ่อาหาร

 

โลหะหนักเป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) จึงเกิดการสะสมโลหะหนัก
ในเนื้อเยื่อสัตว์ และเนื้อเยื่อพืช โดยสะสมสารมลพิษเพิ่มขึ้นตามลำดับขั้นการบริโภคจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน
มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะในอาหารดังนี้

  • ดีบุก 250 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • สังกะสี 100 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • ทองแดง 20 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • ตะกั่ว 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่
    ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • สารหนู 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
  • ปรอท 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
    สำหรับอาหารอื่น

     

    ชนิดของโลหะหนักที่มีการปนเปื้อนในอาหาร

     

    ประเภท

    ระดับของโลหะหนักที่อนุญาตให้มีได้ในเนื้อเยื่อสัตว์น้ำ (มิลลิกรัม / กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก)

     

    สารหนู

    โครเมียม

    แคดเมียม

    ทองแดง

    ปรอท

    ตะกั่ว

    สังกะสี

    อาหาร

    2

    2

    -

    20

    0.5

    1

    100

    ปลา

    -

    -

    0.05

    -

    -

    0.2

    -

    กุ้ง (รวมทั้งกั้ง/ปู)

    -

    -

    2.0

    -

    -

    0.5

    -

    หอยและปลาหมึก

    -

    -

    2.0

    -

    -

    1

    -

 

การตรวจหาปริมาณโลหะหนักในอาหาร

การตรวจหาโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว และปรอทในเนื้อสัตว์สัตว์น้ำเมล็ดธัญพืช น้ำมันพืช เครื่องดื่มทั่วไป และเครื่องดื่มที่ผสม
แอลกอฮอล์ (
alcoholic beverage) นิยมใช้ Atomic Absorption Spectroscopy (AAS) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ตรวจหาธาตุอนินทรีย์
(inorganic elements) ตัวอย่างจะถูกทำให้ร้อนขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นอะตอม (atoms) ซึ่งสามารถดูดกลืนแสงได้ในปริมาณ
ที่เป็นสัดส่วนกับความเข้มข้นของธาตุที่มีอยู่ในตัวอย่าง

 

Reference

 

 

 

 



(เข้าชม 8,086 ครั้ง)

สมัครสมาชิก