วิตามินเค เป็นวิตามินที่ละลายwfhในไขมัน (fat soluble vitamin) เช่นเดียวกับวิตามินเอ (vitamin A) วิตามินดี (vitamin D) และ วิตามินอี (vitamin E)
วิตามิน เค ที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ
แหล่งของวิตามินเค
อาหารที่มีวิตามินเค ได้แก่
นอกจากร่างกายจะได้รับวิตามินเคจากอาหารที่รับประทานแล้ว ยังสามารถผลิตขึ้นเองได้จากแบคทีเรียโพรไบโอติก (probiotic) ที่อยู่ในลำไส้ ถ้าร่างกายได้รับนมเปรี้ยวพร้อมกับอาหารจะทำให้ร่างกายสามารถสร้างวิตามินเคได้ในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการ นอกจากนี้อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวและอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำจะไปเพิ่มปริมาณของวิตามินเคที่ผลิตขึ้นโดยแบคทีเรียในลำไส
ประโยชน์ของวิตามินเคต่อร่างกาย
วิตามินเคจำเป็นสำหรับการสร้างโปรทรอมบิน (prothrombin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ตับสร้างขึ้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ฟอสโฟริเลชัน ( phosphorylation) ในร่างกาย ช่วยในการทำงานของตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจำเป็นในการแข็งตัวของเลือด
การสลายตัวของวิตามินเค
ภาวะการขาดวิตามินเค
การขาดวิตามินเค มักพบในเด็กทารกและเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เพราะเด็กไม่สามารถย่อยและดูดซึมไขมันได้ดี และในลำไล้ยังไม่มีแบคทีเรียที่จะสร้างวิตามินเคได้ ประกอบกับเด็กจะได้รับวิตามินเคในปริมาณที่น้อยมากจากน้ำนมแม่เพราะจะมีปริมาณเพียงหนึ่งในสี่ที่มีในน้ำนมวัว ดังนั้น 2-3 วันแรก อาจทำให้เด็กมีอาการตกเลือดที่ผิวหนังได้ง่าย อาการที่พบคือ มีเลือดออกทั่วๆ ไปตามผิวหนัง ในสมอง ซึม กระสับกระส่าย ร้องกวน ไม่ดูดนม อาเจียน ไม่ค่อยรู้สึกตัว ชักหมดสติ กระหม่อมด้านหน้าโป่งตึง อัมพาตหรือเสียชีวิตได้ เพื่อป้องกันการขาดวิตามินเคแพทย์มักฉีดวิตามินเคให้กับทารกโดยตรงหลังคลอดแล้ว 2 มิลลิกรัม หรือฉีดยาวิตามินเคให้มารดาก่อนคลอดหนึ่งสัปดาห์ขนาด 1-2 มิลลิกรัมทุกวัน หรือฉีดเข้าเส้นโลหิตมารดา 2 มิลลิกรัมก่อนคลอด 8-24 ชั่วโมง
ในผู้ใหญ่มักไม่พบการขาดวิตามินเค ยกเว้นในรายที่มีการอุดตันของทางเดินน้ำดี ซึ่งทำให้มีการย่อยและดูดซึมไขมันได้ไม่ดี และในคนที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ซึ่งมีผลในการทำลายแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามินเคในลำไส้ทำให้ไม่สามารถ สังเคราะห์วิตามินเคได้ตามปกติ ภาวะการขาดวิตามินทำให้การแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นช้ากว่าปกติ เนื่องจากมีระดับของ โปรทรอมบินและโปรตีนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดในพลาสมาต่ำ มีผลทำให้โลหิตไหลไม่หยุด หรือหยุดยากเวลามีบาดแผล เลือดแข็งตัวช้า หรือเลือดกำเดาออก มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เลือดออกที่ตา เลือดออกหลังผ่าตัด หรือคลอดก่อนกำหนด
ปริมาณที่แนะนำ เนื่องจากการสังเคราะห์วิตามินเคในลำไส้แต่ละบุคคลและอาหารที่บริโภคไม่เหมือนกัน ประมาณร้อยละ 50 ของวิตามินเคได้มาจากการสังเคราะห์โดยแบคทีเรียในลำไส้ ดังนั้นอย่างน้อยควรได้จากอาหาร 1 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1 ก.ก./วัน เด็ก 10-20 ไมโครกรัม สำหรับเด็กเกิดใหม่ 1-5 มิลลิกรัม ป้องกันโรคซึ่งมีอาการเลือดออกที่ผิดปกติ (hemorrhagic disease)
Reference
http://www.nutritionthailand.com/nutrition/วิตามิน/373-vitamin-k-menadione