อุณหภูมิ (temperature) คือ ปริมาณทางฟิสิกส์ที่บ่งชี้ระดับความร้อนหรือเย็นของสสาร เป็นตัวแปรที่สำคัญมากที่สุดตัวแปรหนึ่ง
ในกระบวนการแปรรูปอาหาร (food processing) ซึ่งส่งผลโดยตรงทั้งต่อคุณภาพอาหาร (food quality) และต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งสำหรับอาหารที่เสื่อมเสียง่าย (perishable food) การควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และเหมาะสมมีบทบาทตั้งแต่การขนส่ง (transportation)
การเก็บวัตถุดิบ (raw material) การเตรียมวัตถุดิบ (raw material preparation) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ (food processing) และ
การจัดเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ (storage) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสารในระหว่างกระบวนการแปรรูปจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ปริมาณทางฟิสิกส์ของตัวแปรอื่น เช่น การเปลี่ยนแปลงความดัน (pressure) และการไหล (flow) เป็นต้น
การวัดอุณหภูมิ (temperature measurement) และการควบคุมในกระบวนการแปรรูปอาหารให้คงที่ หรืออยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้
เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญโดยการเลือกใช้เครื่องมือวัดอุณหภุมิให้เหมาะสมกับงาน และหากผู้ใช้งานเข้าใจหลักการวัดและการเลือกใช้
เครื่องมือวัดอุณหภูมิอย่างถูกต้อง จะสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ตัวอย่างเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ได้แก่ เทอร์โมคัปเปิล (thermocouple) อาร์ทีดี (RTD) ไพโรมิเตอร์ (pyrometer) ชนิดต่าง ๆ เทอร์โมมิเตอร์
แบบใช้ของเหลวบรรจุในหลอดแก้วปิด (liquid filled in glass thermometer) เทอร์โมมิเตอร์แบบแถบโลหะคู่ (bi-metal thermometer)
และอุปกรณ์วัดอุณหภูมิประเภทอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น ดินสอ (crayon temperature indicator) แล็กเกอร์ (lacquer temperature
indicator) เป็นต้น
หน่วยของอุณหภูมิที่สำคัญและใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ องศาเซลเซียส (Celcius, oC) องศาฟาเรนไฮต์ (Fahrenheit, oF) และเคลวิน (Kelvin, K)
ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยของอุณหภูมิแบบต่าง ๆ สามารถสรุปเป็นสมการอย่างง่ายดังนี้
ระบบหน่วยสากล (The System International d' Unites) หรือ ระบบ SI กำหนดหน่วยของอุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิกเป็นเคลวิน และหน่วยของ
อุณหภูมิทั่วๆ ไปเป็นองศาเซลเซียส
ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)