สตรอเบอร์รี่ (strawberry) เป็นผลไม้ (fruit) ที่ปลูกในเขตอบอุ่น (subtropical fruit) จัดอยู่ประเภท non climacteric fruit คือต้องเก็บเกี่ยวเมื่อผลสุกพร้อมบริโภค เก็บเกี่ยวเมื่อผลแก่และนำมาบ่มไม่ได้ ผลของสตรอเบอรรี่ เป็นผลไม้ประเภทผลกลุ่ม (aggregate fruit) ผลย่อยแต่ละผลเรียกว่า อะคีน (achene) อยู่บนผิวของผล แต่ละผลอาจมีผลย่อยจำนวน 20-500 ผล ซึ่งแต่ละผลมีความยาว 1 มิลลิเมตร ผลของสตรอเบอรีคือส่วนที่เจริญมาจากฐานรองดอก (receptacle) และพัฒนาไปเป็นส่วนที่รับประทานได้
ลักษณะทั่วไป
ผลสตรอเบอรรี่ มีหลายรูปทรง และหลายขนาดขึ้นอยู่กับพันธุ์ เช่น ทรงกลมแป้น ทรงกลม ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาว ทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น ผลอ่อนมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผลสุก
ปริมาณน้ำตาลอิสระ (free sugars) ในผลสตรอเบอร์รี่เปรียบเทียบกับผลไม้ชนิดต่างๆ (% wet basis)
ผลไม้ | D-glucose | D-Fructose | Sucrose |
แอปเปิล (apple) | 1.17 | 6.04 | 3.78 |
องุ่น (grape) | 6.86 | 7.84 | 2.25 |
ท้อ (peach) | 0.91 | 1.18 | 6.92 |
สาลี่ (pear) | 0.95 | 6.77 | 1.61 |
เชอรรี่ (cherry) | 6.49 | 7.38 | 0.22 |
สตรอเบอร์รี่ (strawberry) | 2.09 | 2.40 | 1.03 |
วิธีการเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวโดยใช้เล็บหัวแม่มือและนิ้วชี้เด็ดออกจากขั้วตรงโคนก้านติดกับผล โดยให้มีกลีบเลี้ยงติดมาด้าย นำมาวางในภาชนะทรงตื้น ไม่ซ้อนทับกันมากเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้ผลช้ำ ควรการเก็บผลสตรอเบอร์รีในตอนเช้า ภายหลังจากน้ำค้างบนผลแห้ง และควรรีบคัดขนาดและบรรจุกล่อง การคัดเกรด มูลนิธิโครงการหลวงจัดมาตรฐานของผลสตรอเบอร์รีโดยใช้ขนาดของผลเป็นเกณฑ์ดังนี้ เกรด พิเศษ น้ำหนักผลมากกว่า 15 กรัมต่อผล ลักษณะตรงตามพันธุ์ ผลมีคุณภาพดี ไม่มีตำหนิ ที่เกิดจากโรคและแมลง เกรด 1 น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 13-15 กรัมต่อผล เกรด 2 น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 10-12 กรัมต่อผล เกรด 3 น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 7-9 กรัมต่อผล เกรด 4 หรือเกรดมารตราฐานโรงงาน น้ำหนักผลต่ำกว่า 7 กรัมต่อผล ลักษณะตรงตามพันธุ์หรือไม่ผิดปกติมากเกินไป ผลคุณภาพดีไม่มีตำหนิ การบรรจุหีบห่อ ภาชนะที่ใช้บรรจุผลสตรอเบอร์รี ได้แก่ กล่องกระดาษ การบรรจุผลลงกล่องจะวางขั้วผลลงด้านล่างกล่องแล้วเรียงผลต่อเนื่องกันป็นแถว เมื่อบรรจุผลเต็มกล่องแล้ว คลุมปิดกล่องด้วยกระดาษแก้วใสไว้เพื่อให้มองเห็นผลสตรอเบอรีภายในได้ชัดเจน กล่องขนาด 5x10x2 นิ้ว จะบรรจุผลสตรอเบอร์รีได้ 500 กรัม นอกจากนี้ยังมีการบรรจุผลสตรอเบอร์รีลงในถาดโฟม โดยจัดเรียงชั้นเดียวได้ถาดละ 250 กรัม หรือใช้ภาชนะพลาสติกจัดเรียงผลสตรอเบอร์รี 2 ชั้น แล้วคลุมด้วยแผ่นพลาสติก พี.วี.ซี หนา 25 ไมครอน ดึงให้ตึงจากนั้นจึงบรรจุถาดโฟม หรือภาชนะพลาสติกลงในกล่องกระดาษ ซึ่งบรรจุได้ 4-8 ถาด เพื่อลดการกระทบกระเทือนของผล (เนียน , 2541) การเก็บรักษา สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ที่เน่าเสียได้ง่าย ผลจะเน่าเสียภายใน 2-3 วันหลังการเก็บเกี่ยวที่อุณหภูมิห้อง การเก็บรักษาผลสตรอเบอร์รีที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% จะเก็บรักษาได้ประมาณ 5-7 วัน สำหรับการนำผลสตรอเบอร์รีไปแปรรูปนั้น ถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 1.7 องศาเซลเซียสจะสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลา 7 วัน การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวดัชนีการเก็บเกี่ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ที่มีการสุกแบบนอนไคลแมกเทอริก (non climacteric) ดังนั้นการเก็บเกี่ยวผลที่ยังไม่แก่เพียงพอ ไม่สามารถนำมาบ่มได้ ต้องเก็บเกี่ยวเมื่อผลสุกจึงจะมีรสชาติดี การที่จะดูว่าผลสตรอเบอร์รีแก่หรือไม่นั้น เกษตรกรผู้ปลูกนิยมใช้วิธีการดูสีผิวผล เมื่อผลสตรอเบอร์รีแก่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีชมพูจนถึงสีแดงทั้งผล การที่จะเก็บเกี่ยวผลในระยะใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะทางในการขนส่ง ถ้าระยะทางไกลควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลเริ่มเปลี่ยนเป็น สีแดงประมาณ 50% แต่ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บเกี่ยวเมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีแดงประมาณ 75% การเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอรีที่มีสีแดง 100% จะทำให้เกิดการช้ำและมีเชื้อราเข้าทำลายระหว่างการขนส่งได้ง่าย สำหรับส่วนประกอบทางเคมีของผลนั้น เมื่อผลสุกจะมีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดอยู่ในช่วง 4.1-10.5 % นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์ โปรตีน สารประกอบฟีนอล และแอนโทไซยานิน เนียน (2541) ได้กล่าวถึงข้อกำหนดเชิงคุณภาพของผลสตรอเบอร์รีเพื่อส่งโรงงานแปรรูปและเพื่อบริโภคผลสดดังนี้ ข้อกำหนดเชิงคุณภาพของผลสตรอเบอร์รีเพื่อจัดส่งจำหน่ายโรงงานแปรรูป 1. รูปทรงของผลเป็นปกติ ไม่บิดเบี้ยว ตรงตามสายพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์เนื้อภายหลังการตัดแต่งสูง เนื้อภายในมีสีแดง ผลไม่กลวง 2. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลไม่ต่ำกว่า 2 เซนติเมตร 3. ความยาวของก้านผลไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร 4.ผลไม่แสดงอาการเน่า ช้ำ หรือ เสียหายเพราะถูกทำลายจากศัตรูพืช 5.ผลมีสีแดงหรือสีชมพู และมีส่วนสีขาวได้ไม่เกินหนึ่งในห้าส่วนของทั้งผล ข้อกำหนดเชิงคุณภาพของผลสตรอเบอร์รีเพื่อตลาดบริโภคสด 1. ผลสตรอเบอรีต้องสะอาดมีสีสด ความแน่นเนื้อและความหวานสูง ผิวเป็นมันรูปทรงของผลเป็นปกติ ไม่บิดเบี้ยว การเรียงตัวของเมล็ดเป็นระเบียบ มีกลิ่นหอม และมีกลีบเลี้ยง ติดมาด้วย กลีบเลี้ยงมีสีเขียวไม่แห้ง 2. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลมากกว่า 2.5 เซนติเมตร 3. ผลไม่มีรอยแผล เน่า ช้ำ หรือมีเชื้อรา 4. ควรเก็บเกี่ยวผลที่มีสีแดง อย่างน้อย 60% แต่ไม่เกิน 80% 5. ผลสตรอเบอรีที่อยู่ในภาชนะบรรจุเดียวกัน ควรมีสีและขนาดสม่ำเสมอกัน การตลาดของผลสตรอเบอรี ในช่วงเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนจนถึงกลางเดือนเมษายน เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอร์รีอาจจำหน่ายผลิตผลโดยตรงให้ ผู้บริโภคในรูปผลสด หรือจำหน่ายผ่านผู้รวบรวมแล้วส่งต่อให้พ่อค้าขายปลีก จากพ่อค้าขายปลีกส่วนหนึ่งจะส่งไปจำหน่ายให้ผู้บริโภคผลสด อีกส่วนหนึ่งส่งเข้าโรงงานแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากสตอรเบอรี่
http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/ps416/chap_04_p06.html