ความเที่ยงตรง (precision) เป็นคำที่นิยมใช้และแสดงความหมายใกล้เคียงกับความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความเที่ยงตรงมีความหมายที่แตกต่างจากความแม่นยำ โดยความเที่ยงตรงเป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถของเครื่องมือวัดในการแสดงค่าเดิมเมื่อทำการวัดหลาย ๆ ครั้ง หรือความสามารถในการแสดงค่าซ้ำ (repeatability) ของเครื่องมือวัดภายใต้เงื่อนไขการวัดแบบเดิม โดยการคำนวณค่าความเที่ยงตรงสามารถใช้สมการ
โดยที่
Xm คือ ค่าเฉลี่ยของการวัด
Xi คือ ค่าการวัดแต่ละครั้ง
n คือ จำนวนครั้งของการวัด
คือ ผลรวมค่าของการวัดทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น ถ้าค่าแรงดันไฟฟ้าที่แท้จริงคือ 200 V เมื่อนำมิเตอร์วัดแรงดันไฟฟ้ามาวัดสามารถอ่านค่าได้ 204 205 203 203 และ 205 Vสามารถแสดงได้ว่าเครื่องมือวัดอ่านค่าได้เท่ากับ 204±1 V ซึ่งมีความหมายว่า เครื่องมือวัดให้ความเที่ยงตรงน้อยกว่า 0.5%
เครื่องมือวัดที่ได้รับการออกแบบที่ดี ทำให้มีความเที่ยงตรงในการแสดงค่าสูง ส่งผลให้ค่าที่วัดได้มีความถูกต้องแม่นยำสูง อย่างไรก็ตาม การวัดเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องนั้นเครื่องมือวัดควรได้รับการสอบเทียบ (calibration) อย่างสม่ำเสมอด้วย
การเปรียบเทียบนิยามของความถูกต้อง/ความแม่นยำ (accuracy) และความเที่ยงตรงของการวัดแสดงดังรูป
ความแม่นยำ (accuracy) และความเที่ยงตรง (precision) ของการวัด
(ที่มา: นวภัทรา และ ทวีพล, 2555)
ที่มา: การวัดและเครื่องมือวัด ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร (นวภัทรา และ ทวีพล , 2555)