connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

News and Articles

ข่าวการตลาด

ข่าวการตลาด
Looking ahead for energy
GETABEC VYNCKE turns theories into reality GETABEC VYNCKE Multifuel or the ever expanding usage of various and new energy sources Today biomass wood agricultural waste and rice hast coals peat brown coal bituminous coal anthracite industrial refuse RDF paper cardboard materials plastic etc and discover tomorrow what doesnt exist today Using waste generated on site or supplied by producers plants are heated process heat supplied and electricity generated This can be done economically for the small or medium sized company as well as for the large company
ฟุตบอลสัมพันธ์นัดกระชับมิตร 2010
กระแสบอลโลกกำลังมาแรง ช้าไม่ได้เดี๋ยวเค้าจะหาว่า ตกยุคซะงั้น ว่าด้วยบริษัทฯ จัดฟุตบอลสัมพันธ์ระหว่าง คิว ทู เอส VS ยูนิลิเวอร์ ลาดกระบัง ในวันที่ 15 กรกฏาคม 2553 ที่สนามฟุตซอล MD 4 ข้างมอเตอร์เวย์ ตั้งแต่เวลา 17 00 น เป็นต้นไป
โครงการเลี้ยงอาหาร แก่น้องๆ บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด
เมื่อวันเสาร์ที่ 26 กันยายน 2552 ทางบริษัท คิว ทู เอส จำกัด จัดทำโครงการเลี้ยงอาหารเย็นแก่น้องๆ บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด พร้อมทั้งบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ อาทิ เช่น นม ขนม ของเล่น ของใช้ให้กับน้องๆ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณผู้มีอุปการะคุณทุกท่านที่ร่วมบริจาคทุนทรัพย์มาในครั้งนี้ด้วยค่ะ
Increase Shelf Space by New Design
Acerola fruit is edible and widely consumed because it has very high vitamin C Acerola Drink is a fruit based beverage made from acerola fruit from Brazil The product had been in existence for 20 years and lost it freshness in the rapidly changing market Specifically it was confronted with the following two problems 1 Aging Customer Base 2 Decreasing Retail Presence We transformed the product from an ordinary beverage onto a Daily Beauty Drink for women in their 20s With the new design by motivating the internal audience and the trade partners we successfully helped our client increase shelf space for Acerola Drink by 240 year on year
โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหารไทยในตลาด AEC
โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมอาหารไทยในตลาด AEC Posted in บทความและบทวิเคราะห์AEC 14 พฤษภาคม 2555 ประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันสูงซึ่งสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านการผลิต Factor Conditions ในแง่ของวัตถุดิบ ไทยมีวัตถุดิบเป็นจานวนมากทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ และความหลากหลาย ส่วนประเทศในอาเซียนที่มีศักยภาพด้านวัตถุใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น พม่า แม้จะมีวัตถุดิบจานวนมากแต่คุณภาพยังต้องอาศัยเวลาในการยกระดับไปสู่มาตรฐาน ในแง่ของต้นทุนแรงงาน ไทยได้เปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซีย ในแง่ค่าจ้างที่ถูกกว่า แต่ค่าจ้างของไทยก็สูงกว่ากลุ่มประเทศ CLMV มากซึ่งไทยถูกชดเชยด้วยทักษะฝีมือแรงงานรวมทั้งความชานาญที่สะสมมานาน ในแง่เทคดนดลยีการผลิตรวมทั้งปัจจัยทุน ไทยก็ได้เปรียบกลุ่มประเทศCLMV แต่ก็เสียเปรียบสิงคโปร์ และมาเลเซียอยู่มาก ส่วนระบบโครงสร้างพื้นฐานของไทยได้เปรียบกลุ่มประเทศ CLMV แต่ก็เสียเปรียบสิงคโปร์และมาเลเซียในระดับหนึ่ง ปัจจัยด้านการตลาด Demand Conditions ขนาดตลาดของไทยถือว่าใหญ่แต่กำลังซื้ออยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกันกับประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หากเทียบกับสิงคโปร์ บรูไนและมาเลเซียถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีกาลังซื้อสูงกว่า แต่ตลาดเหล่านี้ก็มีข้อจากัดที่มีขนาดเล็ก และอัตรการขยายตัวของบริโภคไม่สูงนัก สินค้าที่จะเติบโตในตลาดเหล่านี้ต้องเป็นสินค้าใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ ส่วนการตลาด CLMV ส่วนใหญ่มีกาลังซื้อต่ามาก ตลาดขยายตัวอย่างช้าๆ ยกเว้นเวียดนามที่มีตลาดขนาดใหญ่เทียบเท่ากับไทย ขณะที่กาลังซื้อของตลาดก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ส่วนการขยายตลาด ไปสู่ต่างประเทศนั้น ไทยทาได้ดีไม่แพ้ประเทศใดในอาเซียน โดยเฉพาะคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่ทาให้อาหารไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก อุตสาหกรรมสนับสนุน Related & Supporting Industries ไทยมีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่ดีกว่ากลุ่มประเทศ CLM โดยอุตสาหกรรมอาหารของไทยค่อนข้างมีความหลากหลายแต่จุดอ่อนอยู่ที่การรวมตัวของเครือข่ายการผลิตยังไม่เข้มแข็งนัก รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพห่างจากผู้ประกอบการรายใหญ่ค่อนข้างมาก ขณะที่กลุ่มประเทศ CLM มีอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศค่อนข้างน้อย ขาดความต่อเนื่องของสายโซ่อุปทาน สภาพแวดล้อมในการลงทุนในอุตสากรรมอาหารจึงไม่เอื้ออานวยนัก เพราะอาจต้องนาเข้าปัจจัยการผลิตอื่นๆ จากต่างประเทศเช่น วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ ขณะเดียวกันการเข้าไปลงทุนขยายโรงงานแปรรูปเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานสากลโดยใช้ปัจจัยการผลิตในตลาดไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขึ้นอยู่กับศักยภาพในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนประเทศอื่นๆ มีอุตสาหกรรมสนับสนุนไม่แตกต่างกันมาก กลยุทธ์ทางธุรกิจ โครงสร้าง และการแข่งขัน Firm Strategy Structure & Rivalry ประเทศในอาเซียนแทบทุกประเทศยังมีปัญหาเรื่องการควบคุมตลาดโดยรัฐ กฎระเบียนต่างๆ ยังไม่เสรีอย่างแท้จริง เช่น การควบคุมราคาสินค้า การกาหนดมาตรฐานต่างๆ ที่ส่งผลทาให้เกิดการกีด กันทางการค้า การลงทุน แต่แนวโน้มสถานการณ์ต่างๆเริ่มดีขึ้นจากการที่หลายประเทศในอาเซียนต้องปรับตัวเข้ากับพันธกรณีของ WTO การเข้าสู่ AEC รวมทั้ง FTA กับประเทศคู่ค้าต่างๆ ส่วนความเชื่อมั่นด้านคุณภาพของสินค้าอาหารไทยในสายตาผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับประเทศ CLMV เพราะสินค้าส่วนหนึ่งผลิตเพื่อการส่งออก ผู้ผลิตจาเป็นต้องยกระดับการผลิตเข้าสู่มาตรฐานระหว่างประเทศ ประกอบกับอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งของไทยเป็นการลงทุนจากต่างประเทศจึงได้รับการถ่ายทอด เทคโนโลยีการผลิตให้มีมาตรฐาน ส่วนศักยภาพในการการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์รวมทั้งการสร้างตราสินค้าที่เป็นของตัวเอง Brand เพื่อโอกาสทางการตลาดของไทยทาได้ดีขึ้นแต่ไม่มาก สินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่ยังผลิตตามคาสั่งซื้อ OEM บทบาทของภาครัฐ The Role of Government มาเลเซีย และสิงคโปร์เป็นสองประเทศในอาเซียนที่เห็นบทบาทของภาครัฐในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการเมืองที่มั่นคงทาให้นโยบายเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องนอกจากการส่งเสริมศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมในประเทศแล้ว ภาครัฐของทั้งสองประเทศยังโดดเด่นมากในการสนับสนุนให้ภาครัฐของประเทศอื่นๆในอาเซียนมีเพียงเวียดนามที่โดดเด่นขึ้นมา โดยเฉพาะนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนในประเทศรวมทั้งการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้เอื้อต่อการแข่งขัน จากปัจจัยต่างๆ พอสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมไทยมีศักยภาพในอันดับต้นๆ ของอาเซียนเนื่องจากความเข้มแข็งในด้านปัจจัยการผลิต อาทิ วัตถุดิบมีคุณภาพและมีความหลากหลาย ทักษะฝีมือแรงงานเหมาะสมกับต้นทุนค้าจ้าง มีตลาดภายในประเทศที่มีศักยภาพรองรับความต้องการในอนาคตขณะที่ในแง่ของตลาดส่งออกพบว่าอาหารไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพราะสินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน หากสามารถพัฒนาเครือข่ายการผลิตให้มีศักยภาพทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาครวมทั้งสนับสนุนการดาเนินงานให้เกิดการเกื้อกูลกันมีการพัฒนาตราสินค้าที่เป็นของตัวเอง Brand รวมทั้งเพิ่มบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในการช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม จะช่วยสร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยในระดับอาเซียนรวมถึงระดับโลกได้ไม่ยาก ปัญหาหลักๆ ในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของผู้ประกอบการไทย เนื่องจากประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่เป็นแหล่งที่ผลิตอาหารได้มากเกินความต้องการบริโภคและมีการส่งออกไปจาหน่ายสร้างรายได้กลับเข้าประเทศเป็นจานวนมากในแต่ละปี สินค้าเกษตรและอาหารจึงเป็นแหล่งรายได้หลักของประชากรในภูมิภาคนี้ ประกอบกับภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกัน ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารจึงมีสภาพการแข่งขันกันไปโดยปริยาย ปัจจัยดังกล่าวเป็นส่วนสาคัญที่ทาให้การเปิดตลาดอาหารอาเซียนทาได้ไม่ง่ายนัก เพราะทุกประเทศก็ต้องการปกป้องภาคเกษตรและอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ของตน ปัญหาหลักๆ ในการเข้าสู่ตลาดอาเซียนของผู้ประกอบการไทย พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ ตลาดอาเซียนโดยรวมมีกาลังซื้อต่า เมื่อเทียบกับตลาดหลักในประเทศพัฒนาอย่างสหรัฐฯญี่ปุ่น หรือยุโรป ส่งผลทาให้สินค้าอาหารส่งออกของไทยไม่คุ้มค่าในการทาตลาด โดยเฉพาะสินค้ามูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการไทยยังมีความรู้ความเข้าใจในตลาดอาเซียนค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่งที่ไม่สะดวก การพัฒนาระบบขนส่งให้เกิดความเชื่อมโยงในภูมิภาคยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ประสิทธิภาพยังไม่ดีพอ ทาให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง และกระจายสินค้า แม้ปัญหาด้านภาษีศุลกากรจะลดบทบาทลงไปมาก แต่หลายประเทศในอาเซียนยังมีอุปสรรคด้านการค้าที่มิใช่ภาษี NTBs ที่มีอยู่เป็นจานวนมาก ซึ่งแต่ละประเทศยังหาจุดร่วมในการลดอุปสรรคที่เป็น NTBs ไม่เห็นเป็นรูปธรรม ที่มา หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย อ่านต่อ http www thai aec com 158 ixzz21g61Ou1E
MEHEN December Newsletter
Machines on sale 10 15 discount off Free Service Kit
ขอเชิญร่วมฟังการ บรรยายทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ ขบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร
บริษัท GEA Process Engineering จำกัด ขอเชิญร่วมฟังการ บรรยายทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ ขบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร ในงาน Thailand Food Conference 2011 The 1st ASEANs Advanced International Food Conference ในวันที่ 4 มีนาคม พ ศ 2554 Hall 7 8 อาคาร Impact เมืองทองธานี หัวข้อที่ผู้เชี่ยวชาญของบริษัท จะบรรยาย มีดังนี้ 1 Non dairy coffee cream and drying technology behind โดย Mr Claus Siegaard 2 Freeze drying technology in Food and Beverage industries โดย Mr Kim Knudsen 3 Trends in application of high pressure homogenizing technology in food processing โดย Mr I Y Sarma 4 Plate Heat Exchanger technology and application in food industry โดย Mr Lars Klinkebail สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายทางวิชาการดังกล่าวสามารถติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท Food Industry Network จำกัด รายละเอียด เพิ่มเติมใน Food Seminars Thailand Food Conference 2011 สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยายทางวิชาการดังกล่าวสามารถติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท Food Industry Network จำกัด ตามรายละเอียดที่แนบมาhttp www foodnetworksolution com uploads content 19be703d6e51aa371e85e7ae89e0b5d8 pdfและดูรายละเอียดการสัมนาได้ที่ http www foodnetworksolution com seminar link 10
อุตสาหกรรมอาหาร กับ Green productivity
ก อุตสาหกรรม เร่งยกระดับโรงงานอาหารทั่วประเทศเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สศอ จับมือ สถาบันอาหาร ผุดโครงการ Green Productivity ต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สศอ ร่วมกับสถาบันอาหาร จัดโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตให้อุตสาหกรรมอาหารไทยสู่หลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิตและรักษาระบบ Green Productivity เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 หลังบรรจุอยู่ในแผนแม่บท Productivity อุตสาหกรรมอาหารของประเทศ หนุนโรงงานที่ต้องการลดต้นทุนการผลิต และมีระบบการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ดี เผยมีโรงงานเข้าร่วมแล้ว 90 แห่ง ปี 2554 พร้อมเดินหน้าต่อเป็นปีที่ 4 หวังเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ภาคการผลิต ทั้งลดต้นทุน ลดใช้ทรัพยากร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชี้ทุกภาคส่วนต้องช่วยรณรงค์ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมจังหวัดต่างๆ เพราะเป็นโครงการสมัครใจไม่มีกฎหมายบังคับ โดยสถาบันอาหารจะร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมผลักดันโครงการไปยังโรงงานที่เป็นสมาชิกอีกทางหนึ่ง หวังเพิ่มศักยภาพการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในระยะยาวและยั่งยืนสู้ตลาดโลก นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหลักที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงสภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงประเด็นการกีดกันทางการค้าที่ยังคงเป็นปัญหาแก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะปีที่ผ่านมามีการแข่งขันอย่างรุนแรงในภูมิภาคเอเชีย อาทิเช่น ประเทศ จีน มาเลเซีย เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ผลิตอาหารส่งออกจำนวนที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย Green Productivity เป็นระบบการจัดการที่สำคัญที่จะทำให้ไทยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในด้านต่าง ๆ ได้อย่างรุดหน้า และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีเพิ่มมูลค่าสินค้า และลดต้นทุนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สศอ และสถาบันอาหาร ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการผลักดันให้ผู้ประกอบการอาหารตระหนักและใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม จึงเร่งดำเนินการให้บริการและช่วยเหลือ รวมทั้งการสนับสนุนในด้านต่างๆให้กับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายหลักอันสำคัญคือการสร้างความมั่นคงแก่ผู้ประกอบการ ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค อีกทั้งสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพเชิงแข่งขันในตลาดโลก นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการจัดทำระบบ Green Productivity ต่อไปโรงงานอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยซึ่งมีอยู่ประมาณ 50000 แห่งทั่วประเทศ เช่น โรงงานผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โรงงานแปรรูปและถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โรงงานแปรรูปผลไม้และผัก โรงงานผลิตน้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์และไขมันจากสัตว์ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม โรงงานผลิตภัณฑ์อบแห้ง โรงงานผลิตน้ำตาล โรงงานผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ทั้งน้ำดื่มบรรจุขวด และโรงสีข้าว จะได้รับการผลักดันและส่งเสริมจากอุตสาหกรรมจังหวัดนั้น ๆ โดยรณรงค์ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารใส่ใจ และร่วมมือกันลดต้นทุนการผลิตและปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นผลดีกับประเทศไทยอย่างยั่งยืน นายชัยวุฒิ กล่าว นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารไทยสู่หลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการผลิตและรักษาระบบ Green Productivity เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน Best Practice on Green Productivity and Continuous Improving เป็นกิจกรรมความร่วมมือของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันอาหาร ภายใต้แผนแม่บท Productivity อุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนการผลิตในโรงงาน ลดการใช้ทรัพยากรโดยเฉพาะการใช้น้ำและพลังงาน ลดปริมาณของสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต การใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ดี เป็นการลดภาระที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของโรงงานลดลงและเพิ่มผลกำไรให้กับตัวบริษัทเอง ตลอดจนเป็นการเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ และสร้างความแข่งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม อีกทั้งบุคลากรมีความรู้ด้านหลักการปฏิบัติที่เป็นเลิศและสามารถนำไปปฏิบัติในองค์กร นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมโรงงานให้นำไปสู่การปรับปรุงโรงงานเข้าสู่มาตรฐาน ISO 14000 และ Carbon Footprint ต่อไป ด้านนายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวถึงรายละเอียดในการดำเนินโครงการฯ ว่า ในปี 2553 มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่เข้าร่วมโครงการ Best Practice on Green Productivity กับสถาบันอาหาร รวม 35 โรงงาน โดยมีกลุ่มประเภทอาหารกระป๋อง อาหารแช่เยือกแข็ง freezing และแช่เย็น นม น้ำผลไม้พร้อมดื่ม แป้ง ผลิตภัณฑ์อบแห้ง เครื่องปรุงรสและอื่นๆ กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศคือ ภาคเหนือ 6 โรงงาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 โรงงาน ภาคกลาง 13 โรงงาน ภาคตะวันออก 2 โรงงาน ภาคตะวันตก 4 โรงงาน และภาคใต้ 5 โรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ ตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเพื่อความยั่งยืนในการผลิตของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าว สถาบันอาหาร ได้ส่งนักวิชาการเข้าไปดำเนินงานให้คำปรึกษารวมถึงแนะนำให้โรงงานจัดตั้งทีมงาน Green Productivity โดยการคัดเลือกบุคลากรของโรงงาน ที่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และฝ่ายผลิต นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการนำ Green Productivity มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตให้แก่เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการสำรวจและเก็บข้อมูลที่ได้จากการผลิตสาเหตุหลักของปัญหาที่โรงงานกำลังประสบ และต้องแก้ไข แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลและแนวทางเพิ่มศักยภาพของโรงงาน เพื่อคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดไปปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อจัดทำแนวทางในการพัฒนาระบบ Green Productivity ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจนเป็นผลสำเร็จ การดำเนินโครงการในปี 2553 พบว่า 35 โรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ทุกโรงงาน อาทิเช่นการลดการสูญเสียไอน้ำในระบบ การดึงน้ำกลับมาใช้ใหม่ การพัฒนาระบบ Bio Gas มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งพบว่ามีการเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นและมีมูลค่าในการลดต้นทุนการผลิตทั้งโครงการมวลรวมถึง 50 ล้านบาท และสามารถลดปริมาณการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 6000 ตันต่อปี ผลสืบเนื่องที่ตามมาอย่างยั่งยืนคือการที่โรงงานที่เข้าร่วมโครงการมีแผนและระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน เช่น การทำระบบ ISO 14000 การจัดการด้านพลังงาน การทำ Carbon footprint หรือ Carbon label เพื่อเพิ่มขีดความสามารถได้อย่างมีแบบแผน เนื่องจากการนำระบบการจัดการด้าน Green productivity มาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ผลผลิตมากขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในระดับสากล ซึ่งการนำ Green productivity มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจะเป็นการสร้างความยั่งยืนของกระบวนการผลิตต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะพัฒนา Green Productivity ให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ผู้บริหารของโรงงานอุตสาหกรรมอาหารจะต้องมีความมุ่งมั่น ตระหนักถึงความสำคัญและมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามผลที่คาดหวัง การที่จะก้าวขึ้นไปสู่ศักยภาพ ในฐานะ World leader in Food ของประเทศไทยต่อการที่จะเป็นผู้นำด้านอาหารโลก มี 4 ปัจจัยหลักที่สำคัญคือ Safety Security Sustainability และ Standardization ระบบการจัดการ Green Productivity จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารและจะสามารถทำให้ Thailand Competitiveness Ranking สูงขึ้นได้อย่างมั่นใจ นายเพ็ชร กล่าว ที่มา http www ryt9 com s prg 981311
สธ.แนะอาหารช่วยน้ำท่วม
สธ แนะอาหารช่วยน้ำท่วมงดส่วนผสมบูดง่าย ลดความเสี่ยงโรคท้องร่วง อาหารเป็นพิษ ซ้ำเติมผู้ประสบภัย ย้ำถ้ามีเด็ก คนชรา ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังรีบพาไปพบแพทย์ แจ้ง อสม ที่อยู่ใกล้ นพ สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข สธ ห่วงเรื่องอาหารบริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วม ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารกล่อง เสี่ยงโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ ควรประกอบอาหารแจกจ่ายประชาชนที่จุดอพยพน้ำท่วมดีที่สุด เพราะจะได้รับประทานอาหารที่ร้อน สุกใหม่ ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จรูปหรือข้าวกล่องควรปรุงใหม่และแยกกับข้าวใส่ถุงพลาสติก เลี่ยงอาหารที่ปรุงจากกะทิจะบูดเสียง่าย เมนูอาหารที่เหมาะ เช่น ไข่ต้ม ไข่เค็ม น้ำพริก กุนเชียงทอด หมูทอด หมูแผ่น หรือข้าวเหนียวนึ่งธรรมดา ข้าวหลามที่ไม่ใส่กะทิ ขนมปังกรอบ จะเก็บได้หลายวัน หนร ผู้ตรวจราชการ สธ กล่าวต่อว่า ขอให้หลีกเลี่ยงการบริจาคขนมปังปอนด์ เพราะมีอายุสั้น 5 7 วัน และขึ้นราง่าย เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาจแจกผลไม้เสริมด้วย เช่น กล้วยน้ำว้า ส้ม ฝรั่ง ชมพู่ และแจกนมกล่องยูเอชทีให้เด็ก จะช่วยให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนยิ่งขึ้น ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ไม่ป่วยง่าย สำหรับผู้ประสบภัยควรรับอาหารกล่องให้พอดีเฉพาะคนในครอบครัว ไม่ควรเก็บไว้เผื่อมื้ออื่น เพราะอาหารกล่องอาจจะบูดเสีย และไม่ควรเก็บนานเกิน 4 6 ชั่วโมง อาหารกระป๋องขอให้ดูวันหมดอายุ กระป๋องอยู่ในสภาพดี ไม่บุบหรือบวม หลังเปิดกระป๋องให้สังเกตลักษณะของอาหารก่อนทานทุกครั้ง ทั้งนี้ ครอบครัวที่มีเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ขอให้ดูแลคนกลุ่มนี้ให้ได้ทานอาหารก่อน เพราะน้ำท่วมส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ร่างกายที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป อ่อนแอลงไปอีกเจ็บป่วยง่าย หากพบว่ามีอาการไข้ ท้องเสีย ขอให้รีบพาไปพบแพทย์หรือแจ้ง อสม ที่อยู่ใกล้ที่สุด ที่มา http www thaipost net news 230911 45452
CPF เชื่อปีหน้ายอดขายก้าวกระโดดโต 50%
CPF เชื่อปี 2555 ยอดขายก้าวกระโดดโต 50 ยืน 3 แสนล้านบาท จากปกติยอดขายโตปีละ 10 15 หลังผู้ถือหุ้นอนุมัติซื้อหุ้น CPP 18 ม ค นี้ ขยับงบลงทุนเป็น 12000 ล้านบาท จากงบลงทุนปกติที่ปีละประมาณ 8000 10000 ล้านบาท นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด มหาชน หรือ CPF กล่าวว่า ปี 2555เป็นปีที่บริษัทจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท ซี พี โภคภัณฑ์ จำกัด C P Pokphand Co Ltd หรือ CPP ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ที่ดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศจีน และธุรกิจในประเทศเวียดนาม C P Vietnam Corporation หรือ CPV ทำให้บริษัทตั้งเป้ายอดขายประมาณ 3 แสนล้านบาท เติบโต 50 จากปีนี้ที่ประมาณ 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ การเข้าซื้อธุรกิจในฮ่องกงครั้งนี้ จะทำให้บริษัทเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนชั้นนำในประเทศไทย ในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจครอบคลุมไปสู่ 14ประเทศทั่วโลก รองรับการบริโภคของประชากรกว่า 3000 ล้านคน โดยเป็นประชากรจากจีน และเวียดนาม ประมาณ 1400 ล้านคน เป็นจากเดิมที่ดำเนินธุรกิจครอบคลุม 12 ประเทศทั่วโลก รองรับการบริโภคของประชากรเพียง 1500 ล้านคน อย่างไรก็ตาม การเข้าซื้อ CPP จะต้องรอขออนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18 มกราคม 2555 ก่อน ซึ่งเมื่อได้รับการอนุมัติงบลงทุนของบริษัทจะเพิ่มเป็น 12000 ล้านบาทต่อปี จากปกติที่มีการลงทุนปีละ 8000 10000 ล้านบาท แต่หากไม่ได้รับการอนุมัติ บริษัทก็ยังคงมีการเติบโตในระดับปกติ ที่โดยเฉลี่ยจะมียอดขายโตประมาณ 10 15 ต่อปี ส่วนกรณีที่สหภาพยุโรป EU จะพิจารณาทบทวนนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่สด ไก่ดิบ และไก่สดแช่แข็ง จากไทยอีกครั้งภายในปี 2555 หลังจากที่ EU ได้ระงับการนำเข้าไก่สดจากไทยตั้งแต่ปี 2546 เป็นผลจากการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศไทย จนทำให้หลายประเทศประกาศห้ามนำเข้าไก่สดจากไทย รวมถึงสภาพยุโรป ถือว่าเป็นข่าวดีกับอุตสาหกรรมไก่ในประเทศไทย ซึ่งเมื่อมีการกลับมาส่งออกอีกครั้งทั้งในสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น น่าจะส่งผลให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับกรณีที่ประเทศรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก WTO โดยรวมแล้วเป็นบวกต่อรัสเซีย ทำให้ประเทศยิ่งมีความมั่นคง รวมถึงทำให้การค้าดีขึ้น ซึ่งบริษัทมีการลงทุนในรัสเซียมาแล้ว 2 3 ปี ทั้งในส่วนของธุรกิจโรงงานอาหารสัตว์ และธุรกิจแปรรูปสุกร นายอดิเรก กล่าวว่า จากกลยุทธ์ที่ทาง CPFตั้งเป้าหมายที่จะเป็นครัวอาหารของโลก เป็นบริษัทระดับโลก ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ก้าวสู่เป้าหมาย ซึ่งทางบริษัทก่อตั้งบริษัท ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ขึ้นมาเพื่อดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของบริษัทในเครือ CPF ทั้งหมดที่มีกว่า 100 บริษัท โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ใช้งบลงทุนด้านระบบไอทีไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท โดยในแต่ละปีมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องที่ปีละประมาณ 200 300 ล้านบาท เพื่ออัพเดทระบบไอทีให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานนี้มีทีมงานอยู่ประมาณ 400 คน ซึ่งต้องคอยดูแลตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้ภายในองค์กรนำระบบไอทีเข้ามาช่วยในการทำงานแทบจะทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงลดต้นทุนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้จากยอดขายและกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ระบบไอทีได้เข้าเกี่ยวข้องกับบุคลากรในเครือกว่า 8 หมื่นคน เข้ามาช่วยในการทำงานแทบจะทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต งานในส่วนบริการ การตลาด จนถึงตัวลูกค้า ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น รวมถึงลดต้นทุนต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเห็นได้จากยอดขายและกำไรที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง หากดูจากยอดขายที่กว่า 2 แสนล้านบาทเทียบกับงบไอทีประมาณ 200 300 ล้านบาทถือว่าคุ้มค่ามาก นายประเดิม โชติศุภราช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบงาน CPF ดูแล บริษัท ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ไอที เซ็นเตอร์ สามารถผลักดันการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์และการให้บริการด้านสารสนเทศ จนสามารถคว้ามาตรฐาน CMMI ML5 Capability Maturity Model Integration Maturity Level 5 ที่ทางสถาบัน Software Engineering Institute SEI แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาขึ้น ให้แก่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานระดับสูงสุดในการปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ไอที เซ็นเตอร์ ถือเป็นบริษัทรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย และถือเป็นรายที่ 18 ของโลก ที่ได้รับการรับรองด้วยมาตรฐานใหม่ล่าสุด CMMI DEV version 1 3 ซึ่งประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถผ่านการตรวจประเมินเพื่อรับรองมาตรฐาน ISO27001 2005 หรือระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ Information Security Management System ISMS จาก BSI Group Thailand จำกัด ซึ่งสะท้อนมาตรฐานและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ดีที่บริษัทดำเนินการมาตลอด ที่มา http www kaohoon com daily index php option com content& view article& id 17026& Itemid 121
อย. ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส เปิดตัวโครงการ “กินฉลาด ต้องอ่านฉลาก หวาน มัน เค็ม”
อย ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส เปิดตัวโครงการ &ldquo กินฉลาด ต้องอ่านฉลาก หวาน มัน เค็ม&rdquo ติวเข้มวิธีอ่านฉลากอาหาร ให้ผู้บริโภค อย จับมือ เทสโก้ โลตัส จัดโครงการ &ldquo กินฉลาด ต้องอ่านฉลาก หวาน มัน เค็ม&rdquo เดินหน้าให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ในการอ่านฉลากหวาน มัน เค็ม ฉลากโภชนาการแบบ จีดีเอ ตั้งเป้าให้ผู้บริโภค 6 ล้านคน รู้ เข้าใจ นำไปใช้เป็นเครื่องมือเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารได้อย่างเหมาะสมใน 3 เดือน ดีเดย์ วันนี้ 9 ก พ 2555 ยกขบวนคาราวานติดอาวุธทางปัญญาให้ผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพ ฯ ปริมณฑล ก่อนเดินสายทั่วประเทศเร็ว ๆ นี้ นพ พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย คุณพรเพ็ญ นาถพิริยรัตน์ รองประธาน กรรมการแผนกกฎหมายการค้าและเทคนิค เทสโก้ โลตัส ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดย นพ พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ ฯ อย กล่าวว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในประเทศไทย โดยออกกฎหมายกำหนดให้แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมในรูปแบบฉลากหวาน มัน เค็ม หรือ จีดีเอ กับขนมขบเคี้ยว 5 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่งทอด potato chip หรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์ หรือบิสกิต และเวเฟอร์สอดไส้ ซึ่งประกาศ ฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 24 สิงหาคม 2554 นั้น ขณะนี้มีขนมขบเคี้ยวที่มีฉลากหวาน มัน เค็ม หรือ จีดีเอ มากกว่า 200 รายการ จัดจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้าน สะดวกซื้อ ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้าอาหารกลุ่มดังกล่าวที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศ ฯ ใช้บังคับ ต้องปฏิบัติตามประกาศตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555 และให้ใช้ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ได้ไม่เกินวันที่ 24 สิงหาคม 2555 ดังนั้น อาหารดังกล่าวที่มีการจำหน่าย หลังวันที่ 24 สิงหาคม 2555 จะต้องมีฉลากอาหารที่ถูกต้องทุกกรณีตามประกาศฯ กำหนดไว้ และเพื่อเป็นการเตรียมความ พร้อมให้ผู้บริโภค อย ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับผู้บริโภคทั่วประเทศ โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับห้างเทสโก้ โลตัส จัดโครงการ &ldquo กินฉลาด ต้องอ่านฉลาก หวาน มัน เค็ม&rdquo ซึ่งมีกิจกรรมให้ผู้บริโภคที่มาจับจ่ายซื้อสินค้าภายในห้าง และนักเรียน ในโรงเรียนได้มีส่วนร่วม และได้รับความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากหวาน มัน เค็ม หรือฉลากจีดีเอ รวมถึงทราบวิธีคิด คำนวณหาค่าสารอาหารที่แสดงบนฉลาก ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเลือกซื้อเลือกบริโภค อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพได้ โดยกิจกรรมดังกล่าวจะจัด ณ ห้างเทสโก้ โลตัส และโรงเรียนในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล จำนวน 50 แห่ง และจะเดินสายให้ความรู้กับผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคต่อไป ทั้งนี้ อย ตั้งเป้าหมายให้ผู้บริโภค 6 ล้านคน มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมใน 3 เดือน ทางด้าน คุณพรเพ็ญ นาถพิริยรัตน์ รองประธานกรรมการแผนกกฎหมายการค้าและเทคนิค เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ เทสโก้ โลตัส มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนกิจกรรมของทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและ ยา โดยจัดสรรพื้นที่ในการจัดกิจกรรมโรดโชว์ไปตามสาขาของเราจำนวน 32 สาขา เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 18 มีนาคม 2555 นอกจากนี้ อย ยังให้เกียรติเข้าร่วมโครงการ &ldquo สุขภาพดี ชีวิตดี กับเทสโก้ โลตัส&rdquo ซึ่งเป็นโครงการที่เทสโก้ โลตัส ได้จัด ขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ด้วยนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้คนไทยได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น โครงการดังกล่าวมี เป้าหมายในการเชิญชวนให้ลูกค้าและผู้บริโภค 6 ล้านคนเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีแผนในการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เคลื่อนที่ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 เดือน ทั้งนี้ กิจกรรมจะสามารถเข้าถึงชุมชนและสถานที่ออกกำลังกายกว่า 300 ชุมชน ทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการร่วมมือระหว่างภาครัฐฯ และเอกชนอย่าง อย และเทสโก้ โลตัส ในการสร้างความ ตระหนัก และความเข้าใจถึงความสำคัญของฉลากหวาน มัน เค็ม หรือ จีดีเอ ในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
สถาบันอาหารชี้ช่องสร้างธุรกิจ SMEs
ที่มา http www thailandindustry com สถาบันอาหารชี้ช่องสร้างธุรกิจ SMEs ไทยให้แข็งแรง เปิดโลกธุรกิจศตวรรษที่ 20 ด้วยนวัตกรรมแบบเปิด Open Innovation แนะผู้ประกอบการด้านอาหารต้องเปิดทัศนคติเพื่อรับความรู้จากแหล่งต่างๆ มาผสมผสานกับความรู้ที่มีอยู่ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ต่อสู้ในตลาดอาหารโลก นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 20 นวัตกรรม ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ผู้ประกอบการนำมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้ความรู้ประสบการณ์ และความสามารถของบุคลากรภายในองค์กรมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ตั้งแต่การทำวิจัยขั้นต้น พัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ บริหารจัดการ และทำการตลาด จนกระทั่งผลักดันสู่เชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ ซึ่งรูปแบบของนวัตกรรมดังกล่าวนี้เรียกว่า นวัตกรรมแบบปิด Closed Innovation แต่นวัตกรรมแบบปิด มีข้อเสียที่ทำให้องค์กรผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างล่าช้าเพราะต้องเริ่มต้นทำทุกอย่างใหม่ และยังต้องยึดติดกับความรู้ที่ได้จากบุคลากรคนใดคนหนึ่ง ซึ่งอาจนำองค์ความรู้ติดตัวไปด้วยเมื่อพนักงานเหล่านั้นลาออกไป ดังนั้น เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์มากขึ้น นวัตกรรมแบบปิด Closed Innovation จึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการอีกต่อไป แต่จะมีนวัตกรรมรูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า นวัตกรรมแบบเปิด Open Innovation นวัตกรรมแบบเปิดเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากแวดวงนักวิชาการ และองค์กรนวัตกรรมระดับโลก โดยมีแนวคิดว่า องค์กรควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้และพร้อมเปิดรับแนวคิดใหม่ๆ จากแหล่งภายนอก ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่งานวิจัย พัฒนา และผลักดันนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ด้วยตนเองทั้งหมด แต่เป็นการนำองค์ความรู้จากภายนอกมาผสมผสานกับสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร นวัตกรรมแบบเปิดได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน มีทั้งคู่แข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น และผู้บริโภคก็มีความต้องการที่หลากหลายและสลับซับซ้อน จึงเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการต้องเปิดใจรับความรู้จากแหล่งภายนอกมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกระแสนวัตกรรมแบบเปิดไม่ได้มีแนวโน้มที่ได้รับความสนใจแต่เฉพาะในบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในบริษัทขนาดกลางและเล็ก SMEs ต่างเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าว จากการศึกษาของ Sungjoo Lee นักวิจัยชาวเกาหลี พบว่า ความจริงแล้วบริษัท SMEs มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ได้อย่างน่าสนใจ ประกอบกับโครงสร้างองค์กรขนาดเล็ก ปรับตัวได้ง่าย จะยิ่งส่งผลดีต่อการรับความรู้จากแหล่งภายนอกมาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แต่ยังพบว่าปัญหาสำคัญสำหรับ SMEs คือ ขาดแนวทางในการนำผลิตภัณฑ์ไปสู่ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ คือ การสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็ง ค้นหาแหล่งความรู้ และช่วยหาพันธมิตร ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีที่ประสบความสำเร็จในการสร้างหน่วยงานที่เรียกว่า KICMS Korean Integrated Contract Manufacturing Service มาผสานให้เกิดความเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs เพื่อผลักดันนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ เช่น ผสานให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างองค์กร และสร้างความร่วมมือการวิจัยทางการตลาด เป็นต้น นายอมร กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเทศไทยนั้น แม้อุตสาหกรรมอาหารจะเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก และมีมูลค่าการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 7 8 ของการผลิตมวลรวมของประเทศ แต่จากสภาวการณ์แข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงมากขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการจะต้องหันมาให้ความสนใจนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการเปิดใจรับรู้สิ่งใหม่ๆ นอกเหนือจากความรู้เดิมในองค์กร รวมทั้ง แสวงหาพันธมิตรเพื่ออาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายต่างๆ ในการสร้างนวัตกรรม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งอาจมีเงินทุนในการทำวิจัยและพัฒนาน้อย แต่หากมีการเปิดทัศนคติเพื่อรับความรู้จากแหล่งต่างๆ มาผสมผสานกับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ รวมทั้งามมผสานกับความรู้ที่ตนเองมีอยู่ ตามที่บัตการiรใสใช้ประโยชน์จากความร่วมมือที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ก็จะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ได้ไม่ยาก แต่อย่างไรก็ดี คงไม่สามารถตอบได้ว่านวัตกรรมแบบเปิด Open Innovation จะดีกว่านวัตกรรมแบบปิด Closed Innovation หรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะมีความสามารถในการซึมชับความรู้ Absorptive Capacity เพื่อใช้ประโยชน์ได้มากแค่ไหน มีองค์ความรู้และความพร้อมเพียงพอที่จะนำไปแลกเปลี่ยนกับองค์กรอื่นหรือไม่ หากมีความสามารถดังกล่าวนี้มากเพียงพอ การนำนวัตกรรมแบบเปิดมาใช้ก็จะช่วยสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการได้อย่างมาก แต่ทั้งนี้องค์กรจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถมากยิ่งขึ้น เพื่อให้รู้จักการคัดสรรความรู้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนครับ
TUF ช็อควงการอีกครั้งรวบหุ้น PPC ผงาดขึ้นเบอร์ 1
TUF ช็อควงการอีกครั้งรวบหุ้น 40 PPC ผงาดขึ้นเบอร์ 1 ครองตลาดส่งออกกุ้งโลก นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรการบริหาร บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด มหาชน TUF ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่เยือกแข็งและบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า ทางTUF ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท แพ็คฟู้ด จำกัด มหาชน PPC ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลระดับต้นๆ ของไทย ไม่ต่ำกว่า 40 ในจำนวน 30 ล้านหุ้น ทั้งนี้ ราคาเสนอซื้อหุ้น PPC ต่อหุ้นจะกำหนดจากมูลค่าตาม บัญชีสุทธิ ต่อหุ้นของงบการเงินรวมของ PPC ประจำปี 2554 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ที่่ตรวจสอบแล้วโดยผู้สอบบัญชีของ PPC การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องและเกื้อหนุนกัน ทาง TUF ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการร่วมมือผสานความชำนาญและประสบการณ์ในธุรกิจของบุคลากรทั้ง 2 บริษัท จะนำมาซึ่งการร่วมมือกันในหลายด้าน เช่น การจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารกำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน การทำตลาดทั้งในและต่างประเทศด้วยแผนที่ครอบคลุมและเข้าถึงลูกค้าทุกตลาดทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ศักยภาพของความร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการขยายฐานรายได้และทำกำไรจากทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หลังจากทั้งสองบริษัทรวมกันจะทำให้ยอดกำลังการผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 400 ตันต่อวัน แบ่งเป็นยอดการผลิตของ TUF 220 ตันต่อวัน PPC 200 ตันต่อวัน ปัจจุบัน PPC ถือเป็นผู้ส่งออกกุ้งเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาติดอันดับ 1 ใน 2 มียอดรายได้รวมจากการส่งออกต่อปีประมาณ 8000 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม การรวมตัวกันครั้งนี้จะทำให้ TUF มีกำไรเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ตัวเลขปี 2555 TUF จะยอดรายได้เติบโตประมาณ 20 และภายใน 2 ปี หรือประมาณปี 2556 จะสามารถทำกำไรเติบโตได้ถึง 4 000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เดิม โดยสิ้นปี 2554 คาดว่าจะมีกำไรประมาณ 3 500 ล้านดอลลาร์สูงกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ แม้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปจะมีปัญหา แต่ตนมองว่า กุ้งเป็นสินค้าพื้นฐานที่มีราคาไม่สูง และมีความต้องการต่อเนื่อง และทางบริษัทมีฐานการตลาดในสหรัฐและยุโรปอยู่แล้ว ปีนี้จึงถือเป็นปีทองของผู้ส่งออกกุ้ง นายธีรพงศ์ กล่าวต่อไปว่า การเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง TUF และ PPC ในครั้งนี้จึงเป็นก้าวที่สำคัญที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจอาหารแช่เยือกแข็งและอาหารสำเร็จรูปของทั้งสองบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากแนวโน้มความต้องการการบริโภคอาหารสำเร็จรูปกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้นจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้กว้างขึ้นอีกทั้งการร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้ทั้ง TUF และ PPC จะเอื้อประโยชน์ต่อทั้งสองบริษัทในการวางกล ยุทธการตลาดให้สอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานของโลกได้เหมาะสมยิ่งขึ้น ปัจจุบัน PPC ถือเป็นผู้ส่งออกกุ้งเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาติดอันดับ 1 ใน 2 มียอดรายได้รวมจากการส่งออกต่อปีประมาณ 8000 ล้านบาท นอกจากนี้ การจัดหาและการจัดการวัตถุดิบจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากจากนี้ไป TUF และ PPC จะมีการวางแผนการจัดหาและจัดการวัตถุดิบร่วมกัน ซึ่งผู้บริหารคาดว่าความต้องการวัตถุดิบรวมของ TUF และ PPC นั้นจะส่งผลให้เกิดศักยภาพในการได้มาซึ่งปริมาณวัตถุดิบที่มากขึ้น ในราคาและเงื่อนไขที่ดีขึ้น อีกทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันยังจะส่งผลดีต่อการมีต้นทุนที่ลดลงและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว TUF ได้เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของ PPC ในช่วงเช้าวันที่ 21 ธันวาคม 2554 โดย TUF จะเข้าซื้อหุ้นของ PPC ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นเสร็จสิ้นลง TUF จะซื้อหุ้นของ PPC โดยการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ PPC โดยสมัครใจ Voluntary Tender Offer และชำระเงินซื้อหุ้นเป็นเงินสดทั้งจำนวน โดยภายหลังการทำรายการนั้น TUF จะถือหุ้นใน PPC ไม่ต่ำกว่า 40 ของหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ทั้งนี้ ราคาเสนอซื้อหุ้น PPC ต่อหุ้นจะกำหนดจากมูลค่าตามบัญชีสุทธิ ต่อหุ้นของงบการเงินรวมของ PPC ประจำปี 2554 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ที่่ตรวจสอบแล้วโดยผู้สอบบัญชีของ PPC ภายหลังการเข้าทำรายการ กลุ่มผู้ขายจะยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นใน PPC ที่มากกว่าสัดส่วนการถือหุ้นของ TUF และจะยังคงเป็นผู้บริหารหลักใน PPC ต่อไปขั้นตอนหลังจากนี้ก็จะเป็นการกำหนดราคาเสนอซื้อ ประมาณเดือนมีนาคม 2555 หลังจากนั้น TUF จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ PPC ซึ่งคาดว่าการดำเนินการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 2 ของปี 2555 ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
100 สิ่งที่ควรกินก่อนตาย
คอลัมน์สุขภาพของ เดอะซัน เผย 100 สิ่งที่ควรกินก่อนตาย แท็บลอยด์ชื่อดังของอังกฤษ เผยเมื่อ 27 เม ย ถึงการจัดทำแบบสอบถามในเว็บไซต์สังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก ในหัวข้อ 100 สิ่งที่ควรกินก่อนตาย โดยอาหารส่วนใหญ่ที่ติดโผ 100 อันดับ เป็นเมนูแปลกและถึงขั้นพิสดาร ที่ติดอันดับมีดังนี้ 1 หอยเป๋าฮื้อ abalone เป็นหอย สองฝา มีราคาแพง รสชาติดี เนื้อสัมผัสนุ่ม 2 แอบซีนธ์ Absinthe flavouring เครื่องดื่มอัลกอฮอล์ alcoholic beverage ที่มีแอลกอฮอล์ 70 90 3 เนื้อจระเข้ alligator meat เป็นเนื้อสัตว์ meat ที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำแถมยังมีคลอเรสเตอรอลตำอีกด้วย คนกินแล้วมักบอกว่าเหมือนเนื้อไก่ หรือเนื้อกระต่าย เมืองไทยเคยเห็นนำมาทำเป็น บาร์บีคิว ลูกชิ้น ก็อร่อยดีค่ะ 4 บาบา กาโนช Baba ghanoush eggplant มะเขือม่วงเผาสับปรุงรส 5 บาเกลและล็อกซ์ Bagel and lox salmon ขนมปังเบกัล โปะแซลมอนรมควัน 6 บาคลาวา Baklava Greek pastry พายถั่วพิทาชิโอ 7 ซี่โครงย่างบาร์บีคิว Barbecue ribs 8 เบลลินี Bellini flavouring ค็อกเทลชนิดหนึ่งของเวนิช 9 ซุปรังนก Birds nest soup 10 บิสกิตและเกรวีBiscuits and gravy 11 ไส้กรอกดำ Black pudding เป็นไส้กรอก ที่ทำจากเลือดสัตว์ มีสีดำ black pudding http www guardian co uk lifeandstyle 2010 nov 30 stornoway black pudding recipes 12 เห็ดทรัฟเฟิลดำ Black truffle 13 บอร์สช์ ซุปบีทรูทของรัสเซีย 14 คาลามารี เมนูปลาหมึกของอิตาลี 15 ปลาคาร์ป 16 คาร์เวียร์ 17 ชีสฟองดู 18 เมนูไก่และวอฟเฟิล 19 ติ๊กก้า มาซาลา แกงไก่อินเดีย 20 ชิลลี เรลเลโน เมนูพริกยัดไส้ 21 เมนูเครื่องในหมู 22 ชูร์รอส โดนัทสเปน 23 ซุปหอยลาย 24 คอนยัค 25 เครปเค้ก 26 จิ้งหรีด 27 เคอร์รีวุร์สต์ เมนูไส้กรอกราดซอสกะหรี่ของเยอรมนี 28 ไวน์แดนดีไลอัน 29 ดุลเซ่ เดอ เลเช่ นมข้นตุ๋น 30 ทุเรียน 31 ปลาไหล 32 ไข่เบเนดิกต์ 33 ปลาทาโก้ 34 ฟัวกราส์ 35 ปอเปี๊ยะสด 36 ปลาดุกทอด 37 มะเขือเทศดิบทอด 38 กล้วยทอด 39 ฟริโต พาย 40 ขากบ 41 ฟุกุ ปลาปักเป้า 42 ฟันเนลเค้ก เค้กทอด 43 ซุปกาซปาโช่ 44 เนื้อแพะ 45 นมแพะ 46 กูลาช สตูเนื้อของฮังการี 47 ซุปกัมโบ 48 ฮัคกิส ไส้กรอกสก็อตดั้งเดิม ยัดด้วยเครื่องในแกะหรือลูกวัว 49 เฮดชีส ทำจากหัวหมูและเนื้อหมู คล้ายหมูหนาว หรือ แกงกระด้าง50 มะเขือเทศแอลูม 51 รังผึ้ง 52 พายพลไม้ ฮอสเทสส์ 53 อูเอโวส รันเชโรส อาหารเช้าแม็กซิกัน 54 ไก่สะบัดของจาไมกา 55 เนื้อจิงโจ้ 56 พายมะนาว 57 เนื้อโกเบ 58 ลาสซี่ โยเกิร์ตปั่นของอินเดีย 59 กุ้งมังกร 60 ผักกระเฉด 61 พายช็อกโกแลตสอดไส้มาสเมลโลว์ ยี่ห้อมูนพาย 62 เห็ดโมเรล 63 ชาตำแย 64 ปลาหมึกยักษ์ 65 ซุปหางวัวของเกาหลี 66 พาเอลลา ข้าวผัดสเปน 67 ปะนีร์ ชีสอินเดีย 68 ปาสตรามี ออน ไรย์ ขนมปังข้าวไรย์กับเนื้อสไลด์ 69 ฟัพโลวา ขนมไข่ขาวของนิวซีแลนด์70 แกงกระหรี่ฟาอัล 71 ฟิลลีชีสสเต็กแซนวิส 72 เฝอ ก๋วยเตี๋ยวเวียดนาม 73 สัปรดกับเนยแข็งคอตเทจ 74 ไอศกรีมถั่วพิตาชิโอ 75 โพบอย แซนวิชเนื้อของสหรัฐฯ 76 ป๊อกกี้ ขนมญี่ปุ่น 77 โปเลนตา ข้าวโพดบดอิตาลี 78 กระบองเพชร พริกลี แพร์ 79 สตูกระต่าย80 หอยนางรมดิบ 81 รูทเบียร์ 82 ขนมหวานยี่ห้อซัมมอร์ 83 ซาวเคราท์ กะหล่ำปีดองของเยอรมนี 84 เม่นทะเล 85 ฉลาม 86 หอยทาก 87 งู 88 ปูนิ่ม 89 ส้มตำ 90 สเปตเซล ก๋วยเตี๋ยวเยอรมนี 91 อาหารกระป๋องยี่ห้อสแปม 92 กระรอก 93 สเต็กทาร์ทาร์ สเต็กเนื้อดิบ 94 มันฝรั่งทอดหวาน 95 ตับอ่อนลูกวัวหรือลูกแกะ 96 ต้มยำ 97 บ๊วยแห้งญี่ปุ่น 98 เนื้อกวาง 99 ถั่วเคลือบวาซาบิ 100 ดอกคูร์แก็ต
ศ.นิธิยาพาครูผู้น้อยเยี่ยมงาน Thaifex (บ.ห้าตะขาบ)
บริษัท ห้าตะขาบ จำกัด ศ นิธิยาพาครูผู้น้อยท่านเดินนำลิ่ว นำเข้าเยี่ยมบูธ บริษัท ห้าตะขาบ จำกัด ในงาน Thaifex 2013 บริษัทห้าตะขาบเป็นผู้ผลิตจำหน่ายยาอมสมุนไพร ที่รู้จักกันดึ มาเป็นเวลายาวนานในชื่อ ยาอมแก้ไอตราตะขาบ 5 ตัว ยาอมสีน้ำตาลเข้ม เม็กกลม หวานนิดๆ เปรี้ยวน้อยๆ อมเฝื่อนๆ ฝาดๆ แต่อมเป็นสักพักจะรู้สึกได้ถึง ชุ่มคอ และยังมีสรรพคุณ แก้ไอ ละลายเสมหะ ได้ดีอีกด้วย เมื่อเข้าไปในบูธของบริษัท ที่ภายในตกแต่งด้วยสไตน์ทันสมัย สีสรร สว่าง สดใส แต่ผสมอย่างลงตัวกับกลิ่นไอมนต์เสน่ห์ของเอเซีย พบกับสาวหน้าหวานในชุดสีส้ม ยิ้มแย้มทักทาย ชวนให้เราชิมยาอมตะขาบ คนละเม็ด และแนะนำให้เรารู้จักยาอมตะขาบ รสชาติใหม่ สีฟ้า เขียว ส้ม ชมพู ศ นิธิยาท่านเป็นแฟนพันธุ์แท้ของยาอมชื่อสัตว์เลื้อยคลานขาแยะยี่ห้อนี้อย่างเหนียวแน่น ส่วนผสมของยาอมแก้ไอตราตะขาบ 5 ตัวประกอบด้วยสมุนไพรหลัก 5 ชนิด และมีรสให้เลือก 5 รส


สมัครสมาชิก

สนับสนุนโดย / Supported By

  • บริษ้ท มาเรล ฟู้ดส์ ซิสเท็ม จำกัด จัดจำหน่ายเครื่องจักรและอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร เช่น ระบบการชั่งน้ำหนัก, การคัดขนาด, การแบ่ง, การตรวจสอบกระดูก และการประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พร้อมกับบริการ ออกแบบ ติดตั้ง กรรมวิธีการแปรรูปทั้งกระบวนการ สำหรับ ผลิตภัณฑ์ ปลา เนื้อ และ สัตว์ปีก โดยมีวิศวกรบริการและ สำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพ มาเรล เป็นผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกของอุปกรณ์การแปรรูปอาหารที่ทันสมัย​​ครบวงจรทั้งระบบ สำหรับอุตสาหกรรม ปลา กุ้ง เนื้อ และสัตว์ปีก ต่างๆ เครื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก Stork และ Townsend จาก Marel อยู่ในกลุ่มเครื่องที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ สามารถบริการครบวงจรตั้งแต่ต้นสายการผลิตจนเสร็จเป็นสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกความต้องการของลูกค้า ด้วยสำนักงานและบริษัทสาขามากกว่า 30 ประเทศ และ 100 เครือข่ายตัวแทนและผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก ที่พร้อมทำงานเคียงข้างลูกค้าเพื่อขยายขอบเขตผลการแปรรูปอาหาร Marel Food Systems Limited. We are supply weighing, grading, portioning, bone detection and software applications as well as complete turn-key processing solutions for fish, meat and poultry. We have service engineer and office in Bangkok. Marel is the leading global provider of advanced food processing equipment, systems and services to the fish, meat, and poultry industries. Our brands - Marel, Stork Poultry Processing and Townsend Further Processing - are among the most respected in the industry. Together, we offer the convenience of a single source to meet our customers' every need. With offices and subsidiaries in over 30 countries and a global network of 100 agents and distributors, we work side-by-side with our customers to extend the boundaries of food processing performance.
  • วิสัยทัศน์ของบริษัท คือ การอยู่ในระดับแนวหน้า "ฟอร์ฟร้อนท์" ของเทคโนโลยีประเภทต่างๆ และนำเทคโนโลยีนั้นๆ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตในประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของลูกค้า บริษัท ฟอร์ฟร้อนท์ ฟู้ดเทค จำกัด เชื่อมั่นและยึดมั่นในอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจ กล่าวคือ จำหน่าย สินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพสูง ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า ด้วยความซื่อสัตย์และความตรงต่อเวลา เพื่อการทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จร่วมกันระยะยาว Our vision is to be in the "forefront" of technology in its field and suitably apply the technology to industries and production in Thailand for customers' utmost benefits. Forefront Foodtech Co., Ltd. strongly believes in and is committed to our own business philosophy which is to supply high quality products and service appropriately to each customer's requirements with honesty and punctuality in order to maintain long term win-win business relationship. Forefront Foodtech Co., Ltd. is the agent company that supplies machinery and system, install and provide after sales service as well as spare parts. Our products are: Nock, made in Germany: manufacturer of skinning machines, membrane skinning machine, slicers and scale ice makers. Frey, made in Germany: manufacturer of vacuum stuffers and chain linking system. Kronen, made in Germany: manufacturer of washing, centrifuges and cutting machinery for vegetable and fruits. Bandall, made in Netherlands: manufacturer of banding machine. Emerson, made in Romania: smoke chamber. G.Mondini, made in Italy: manufacturer of top seal, skin pack, paper seal, slimfresh and slicefresh for ready meal, meat, petfood and etc. Dorit, made in Germany: manufacturer of tumblers and injectors. Cliptechnik, made in Germany: manufacturer of single and double clippers for table top use and standalone clipping machines. Firex, made in Italy: manufacturer of food-processing equipment for kitchen and commercial equipment. Orved, made in Italy: manufacturer of vacuum packing machine. Carsoe, made in Denmark: designs and produces products for the seafood and food processing industry Gernal, made in Belgium: manufacturer of food-processing equipment for industrial Mado, made in Germany: manufacturer of meat-processing industry
  • We are well known for reliable, easy-to-use coding and marking solutions which have a low total cost of ownership, as well as for our strong customer service ethos. Developing new products and a continuous programme of improving existing coding and marking solutions also remain central to Linx's strategy. Coding and marking machines from Linx Printing Technologies Ltd provide a comprehensive solution for date and batch coding of products and packaging across manufacturing industries via a global network of distributors. In the industrial inkjet printer arena, our reputation is second to none. Our continuous ink jet printers, laser coders, outer case coders and thermal transfer overprinters are used on production lines in many manufacturing sectors, including the food, beverage, pharmaceutical, cosmetics, automotive and electronic industries, where product identification codes, batch numbers, use by dates and barcodes are needed. PTasia, THAILAND With more than 3,700 coding, marking, barcode, label applicator, filling, packing and sealing systems installed in THAILAND market. Our range is includes systems across a wide range of technologies. To select the most appropriate technology to suit our customers. An excellent customer service reputation, together with a reputation for reliability that sets standards in the industry, rounds off the PTAsia offering and provides customers with efficient and economical solutions of the high quality. Satisfyingcustomers inTHAILAND for 10 years Our 1,313 customers benefit from our many years of experience in the field, with our successful business model of continuous improvement. Our technical and service associates specialise in providing individual advice and finding the most efficient and practical solution to every requirment. PTAsia extends its expertise to customers in the food, beverage, chemical, personal care, pharmaceutical, medical device, electronics, aerospace, military, automotive, and other industrial markets.