Generation time หมายถึง เวลาที่แบคทีเรีย ใช้แบ่งเซลล์แบบทวิภาค (binary fission) คือจาก 1 เซลล์ เป็น 2 เซลล์ เท่าๆ กัน
เมื่อนำแบคทีเรียจำนวนหนึ่ง ใส่ลงไปในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เป็นของเหลว แล้วจัดสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ออกซิเจน ให้เหมาะสม
กับการเจริญของแบคทีเรียนั้น จะพบว่าแบคทีเรียมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น รูปแบบของการเจริญของแบคทีเรียจะเป็นไป
ดังภาพประกอบ ซึ่งแบ่งเป็นระยะต่างๆได้ 4 ระยะ ดังนี้
1. Lag phase (ระยะพัก) เป็นระยะแรกที่แบคทีเรียเริ่มพบกับอาหารและสิ่งแวดล้อมใหม่ แบคทีเรียจะปรับตัวให้เข้ากับอาหาร
และสิ่งแวดล้อมนั้น มีการสร้างเอนไซม์ที่เหมาะสม ที่จะใช้กับอาหารเลี้ยงเชื้อมีการสร้างโปรตีน และส่วนประกอบอื่นๆ ที่สำคัญ
ของเซลล์ ตอนระยะท้ายๆ ของระยะนี้ เซลล์อาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย และพร้อมที่จะแบ่งตัว ระยะ lag นี้อาจจะ
ยาวนานแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาหารเลี้ยงเชื้อ ในการแปรรูปอาหารจะพยายามยืดช่วงนี้ไปให้ยาวนานที่สุด เช่น การใช้อุณหภูมิต่ำ
(cold storage)
2. Exponential หรือ log phase (ระยะแบ่งตัวทวีคูณ) เป็นระยะที่แบคทีเรียมีการเพิ่มจำนวนมากที่สุด มีอัตราการแบ่งตัวคงที่
ส่วนประกอบทางเคมีของเซลล์ และกระบวนการต่างๆ ตลอดจนสมบัติทางสรีรวิทยาเป็นแบบเดียวกัน
3. Stationary phase (ระยะคงจำนวนเซลล์) เป็นระยะที่แบคทีเรียมีจำนวนคงที่ ซึ่งแสดงว่าแบคทีเรียไม่มีการเพิ่มจำนวนอีก
หรือคืออัตราเกิดเท่ากับอัตราตาย การที่แบคทีเรียเจริญแล้วเข้าสู่ระยะ stationary นี้เพราะอาหารเลี้ยงเชื้อใกล้จะหมดลง
แบคทีเรียจึงเจริญช้าลง นอกจากนี้ ของเสียที่แบคทีเรียสร้างขึ้นยังยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียด้วย
4. Death phase หรือ decline phase (ระยะเซลล์ตาย) เป็นระยะสุดท้าย แบคทีเรียที่มีอยู่จะตายลงมากกว่าแบคทีเรียที่
เพิ่มจำนวนขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะอาหารอาจหมด และมีสารพิษสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
Generation time ของแบคทีเรียแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแบคทีเรีย สภาวะแวดล้อม ความสมบูรณ์ของสารอาหาร
Generation times ของแบคทีเรียทั่วไปภายใต้สภาวะที่เหมาะสม (optimum condition) กับการเจริญดังในตาราง
Bacterium | Medium | Generation Time (minutes) |
Escherichia coli | Glucose-salts | 17 |
Bacillus megaterium | Sucrose-salts | 25 |
Streptococcus lactis | Milk | 26 |
Streptococcus lactis | Lactose broth | 48 |
Staphylococcus aureus | Heart infusion broth | 27-30 |
Lactobacillus acidophilus | Milk | 66-87 |
Rhizobium japonicum | Mannitol-salts-yeast extract | 344-461 |
Mycobacterium tuberculosis | Synthetic | 792-932 |
Treponema pallidum | Rabbit testes | 1980 |
การคำนวณ Generation Time
G = t/n
G = generation time
t = เวลา (นาที หรือ ชั่วโมง)
No= จำนวนแบคทีเรียเริ่มต้น
N=No x 2n
N= จำนวนของแบคทีเรียเมื่อสิ้นสุดเวลา
n = จำนวนครั้งของการแบ่งตัว
การหา n:
logN = logNo + nlog2
n= logN - logNo log2
n = logN - logNo .301
n = 3.3 logN/No
G = t/n
การหาค่า G (generation time)
G = t____ 3.3 log N/No
ตัวอย่าง: แบคทีเรียชนิดหนึ่งใช้เวลาเพิ่มจำนวน จาก 10,000 เซลล์ ไปเป็น 10,000,000 เซลล์ ในเวลา 4 ชั่วโมง แบคทีเรีย
นี้มีค่า generation time เท่ากับเท่าไร
G = t_____ 3.3 log N/No
G = 240นาที 3.3 log 107/104
G = 240นาที 3.3 x 3
G = 24 นาที
การประเมินปริมาณจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย (microbial spoilage) และจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) ด้วยการใช้
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Reference
http://science.kmutt.ac.th/class/mic291/mic291lab8.doc