MRLs ย่อมาจากคำว่า Maximun Residue Limits คือ ระดับปริมาณสารพิษซึ่งเป็นอันตรายทางเคมี (chemical hazard) เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ (pesticides) สารพิษที่สร้างจากเชื้อรา (mycotoxin) ซึ่งตกค้างสูงสุดในอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์
หน่วยของค่า MRLs
ค่า MRLs มีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (มก.) ของสารพิษตกค้างต่อกิโลกรัม (กก.) ของผลิตภัณฑ์อาหาร
ค่า MRLs จึงใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการค้าขายว่าจะต้องไม่มีปริมาณสารตกค้างของสารพิษตกค้าง โดยปกติจะกำหนดไว้ในระดับที่ต่ำกว่าระดับความปลอดภัยของสารพิษตกค้างที่ร่างกายสามารถรับได้ในแต่ละวันตลอดชีวิต ในทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ค่า "เอดีไอ" (ADI: Acceptable Daily Intake) ดังนั้น ค่า เอ็มอาร์แอล (MRL) จึงไม่ใช่ค่าที่ชี้ถึงระดับความปลอดภัย แต่เป็นค่าที่ใช้ในทางการค้า โดยการกำหนด MRLs อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วน และอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยจะมีคณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารพิษตกค้างเป็นผู้ประเมินข้อมูลทั้งทางด้านสารพิษตกค้างในอาหาร ผลิตผลเกษตรและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนด้านสมบัติและพิษวิทยาของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
MRLs ในแต่ละประเทศ |
||||||||||||
สารพิษตกค้างที่ตรวจพบ ในแต่ละประเทศจะกำหนดโดย ยึดค่าจาก Codex MRL , EU MRL ,Asian MRL Positive list system หรีอ จากการทดลองภายในประเทศ ถ้าประเทศใดที่เข้มงวดมากโดยใช้ค่า Codex MRL เป็นมาตราฐาน หากตรวจพบสารพิษตกค้างที่ไม่ได้กำหนดใช้เท่ากับว่าสินค้านั้นจะถูกปฏิเสธการซื้อหรือขายในประเทศนั้นๆ แต่ในบางประเทศที่มีเกณฑ์มาตราฐานที่ต่ำกว่าก็อาจมีข้อยกเว้น ประเทศไทยได้กำหนดการจัดตั้งค่ามาตราฐานสารพิษตกค้างในพืชผลเกษตร โดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานมาตราฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) และสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
|
||||||||||||
CODEX-MRL
ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่ กำหนดโดยคณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศของโครงการมาตรฐานอาหาร เอฟเอโอ/ดับเบิลยูเอชโอ (Codex Alimentarius Commission, Joint FAO/WHO Food Standards Programme; Codex) |
||||||||||||
ค่ามาตรฐานสารพิษตกค้าง ( MRL) ประเทศไทย | ||||||||||||
|
||||||||||||
|