connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

UHT milk / น้ำนมยูเอชที

UHT milk (น้ำนมยูเอชที) เป็นผลิตภัณฑ์นม (dairy product) ประเภทน้ำนมพร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมบริโภคมากภายใน
ประเทศไทย น้ำนมยูเอชทีผ่านการแปรรูปด้วยความร้อน (
thermal processing) ด้วยระบบยูเอชที (UHT หรือ Ultra High
Temperature) โดยใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 133 องศาเซลเซียส เวลาไม่ต่ำกว่า 1 วินาที แล้วบรรจุด้วยกระบวนการและสภาวะ
ที่ปลอดเชื้อ (as
eptic processing and packaging) การใช้เวลาในการฆ่าเชื้อที่สั้นมาก ช่วยลดการเปลี่ยนสี เนื่องจากความร้อน
และมีกลิ่นรสนมต้มน้อยกว่าน้ำนมพร้อมดื่มชนิดสเตอริไลซ์ (sterilized milk)

น้ำนมยูเอชที เป็นการฆ่าเชื้อเพื่อให้ปลอดภัยทางการค้า (commercial sterilization) ต้องปราศจากจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
(
pathogen) ทุกชนิด จุลินทรีย์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคแต่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) ต้องไม่เกินจำนวนที่
กฎหมายกำหนด ไว้คือจำนวนแบคทีเรียไม่เกิน 10 ในน้ำนมยูเอชที 1 มิลลิลิตร น้ำนมยูเอชทีที่ยังไม่เปิดบริโภคมีอายุการเก็บรักษา
ที่อุณหภูมิห้องได้ประมาณ 5-6 เดือน

กรรมวิธีการผลิต

กระบวนการผลิตน้ำนมยูเอชที เป็นกระบวนกการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (thermal proessing) ด้วยระบบ in-line sterilization
แล้วบรรจุในภาชนะและสภาวะที่ปลอดเชื้อ (
aseptic processing)

  • การตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ
  • การฮอโมจิไนซ์ (homogenization)
  • การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ระบบ Ultra High temperature หรือ UHTอุณหภูมิและเวลาที่นิยมใช้อยู่ระหว่าง 135-150
    องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2-3 วินาที
  • การบรรจุแบบ aseptic packaging

บรรจุภัณฑ์ของน้ำนมยูเอชที

น้ำนมชนิดนี้มักบรรจุในกล่องกระดาษลามิเนตแข็ง (aseptic carton) ซึ่งเป็นกล่องกระดาษสี่เหลี่ยมทรงอิฐ ซึ่งทำด้วยกระดาษ
หลายชั้นเชื่อมติดกัน (laminate) เคลือบด้วยพอลิเอทิลิน (polyethylene) และแผ่นอะลูมินัมฟอยล์ซ้อนกัน

ข้อดี

ข้อดีของน้ำนมยูเอชที คือไม่ต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น และสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้นาน 5-6 เดือน ภายหลังการบรรจุ
ยกเว้นเมื่อเปิดกล่องแล้วจะต้องเก็บไว้ในตู่เย็น มิฉะนั้นน้ำนมจะเน่าเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ (microbial spoilage)



(เข้าชม 1,492 ครั้ง)

สมัครสมาชิก