Gumminess หมายถึง ลักษณะที่อาหารกึ่งแข็งที่แตกตัวออกจนพร้อมที่จะกลืนได้ เป็นสมบัติเชิงเนื้อสัมผัส (texture properties) ของอาหารที่มีค่าความแข็ง (hardness) ต่ำ และ cohesiveness สูง
วิธีการประเมิน
1 โดยการใช้ผู้บริโภค วิธีประเมินค่าโดยวิธี texture profiling โดยใช้ตัวอย่างแป้งเปียก ซึ่งเป็นแป้งข้าวสาลีในน้ำที่มีอัตราส่วนแตกต่างกัน ซึ่งได้จากการเตรียมตามเสกลมาตรฐาน
สเกลมาตรฐานสำหรับค่า gumminess
ดังสเกลมาตรฐาน
ค่าสเกลมาตรฐาน |
ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง |
ยี่ห้อ |
โรงงานผลิต |
ขนาดตัวอย่างที่ใช้ทดสอบ |
อุณหภูมิ |
1 |
แป้งเปียก 40% |
Gold media |
General mills |
1 ช้อนชา |
ห้อง |
2 |
แป้งเปียก 45% |
Gold media |
General mills |
1 ช้อนชา |
ห้อง |
3 |
แป้งเปียก 50% |
Gold media |
General mills |
1 ช้อนชา |
ห้อง |
4 |
แป้งเปียก 55% |
Gold media |
General mills |
1 ช้อนชา |
ห้อง |
5 |
แป้งเปียก 60% |
Gold media |
General mills |
1 ช้อนชา |
ห้อง |
ที่มา: เพ็ญขวัญ ชมปรีดา, 2536.
การทดสอบจะให้ผู้ทดสอบวางตัวอย่างในปาก ใช้ลิ้นคลึงกับเพดานปาก ตัดสินค่า gumminess ของตัวอย่างโดยพิจารณาจากเวลาที่ทำให้อาหารนั้นแตกตัว แป้งเปียกที่มีความเข้มข้น 60% จะมีค่าสเกลมาตรฐานของค่า gumminess เท่ากับ 5 ซึ่งหมายความว่า ต้องใช้เวลาในการทำให้อาหารนั้นแตกตัวนานกว่าเมื่อทดสอบแป้งเปียกที่มีความเข้มข้น 40% เป็นต้น